ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อนักวิชาการเกษตร  กรมพัฒนาการเกษตร  กรมพัฒนาที่ดิน
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อนักวิชาการเกษตร  กรมพัฒนาการเกษตร  กรมพัฒนาที่ดิน

แชร์กระทู้นี้

******** ข้อสอบ เกษตร 6 ข้อ ครับ ************
************ 1. การใช้ปุ๋ยในประเทศไทย **************
ประเทศไทยเราเป็นประเทศแห่งการเกษตรกรรมมีพื้นที่ประมาณ 131.25 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 321.25 ล้านไร่ และโดยส่วนใหญ่ประชากรร้อยละ 62 ของประเทศทำการเกษตรกรรม และจากการที่มีการทำการเกษตรเป็นอย่างมากและมีมาช้านาน ทำให้สภาพของดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ จากจุดนี้เลยทำให้การใช้ปุ๋ยในประเทศไทยนั้นมีมากโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี และการใช้ปุ๋ยของไทยในส่วนของการผลิตปุ๋ยนั้นประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เพราะไม่มีทรัพยากรอย่างเพียงพอที่จะทำ ตรงจุดนี้เลยทำให้ต้องมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่เลยทีเดียว ส่วนปริมาณของการนำเข้านั้น ในแต่ละช่วงปีมีการเพิ่มจำนวนการนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆและปุ๋ยที่ไทยเรานิยมนำเข้า ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจนร้อยละ 60 ปุ๋ยฟอสเฟตร้อยละ 24 ปุ๋ยโปแตสร้อยละ 16
การใช้ปุ๋ยในไทยถึงแม้ว่ายังนำเข้าอยู่มากแต่ปัจจุบันก็ได้มีการทำปุ๋ยขึ้นเองตามท้องถิ่นต่างๆมากขึ้น แต่ปุ๋ยที่เกษตรไทยเราใช้มากที่สุดก็ยังเป็นปุ๋ยเคมี (ที่เหลือโม้เอา)
******** 2. ปุ๋ยเคมีแบ่งเป็นกี่ประเภท(เพื่อนๆต้องดูเพิ่มในเอกสารด้วยนะครับ) ***************
ปุ๋ยแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. ทางกายภาพ คือ ปุ๋ยที่จำแนกคุณสมบัติตามลักษณะมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ –ปุ๋ยผง –ปุ๋ยเกร็ด –ปุ๋ยน้ำ
2. ปริมาณธาตุอาหาร คือ ปุ๋ยที่จำแนกตามปริมาณส่วนผสม ได้แก่ –ปุ๋ยเดี่ยว (มีธาตุอาหารชนิดเดี่ยว) –ปุ๋ยเชิงผสม (ได้มาจากการผสมปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยเคมี) -ปุ๋ยเชิงประกอบ (ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป)
3. สูตรปุ๋ย คือ ปุ๋ยที่จำแนกตามสูตรของตัวปุ๋ย ได้แก่ –ปุ๋ยสูตรต่ำ (มีประโยชน์ต่อพืชไม่ต่ำกว่าร้อยละ3) –ปุ๋ยสูตรกลาง (มีประโยชน์ต่อพืชไม่ต่ำกว่าร้อยละ15-25) –ปุ๋ยสูตรสูง (มีประโยชน์ต่อพืชไม่ต่ำกว่าร้อยละ26-30) –ปุ๋ยสูตรเข้มข้น (มีประโยชน์ต่อพืชไม่ต่ำกว่าร้อยละ30)
4. ความสามารถในการปลดปล่อยอาหาร คือ เป็นปุ๋ยที่มีลักษณะของการละลาย ได้แก่ – ปุ๋ยละลายเร็ว – ปุ๋ยกึ่งละลายช้าและละลายเร็ว - ปุ๋ยละลายช้า
****** 3. ปุ๋ยเคมีคืออะไร มีกี่ชนิด + วิธีการทำปุ๋ยยูเรียและสูตรของปุ๋ยยูเรีย ***************
ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์สังเคราะห์หรืออนินทรีย์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ไม่รวมถึง ปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ ยิมซั่ม และโดโลไมต์
ปุ๋ยเคมีมี 3 ชนิด คือ – ปุ๋ยผง – ปุ๋ยเกร็ด – ปุ๋ยน้ำ (อธิบายเพิ่มด้วยนะ)
ปุ๋ยยูเรีย คือ ปุ๋ยที่มีแม่ธาตุเป็นธาตุไนโตรเจนสูงสุด และปุ๋ยยูเรียเป็นของแข็งที่ละลายน้ำได้ง่าย ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สามารถละลายได้เป็น 7 เท่า เมื่อเทียบกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (กรุณาไปดูสูตรที่เป็นตัวเลขในเอกสารให้ดีนะครับ)
สูตรของปุ๋ยยูเรีย คือ ตัวหลักคือ ต้องมี ไนโตรเจนร้อยละ 46
การทำปุ๋ยยูเรีย มี 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแอมโมเนีย เตีรยมได้โดยการนำเอาก๊าซไนโตรเจน มาทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน ที่ความดันและอุณหภูมิ ดังสมการ
( โปรดไปดูสูตรด้วยที่เป็นสมการ )
