ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ กรมที่ดิน
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ กรมที่ดิน

แชร์กระทู้นี้

1.    ข้อใดเป็นความหมายของคำว่าที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

        ก.    พื้นที่ดินทั่วไป                                                                      ข.    คลอง

        ค.    ที่ชายทะเล                                                                            ง.    ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.  ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หมายความถึงพื้นที่ดินทั่วไป และให้ความหมายรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินมีความหมายกว้างมาก เพราะนอกจากจะหมายความถึงพื้นที่ดินโดยทั่วๆ ไปที่ราษฎรใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพแล้วประมวลกฎหมายที่ดิน ยังให้ความหมายรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งแม้โดยสภาพจะไม่เป็นพื้นดินธรรมดา เช่น หนองน้ำ บึง ทะเลสาบ เป็นต้น สาเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะเห็นว่าที่ดินเป็นทรัพย์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีสภาพเป็นพื้นดิน แต่ในอนาคตจะตื้นเขินกลายเป็นพื้นดินขึ้นมาในภายหลังได้ จึงได้บัญญัติครอบคลุมไปถึงไว้ด้วย

2.    สิทธิในที่ดิน หมายถึงข้อใด                                                     

        ก.    เฉพาะสิทธิครอบครอง                                                      ข.   เฉพาะกรรมสิทธิ์

ค.    ทั้งสิทธิครอบครอง และกรรมสิทธิ์                                 ง.   ไม่มีข้อถูก

        ตอบ   ค.   สิทธิในที่ดิน หมายถึง กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง

3.    ที่ดินมือเปล่า คือที่ดินตามข้อใด

        ก.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดแผนที่

        ข.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดตราจอง

        ค.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น  นส.3ก

        ง.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

ตอบ  ค.   ที่ดินมือเปล่า  คือ  ที่ดินที่เจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์ เช่น นส.3., ส.ค.1, น.ส. 3ก, ใบไต่สวน เหล่านี้เป็นที่ดินมือเปล่า เพราะเจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์

4.    หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์มีกี่ชนิด

        ก.    1  ชนิด                                                                                  ข.    2  ชนิด

ค.    4  ชนิด                                                                                 ง.     5  ชนิด

ตอบ   ค.   หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ มี  4  ชนิด คือ  1)  โฉนดที่ดิน   2)  โฉนดแผนที่   3) โฉนดตราจอง      4)  ตราจองที่ตราไว้ได้ทำประโยชน์แล้ว   

 

5.    บุคคลในข้อใดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว

        ก.    นาย ก มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นใบจอง

        ข.    นาย ข มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหลักฐานการแจ้งการครอบครอง

        ค.    นาย ค มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นโฉนดที่ดิน

        ง.    นาย  ง  มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ตอบ   ค.   มาตรา 2  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497  บัญญัติว่า  “ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ  จากมาตรา 2  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินที่ ราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่าราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์  ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีสิทธิครอบครองโดยอาจจะหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบจอง ตราจอง หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หนังสือรับรอง การทำประโยชน์ เป็นต้น แต่มาตรา 2 แห่งกฎหมายที่ดินก็ยังถือว่าที่ดินที่ราษฎรมีสิทธิครอบครองนี้เป็นที่ดินของ รัฐ เพียงแต่รัฐอนุญาตให้ราษฎรมีสิทธิครอบครองแล้วรัฐจะไม่เข้าไปข้องเกี่ยว แต่สิทธิครอบครองที่กล่าวนี้จะต้องเป็นสิทธิครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

6.    หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินข้อใด ที่ได้รับตามประมวลกฎหมายที่ดิน

        ก.    โฉนดแผนที่                                                                         ข.    โฉนดตราจอง

        ค.    ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว                         ง.    โฉนดที่ดิน

ตอบ   ง.   การได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอาจจะเป็นการได้โฉนดที่ดินโดย การ     ที่ทางราชการประกาศออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล หรืออาจจะเป็นการยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย

7.    หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามข้อใด ตั้งเมื่อทำประโยชน์ครบ 2 ปี หรือ 3 ปีแล้ว สามารถนำมาขอตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว จากทางราชการได้

        ก.    ใบเหยียบย่ำ                                                                          ข.   นส.3

        ค.    ใบไต่สวน                                                                            ง.   ส.ค.1

ตอบ   ก.   ตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว  ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6)พุทธศักราช 2479  ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการออกใบอนุญาตแก่ผู้มาขอจับจองทำประโยชน์ที่ดินของรัฐเป็นใบเหยียบย่ำหรือตราจอง  ซึ่งมีอายุในการทำประโยชน์ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่กรณี เมื่อผู้ขอจับจองได้ทำประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว  ผู้ที่มีตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว  จากทางราชการได้

