ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต

แชร์กระทู้นี้

1. พระราชบัญญัติสุราพ..2493 ให้ไว้ ณ วันใด


ก. 5 มีนาคม 2493                                                     ค. 7มีนาคม 2493


ข. 6 มีนาคม 2493                                                     ง. 8มีนาคม 2493


ตอบ   ข. 6 มีนาคม 2493


2. พระราชบัญญัติสุราพ..2493 มีกี่มาตรา

ก. 6 หมวด  47 มาตรา                                             ค. 8  หมวด  47 มาตรา
ข. 
7  หมวด 47  มาตรา                                            ง. 8  หมวด 74  มาตรา

ตอบ  ค. 8 หมวด  47  มาตรา

3. หมวดที่  2 ในพระราชบัญญัติสุรา พ..2493 ว่าด้วยเรื่องใด

ก. ภาษีสุรา


ข. การทำสุรา และการนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร


ค. การขายสุรา


ง. บทกำหนดโทษ


ตอบ    ก. ภาษีสุรา

4. "สุรา" หมายถึง

ก. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์


ข. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา


ค. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งดื่มกินไม่ได้
แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา

       ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ    ง. ถูกทุกข้อ


"สุรา" หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้
แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา


5. ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร

ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. 
อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี

ตอบ   ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต

มาตรา5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการออกใบอนุญาตให้ทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนให้เป็นไป

ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

6. ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร

เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร



ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี



ตอบ  ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต



7. การเสียภาษีสุรากระทำได้โดย



ก. จ่ายเงินให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่                    



ข. ปิดแสตมป์สุราที่ฝา



ค. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุรา                  



ง. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่



ตอบ    ง.
ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 7(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรานอกจากทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
การเสียภาษีให้กระทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีจะกำหนดวิธีการเสียภาษีโดยวิธีอื่นโดย

ออกเป็นกฎกระทรวงก็ได้

8. ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีสุราโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
เว้นแต่สุรานั้นมีปริมาณไม่เกินกี่ลิตร



ก. 1  ลิตร                                                                    ค. 5  ลิตร



ข. 10  ลิตร                                                                  ง. 3  ลิตร



ตอบ   ก. 1 
ลิตร
           


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพสามิต

แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง_กรมสรรสามิต

แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน  การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม

- สรุปกฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้สอบ

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต  พ.ศ. 2527

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติไพ่  พ.ศ.2486

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ยาสูบ พ.ศ. 2509 และแก้ไขเพิ่มเติม