ขั้นตอนที่ 2 เอาแอมโมเนียที่ได้จากสมการ มาทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความดันสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม ดังสมการ
( โปรดไปดูสูตรสมการ )
ในส่วนนี้เมื่อได้ยูเรียแล้ว ส่วนวิธีใช้ขึ้นอยู่กับ วิธีการนำไปใช้ของแต่ละบุคคล
**** 4. ปุ๋ MAP และ ปุ๋ย DAP คืออะไร และ สูตรว่าอย่างไร ****
ปุ๋ย MAP คือ แอมโมเนียม ทำปฏิกิริยากับ กรดฟอสฟอริค ได้เป็น ปุ๋ยโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (Monoammonia phosphate) และมีสูตร 12 – 52 – 0
ปุ๋ย DAP คือ แอมโมเนียม ทำปฏิกิริยากับ กรดออโทฟอสฟอรัส ได้เป็น ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (Diammonium phosphate) และมีสูตร 16 – 48 – 0
*********** 5. การใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืช ********
การใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืช ปุ๋ยเคมีที่จำเป็นต่อพืชต้องได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดีที่สุดต่อพืช สิ่งที่ควรคำนึง คือ
1. ชนิดของปุ๋ยที่ถูกต้อง คือ การปลูกพืชแต่ละชนิดนั้น สัดส่วนที่พืชต้องการ ย่อมที่จะแตกต่างกัน บางชนิดต้องการมากน้อยไม่เท่ากัน รวมถึงสภาพดิน สภาพพืช สภาพอากาศ ในการปลูกพืช ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าว การใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม ที่นิยมนำมาเป็นปุ๋ยรองพื้น เป็นประเภทปุ๋ยไนโตรเจน หรือถ้าดินเป็นกรดจัดควรใช้หินฟอสเฟตส่วนดินด่าง แคลไซฟอสเฟต หรือถ้าเป็นพืชไร่ จะนิยมปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ จะเห็นได้ว่าปัจจัยในการเลือกชนิดปุ๋ยนั้นสำคัญเช่นกัน
2. อัตราปุ๋ยที่พอเหมาะ คือ ความต้องการปุ๋ยของพืชแต่ละชนิดนั้นมีปริมาณที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น วิธีปลูก และการบำรุงรักษา และพืชแต่ละชนิดควรได้สารอาหารแร่ธาตุที่พอเหมาะ เพราะถ้าได้น้อยไปจะทำให้พืชได้ผลผลิตที่น้อยและการเจริญเติบโตจะช้า ถ้าได้มากเกินไปก็จะทำให้ต้นแก่เร็ว
3. เวลาในการใส่ปุ๋ย คือ ช่วงระยะเวลาของการใส่ปุ๋ยในพืชแต่ละชนิด แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ – ช่วงแรก คือ ช่วงที่พืชเริ่มงอก – ช่วงที่ 2 คือ เป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว – ช่วงที่ 3 คือ เป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่
4. วิธีการใส่ปุ๋ย คือ การใส่ปุ๋ยมีความสำคัญกับประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตและประสิทธิผลที่ดี การใส่ปุ๋ยแบ่งเป็น 3 ประเภท – การใส่แบบหว่าน การใส่แบบนี้เหมาะกับพืชที่ไม่เป็นแถว – การใส่แบบเฉพาะจุด ส่วนใหญ่ใช้กับพืชที่ปลูกเป็นแถว เพราะทำได้สะดวก – การใส่แบบฉีด คือ การให้อาการทางใบเนื่องจากรากพืชไม่สามารถรับแร่ธาตุสารอาหารได้

******** 6. เลือกปุ๋ยมาหนึ่งอย่างที่ใช้กับนาหรือพืชไร่ และระบุว่าเป็นพืชที่ไวต่อแสงหรือไม่(ในส่วนนี้ให้เพื่อนเลือกเอา 1 อย่างครับ) ******
การใช้ปุ๋ยในนาข้าว ในปัจจุบันการปลูกข้าวนั้นนิยมใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับพืช และการใช้ปุ๋ยเคมีก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และการใช้ปุ๋ยในนาข้าวนั้น มีแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. พันธ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง พันธ์ข้าวนี้มักมีต้นสูง มีการแตกกอน้อย และยังรับปุ๋ยไนโตรเจนได้น้อย ให้ผลผลิตได้ต่ำ มีการต้านทานโรคได้น้อย จึงจำเป็นต้องมีการเลือกการใส่ปุ๋ยเพียงสูตรเดียว และการใส่ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ในระยะเวลาปักดำแล้วคราดกลบหรือหลังปักดำ 15 – 20 วัน และ ครั้งที่ 2 ใส่ระยะกำเนิดช่อดอก 35 – 50 วันหลังจากปักดำ หรือใส่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 30 วัน