8.    การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อครองชีพนั้น เมื่อราษฎรทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ เรียกว่าอะไร

        ก.    ตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว                        ข.   หนังสือแสดงการทำประโยชน์

        ค.    หนังสือรับรองการทำประโยชน์                                    ง.   หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน

ตอบ   ข.   การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2551  นั้น ทางราชการได้จัดที่ดินให้ราษฎรเข้าทำกินในที่ดินตามเงื่อนไขและระเบียบของเจ้าหน้าที่ เมื่อราษฎรได้ทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ฉบับหนึ่ง เรียกว่า หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (ไม่ใช่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก) เป็นหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ออกให้ เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิไปขอรับโฉนดที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้)

9.   ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หากเจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นระยะเวลาเท่าใด ที่ดินนั้นอาจกลับคืนมาเป็นของรัฐได้

ก.   1  ปี                                                                                        ข.   3  ปี

ค.   5  ปี                                                                                        ง.   10  ปี

ตอบ   ง.   มาตรา 6  นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนาดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

1.   สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน

2.   สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะ

                                                                                                ส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือที่ปล่อยให้เป็นที่ร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป

10.  ที่ดินที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นอาจกลับมาเป็นของรัฐอีกในกรณีใด

        ก.    เจ้าของที่ดินเวนคืนให้รัฐด้วยความสมัครใจ

        ข.    เจ้าของที่ดินที่มีโฉนดที่ดินทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เกิน 5 ปี

        ค.    เจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน 1 ปี

       ง.    ถูกทุกข้อ

ตอบ   ก.  ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นของรัฐได้อีก พอจะแยกพิจารณาได้ดังนี้


เอกสารแนวข้อสอบกรมที่ดิน นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับกรมที่ดิน

แนวข้อสอบประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และประมวลกฎหมายที่ดิน กฎกระทรวง
แนวข้อสอบนักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ_ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แนวข้อสอบ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในลักษณะว่าด้วยพยานหลักฐาน

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

- แนวข้อสอบ ประมวลกฎหมายอาญา

- ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497

พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

การสอบสัมภาษณ์


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
 
สาคขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี 
เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่   
 decho.by@hotmail.com


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ประกาศ  กรมที่ดิน 
รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งนายช่างรังวัดปฏิบัตินักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ รวม 39 อัตรา 
 

กรมที่ดิน เปิดสอบบรรจุรับราชการ จำนวน 39 อัตรา

สำหรับตำแหน่งที่เปิดสอบมีดังนี้
- ตำแหน่งนายช่างพิมพ์ปฏิบัติงาน ...................จำนวน 1 ตำแหน่ง
  ประกาศรับสมัคร : ข้าราชการ โดยวิธี : คัดเลือก
  ชื่อตำแหน่ง : นายช่างพิมพ์ปฏิบัติงาน
  อัตราเงินเดือน : 10,200 - 11,220 บาท
  เปิดรับสมัคร : วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  รายละเอียด >> http://job.ocsc.go.th/images/Job/635204722575112503.pdf
 
- ตำแหน่งนายช่างรังวัดปฏิบัติงาน...................จำนวน 20 ตำแหน่ง
  ประกาศรับสมัคร : ข้าราชการ โดยวิธี : สอบแข่งขัน
  ชื่อตำแหน่ง : นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
  อัตราเงินเดือน : 10,200 - 11,220 บาท
  ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
  เปิดรับสมัคร : วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  รายละเอียด >> http://job.ocsc.go.th/images/Job/635204719021738262.pdf
 
- ตำแหน่งนักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ................จำนวน 18 ตำแหน่ง
  ประกาศรับสมัคร : ข้าราชการ โดยวิธี : สอบแข่งขัน
  ชื่อตำแหน่ง : นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ
  อัตราเงินเดือน : 13,300 - 14,630 บาท
  ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
  เปิดรับสมัคร : วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  รายละเอียด >> http://job.ocsc.go.th/images/Job/635204715128907424.pdf
 