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้
(the law where Excise Department uses)
1.พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 
ใช้จัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม โคมไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ แก้วคริสคัล รถยนต์ เรือยอร์ช น้ำหอม น้ำมันหอม พรม สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ
2.พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 
ใช้จัดเก็บภาษีสุราแช่กับสุรากลั่น 
1)สุราแช่ = เบียร์,สุราแช่ผลไม้,สุราแช่พื้นเมือง 
2)สุรากลั่น = สุราขาว, สุราผสม, สุราสามทับ,สุราปรุงพิเศษ,สุราพิเศษ
3.พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
ใช้จัดเก็บภาษีบุหรี่ เช่น ชิกาแรต,ซิการ์,ยาเส้น,ยาเส้นปรุง,ยาเคี้ยว
4.พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ. 2486
ใช้จัดเก็บภาษีไพ่
5.พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
6.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
7.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.excise.go.th
อธิบายตามพระราชบัญญัติ
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
1.1 ผู้ผลิตสินค้าเอง
1.2 ผู้รับจ้างผลิต
2.ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3.ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.7 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการสถานบริการผู้นำเข้าซึ่งสินค้า หรือผู้อื่นที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
4.ผู้อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนด
4.1 ผู้ดัดแปลงรถยนต์ 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 ตรี “ดัดแปลง” หมายความว่า การกระทำใดๆ ต่อรถยนต์กระบะหรือสิ่งใดๆตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้เป็นรถยนต์นั่งหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน โดยผู้ประกอบการมิใช่ผู้ประกอบอุสาหกรรมรถยนต์
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 เบญจ ให้ผู้ดัดแปลงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลง โดยให้ถือราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลงบวกด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าจ้างทำของซึ่งรวมค่าวัสดุอุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับ ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงและค่าวัสดุอุปกรณ์ตามที่อธิบดีกำหนด
4.2 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “คลังสินค้าทัณฑ์บน” หมายความว่า สถานที่นอกโรงอุตสาหกรรมที่อธิบดีอนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าได้โดยยังไม่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “โรงอุตสาหกรรม” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมตลอด ทั้งบริเวณแห่งสถานที่นั้น และให้หมายความรวมถึงเครื่องขายเครื่องดื่มด้วย
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.42 ในกรณีที่มีสินค้าขาดไปจากบัญชีคุมสินค้า ให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนเสียภาษีสำหรับสินค้าที่ขาดไปพร้อมกับเบี้ยปรับอีกสองเท่าของภาษีนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าสินค้านั้นสูญหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุผิดพลาดในการตรวจนับปริมาณสินค้าอันไม่ได้เกิดขึ้นโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน
4.3 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันตั้งขึ้น ใหม่ โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิม (ม.57)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.57 ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กัน ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันได้ตั้งขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาห กรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเดิมรับผิดร่วมกันในการชำระภาษีของกิจการเดิมที่ควบเข้ากันหรือกิจการที่โอนนั้น แล้วแต่กรณี
4.4 ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้น หรือลดอัตราภาษีสำหรับ สินค้านำเข้า (ม.11) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้านำไปใช้ในการอื่น = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
3) ถ้าสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลง = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
4)ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีตาย = ผู้จัดการมรดกหรือทายาท
4.5 ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตาม ม.102 (3) สำหรับสินค้าที่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี 
(ม.12) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.102 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ 
(3) สินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศหรือทางการทูตตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกัน
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้าเอกสิทธิ์สิ้นสุดลงนอกจากความตาย = ผู้ได้รับเอกสิทธิ์
4.6 ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ม.56)
4.7 ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี (ม.58)
4.8 ผู้กระทำความผิดตาม ม.161,ม.162 (ม.163)
วิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
1.จัดเก็บตามมูลค่า (ม.8)
1.1 ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม
1.2 ในกรณีบริการ ให้ถือตามรายรับของสถานบริการ
1.3 ในกรณีนำเข้า ให้ถือราคาตาม ราคา ซี.ไอ.เอฟ (ราคาสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง)+อากรขาเข้า+ค่าธรรมเนียมพิเศษกฎหมายส่งเสริมการลงทุน+ภาษี+ค่าธรรมเนียมอื่น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.จัดเก็บตามปริมาณ (ม.9)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.9 สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามปริมาณนั้น ให้ถือตามหน่วยน้ำหนักสุทธิหรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น
3. จัดเก็บแบบทั้งสองวิธี โดยให้เสียภาษีในแบบที่จำนวนเงินมากที่สุด
ความรับผิดในการที่จะต้องเสียภาษี
1.ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร (ม.10)
1.1 ถ้าสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม = นำสินค้าออกจากโรงงานอุตาหกรรม
1.2 ถ้าสินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน = นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน+การใช้สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วย
2.ในกรณีบริการ (ม.10) = เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
3.ในกรณีสินค้านำเข้า (ม.10) = เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีศุลกากร
การจดทะเบียนสรรพสามิต
1.การกระกอบอุตสาหกรรมหรือการบริการมีก่อนกฎหมายพิกัดอัตราภาษีบังคับใช้กับสินค้าและบริการนั้น = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน นับแต่กฎหมายใช้บังคับ (ม.25)
2.เริ่มกิจการการประกอบอุตสาหกรรมกับการบริการใหม่ = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้าหรือเริ่มบริการ (ม.25)
ในกรณีมีหลายแห่งให้แยกยื่นขอเป็นรายโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ (ม.25)
3.แจ้งย้ายไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันย้าย และยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตใหม่ (ม.30)
4.เลิกกิจการหรือโอนกิจการ แจ้งไม่น้อยกว่า 15 วัน และคืนใบทะเบียนภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการ
5.ผู้รับโอนกิจการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันรับโอนกิจการและสามารถประกอบกิจการต่อเนื่องได้ระหว่างรอรับใบทะเบียน
6.ถ้าผู้ประกอบการตายและทายาทจะประกอบกิจการต่อ = ต้องยื่นภานใน 30 วันนับแต่ผู้ประกอบการตาย
การยื่นแบบรายการภาษีและการชำระภาษี
1.ในกรณีสินค้าผลิตขึ้นในราชอาณาจักร ให้ยื่นและชำระก่อนความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น
ยกเว้น 1)ความรับผิดเกิดขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มในมาตรา 10 (1) วรรคสอง (เกิดขึ้นขณะสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสา หกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน) ให้ยื่นและชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปหรือ
2)นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนแล้วแต่กรณีใดเกิดก่อน
2.ในกรณีบริการ ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3.ในกรณีนำเข้า ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระในเวลาที่ออกใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากร
4.กรณีอื่น ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีความรับผิดเกิดขึ้น
ยกเว้น กรณีตามม.11,12 (สิทธิไม่เสียภาษีลดหย่อนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง) ยื่นภายใน 30 วัน
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
สรุปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุรา สำหรับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ฐานความผิด 
บทกำหนดโทษ 
กฎหมาย 
หน่วยงาน 