2. พันข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อต้นข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด โดยไม่ขึ้นกับความยาวของกลางวัน พันธ์ชนิดนี้จึงให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี การใส่ปุ๋ยจะใช้ปุ๋ยเพียงสูตรเดียวเท่านั้น การใส่ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ใส่ในระยะเวลาปักดำแล้วคราดกลบหรือหลังปักดำ 15 – 20 วัน และ ระยะที่ 2 ใส่ระยะกำเนิดช่อดอก 35 – 50 วันหลังจากปักดำ หรือใส่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 30 วัน แต่สำหรับนาหยอด นาหว่านข้าวแห้ง นาหว่านน้ำตมและนาข้าวขึ้นน้ำ แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ที่ระยะ 20 – 30 วันหลังข้าวงอก ครั้งที่ 2 ที่ระยะกำเนิดช่อดอก ประมาณ35 – 50 วัน หลังจากปักดำ หรือใส่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 30 วัน
การใช้ปุ๋ยในพืชไร่ พืชไร่ที่เกษตรกรของประเทศไทยนิยมปลูก ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ละหุ่ง อ้อย และมันสำปะหลัง แต่สภาพดินในประเทศไทยเราในการปลูกพืชไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำในปัจจุบันโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก มักจะไม่เพียงพอ จึงจำเป็นที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่ในการใช้นั้นก็ต้องคำนึงถึง พันธ์พืช วิธีการปลูก ฤดูการปลูก การป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช
ตัวอย่าง การใส่ปุ๋ยในพืชไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีสำหรับข้าวโพด ใน นครสวรรค์ สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย จะใช้ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 ในอัตรา 20 – 30 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปลูกหลังหรือก่อนปลูกข้าวโพดแล้วไถกลบและควรปลูกพืชหมุนเวียนร่วมกับถั่ว เพื่อช่วยปรับปรุงสภาพความอุดมสมบูรณ์
ตัวอย่าง การใส่ปุ๋ยในพืชไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีสำหรับอ้อย อ้อยเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดมาก มีอากาศร้อนและต้องมีน้ำเพียงพอในช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโต ดินที่ใช้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวดินทราย ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อยอยู่ระหว่าง 28 – 38 องศาเซลเซียส ปุ๋ยที่เหมาะสมและนิยมใช้ คือ ปุ๋ยสูตร 20 – 10 – 10 ในอัตรา 60 – 70 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปลูกหลังหรือก่อนปลูกข้าวโพดแล้วไถกลบและควรปลูกพืชหมุนเวียนร่วมกับถั่ว เพื่อช่วยปรับปรุงสภาพความอุดมสมบูรณ์

จำหน่ายเอกสารแนวข้อนักวิชาการเกษตร  กรมพัฒนาการเกษตร  กรมพัฒนาที่ดิน   
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมา
และภาค ข. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
ทุกเนื้อหาที่ออกข้อสอบ

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ข้อสอบเก่านักวิชาการเษตรบางหน่วยงาน
สารในพริก Capsaicin - Zea may
ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ข้าวโพด
- ดินพลุเป็นดินที่มีความเป็นกรด พบบริเวณภาคใต้
- ไบโอดีเซล ใช้ปาล์ม –ข้อที่ถามลุ่มแม่น้ำ
- ข้อมูลมีกี่แบบ - ชื่อวิทยาศาสตร์ข้อใดผิด
-สารอัลลิซินมีมากใน กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่
-ข้าว 1 ถัง มี 5.5 กก.7.5 กก.15 กก.20 กก.
-อายุของสิทธิบัตรพืช...ปี -เพศหญิง/ชาย Nominal Ratio ...
-แผนพัฒนาศก. ปี .......-แม่ให้นมลูก .... เดือน -ลุ่มแม่น้ำ... -กังหันชัยพัฒนา .... บำกัดน้ำเสีย
-ค่าเงินแข็ง.... -หน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตร -การสื่อสารทางเดียว...
-การสื่อสาร mass com...
-อาสาสมัครเกษตร... -Sender –
-วิธีป้องกันการเกิดเชื้อราAlphatoxin ในถั่ว
-ปรัชญาของกรมส่งเสริมการเกษตร... -หลักของ tissue culture.... -GMOs...
-หลักทฤษฎีใหม่... -FTA.. -WTO...
-ข้อใดไม่ใช่ต้นทุนแปรผัน...