กำหนดการรับสมัคร
ดูในรายละเอียดประกาศครับ
 
ข้อมูลการติดต่อ
กรมที่ดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 
อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 
กรุงเทพมหานคร 10210
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1. ข้อสอบปรนัยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 1
และประมวลกฎหมายที่ดิน
2. ข้อสอบอัตนัยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 15
และประมวลกฎหมายที่ดิน
3. ข้อสอบปรนัยกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน 32
พ.ศ. 2497 และที่ออกตามความในประมวลกฎหมายที่ดิน
4. ข้อสอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 47
5. ข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในลักษณะว่าด้วยพยานหลักฐาน 62
6. ข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา 71
7. ข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 92
8. ข้อสอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 103
ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง
ส่วนที่ 2 สรุปเนื้อหาและชี้ประเด็นข้อสอบเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน
1. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 106
2. ประมวลกฎหมายที่ดิน 109
3. กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497
และออกตามความในประมวลกฎหมายที่ดิน เฉพาะส่วนสำคัญที่อาจออกข้อสอบได้
3.1 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ 142
3.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙) 147
3.3 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) 148
3.4 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) 149
3.5 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) 150
3.6 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) 151
3.7 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๗) 156
3.8 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) 157
3.9 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๒๖) 164
3.10 กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) 165
3.11 กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๑๖) 166
3.12 กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๑๖) 167
3.13 กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๑๕) 169
3.14 กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๐๐) และฉบับอื่นๆ 170

เฉลยข้อสอบนักวิชาการที่ดิน สอบวันอาทิตย์ ที่ 6 มี.ค. 54
1. มาตรา 71 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้มีกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สั่งรับอายัด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดลง และผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้
2. พรบ.ให้ใช้ 1ธ.ค.2497 (ม.2ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ รกจ.วันที่30 พ.ย.2497เป็นวันประกาศฯ) / ป.ที่ดิน 1 ธ.ค.2497 เหมือนกัน
3.การเพิกถอนถอนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หากเอกชนจัดที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแทนแล้ว เพิกถอนโดย พรบ./ เพิกถอนกรณีอื่น ต้องกระทำโดย พรฎ.
4. การออกโฉนด หากมีการโต้แย้งสิทธิ จพนง.ต้องสอบสวนเปรียบเทียบ
5. การขายของ อธิบดี ใช้วิธี ขายทอดตลาด โดยการประกวดราคา
6. ออกใบแทนโฉนดกรณีไม่ต้องประกาศ เลขที่โฉนด ตำแหน่งที่ดิน ลายมือชื่อจพนง.ผู้ออกตราประจำตำแหน่ง
7. การพิมพ์คลาดเคลื่อนให้เป็นอำนาจของ จนง.ที่ดินหรือสาขา
8. นสล. ออกไว้ 3 ฉบับ ให้ สนง.ที่ดินจังหวัดหรือสาขา,ผู้รักษา,กรมที่ดิน
9. ค่าธรรมเนียมโอนบุพการี ผู้สืบสันดาน ร้อยละ 0.5
10. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน ร้อยละ 2 ของราคาประเมิน
11.ข้อที่ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ แผนที่ระวาง
12. การเพิกถอนถอนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หากเอกชนจัดที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแทนแล้ว เพิกถอนโดย พระราชบัญญัติ เพิกถอนกรณีอื่น ต้องกระทำโดย พระราชกฤษฏีกา
13.การออกโฉนด หากมีการดต้แย้งสิทธิ จพนง.ต้องสอบสวนเปรียบเทียบ
14. การประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
15. มรกพระภิกษุ เป็นของวัดที่เป็นภูมิลำเนา
16.นายแดงยืนอยู่หน้านายดำ ดำเอามือปิดคอเสื้อ แดงแกะมือดำออก แล้วกระชากสร้อยคอไป กรณีนี้ นายแดงได้เอาไปซึ่งทรัพย์ของผุ้อื่นโดยทุจริต และ การที่นายแดงเอามือไปแกะมือนายดำ ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแก่นายแดงแล้ว ดังนั้นแดงจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
17.กรณีไม่มีผุ้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา คู่สมรสได้รับมรดกกึ่งหนึ่งครับ ปพพ.1635
18.พรบ.ให้ใช้ ไปแจ้งการครอบครองภายใน 180 วัน ต่อนายอำเภอ นับแต่พรบ.ให้ใช้ ใช้บังคับ
19.การแจ้งรายชื่อพยานก่อนวันสืบพยานต้องไม่ตำกว่า 7 วัน
20. ใบจอง ห้ามโอน ภายใน 5 ปี
21. โฉนดที่ดิน ห้ามโอน ภายใน 10 ปี
22. ที่ดิน หมายถึง พื้นดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง
ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย
23. การอุทธรณ์ ที่เป็นประโยชน์ อุทธรณ์ภายใน 180 วัน
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้