-ค่าเสื่อมราคา ...คำนวณ 1,460 บาท -วิสาหกิจชุมชน 3ข้อ
-ข้อที่มีตัวเลือกปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมไนเตรต โพแทสเซียมซัลเฟต
-ใช้ส่วนใดของสบู่ดำมาสกัด... -ข้าวไวแสง ....
-ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานเกี่ยวกับเกษตร...
-พืชที่ไม่ได้อยู่ใน พรบ.พันธุ์พืช ที่มีการแก้ไข .... พืชสงวน พืชอนุรักษ์จำไม่ได้ -ถามเกี่ยวกับข้อมูล... ก.ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ -SWOT ...
-รายรับ/รายจ่าย< 1 หมายถึง ... -.... วิธีคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ..
-แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพืช ....ตอบ BT เฉยเลย ผิดง่ะ -โรคในข้าวเกิด/พบในช่วงไหนมาก ... -เกษตรผสมผสาน...การให้ปุ๋ยหมัก ....การฉีดสารเคมีทุกสัปดาห์...จำไม่ได้
-ใครเป็นคณะกรรมการและเลนานุการวิสาหกิจชุมชน.... -ต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนที่ไหน... -ที่ผสมสาร 45 ซีซี 45 เปอร์เซ็น.......
- ลุ่มน้ำมีทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำใช่เปล่า
- ชะอมแก้ท้องผูกมั้ย-vission คือในอนาคตเปล่า
- พัฒนาแบบแยกส่วนตรงกับสุภาษิตไหน
-ช่วงวิกฤติน้ำของข้าว..........
-ผลลัพธ์ output outcome
-ระยะให้นมลูก 3 เดือนเหรอ.....
- ธาตุที่ไม่จำเป็นต่อพืช...c H O เปล่า......... -ต้นทุนไม่ผันแปรคือ ค่าเช่าโรงเรือน -เลขานุการวิสาหกิจชุมชนจังหวัด คือ เกษตรจังหวัด
-FTA ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ หรือกลุ่มประเทศ -สิทธิบัตร 20 ปี -WTO คือการเจรจาทางการค้าของประเทศสมาชิก -ข้าวไวแสง คือ ข้าวที่ต้องการแสงมากในการออกดอก
-แก้ท้องผูกน่าจะเป็นขี้เหล็ก ( ไม่แม่ใจ แต่ค้นบางส่วนแล้วเป็นขี้เหล็ก )
-การขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช ที่กรมวิชาการเกษตร
-ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ผิด กล้วย
-ปุ๋ยไม่เชิงเดียว คือ โปแตสเซียมไนเตรท -อนาคตคือ Vision
-ช่วงวิกฤติน้ำของข้าวช่วงออกดอก สร้างรวง
-พัฒนาแบบแยกส่วน ตาบอดคลำช้าง
-ธาตุที่ไม่จำเป็น ข้อ 4
-ข้าวเปลือก 1 ถัง 10 กก.-ข้อที่ไม่ใช่มาตรฐานเกษตร FDA ( ชื่อสำนักงาน อย. )
-ระยะให้นมลูก 6 เดือน -Out put นำความรู้ไปปฏิบัติแล้วเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ -Out come ทำให้ชีวิตมีความพอเพียง พออยู่พอกิน -ค่าเงินแข็ง ราคาผลผลิตต่ำลงเมื่อส่งออก
-หลักทฤษฎีใหม่ ความพอประมาณ
-หลัก tissue culture ใช้ส่วนที่เนื้อเยื่ออ่อนจะทำได้ดี 25 ลุ่มน้ำ , อายุยุวเกษตร10-25 ปี,อนาคต คือ วิสัยทัศน์,320 ล้านไร่,ขี้เหล็ก,เชื้อไฟทอปเทอร่า,มุ่งผลสัมฤทธิ์ คือผลลัพธ์,ข้าวเปลือก10กก.,ขี่ช้างจับตั๊กแตน,ใช่ไหมคำตอบนี้คงจำคำถามไดน่ะอยากรู้ช่องทางการสื่อสาร,ค่าเสื่อมราคา 1,460 บาท,ผสมยา,ขั้นตอนที่ผู้ทำปัญหาต้องทำเอง,ผู้หญิง/ชาย ,.......... -มีข้อหนึ่งที่เรียง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม....-พืชใดไม่ควรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ -สารป้องกันมะเร็งในถั่ว -วิตามินที่ทำให้ผิวสวย-แกล้งดินคือ....... -สารเร่งนอกฤดูมีมะม่ว ทุเรียน -การปลูกพืชหมุนเวียน-ชลประทานที่เหมาะสม ตอบ น้ำหยดเปล่า -หลังพักหนี้เกษรตกรกรมส่งเสริมควรทำ........-ข้อที่มีช้อย ว่า 1.มนุษยสัมพันธ์ ใช้ภาษาถิ่น
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้