1 ขาย แลกเปลี่ยนหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ 
-จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 30,000 
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา26(10) 
กท.พัฒนาสังคมฯ 
-เพิกถอนใบอนุญาต 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 

2 ขายสุรานอกเวลาที่กำหนด(ให้ขาย 11.00-14.00 และ 17.00-24.00) -ปรับ 50 บาท 
-พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเป็นเวลา 5 ปี 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 20, 46 
กรมสรรพสามิต 
-จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 ลาท 
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 พ.ศ. 2515 สนง.ตำรวจแห่งชาติ 
3 ขายสุราในสถานที่ต่อเนื่องหรือติดกับสถานที่ดังกล่าว 
- ในสถานศึกษา 
- ศาสนาสถาน(วัดต่างๆ) 
- สถานีบริการน้ำมัน 
-เพิกถอนใบอนุญาต 
-ไม่มีใบอนุญาต ปรับตามประเภทสุราที่ขาย 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 
4 ไม่แสดงใบอนุญาตขายสุราไว้ในสถานที่ขายอย่างเปิดเผย 
-ปรับ 2,000 บาท 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 
5 ทำการเปลี่ยนแปลงสุรา (เช่นผสมยาดองเหล้าหรือวัตถุอื่นๆ) 
-ผู้ขายส่ง ปรับ 2,000 บาท 
-ผู้ขายปลีก ปรับ 500 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 22,23,36,38 
กรมสรรพสามิต 
6 เก็บสุราไว้ที่อื่นซึ่งมิใช่สถานที่ขออนุญาตไว้ 
-ปรับ 500 บาท(เฉพาะผู้ขายส่ง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 21, 38 
กรมสรรพสามิต 
7 ขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานออกให้ 
-ปรับ 200 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 40 ทวิ 
กรมสรรพสามิต 
8 ขายหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตขายสุรา 
-สุราไทยทุกชนิด ปรับ 500 บาท 
-สุราต่างประเทศ ปรับ 2,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17, 40 
กรมสรรพสามิต 
9 ลักลอบผลิตสุราทุกชนิด(สุรากลั่น, สุราแช่, กระแช่ ฯลฯ) 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5, 30 
กรมสรรพสามิต 
10 ขายสุราที่ลักลอบผลิตขึ้นตามข้อ 9 
-ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 
กรมสรรพสามิต 
11 ขนหรือเคลื่อนย้ายสุราแช่ และสุรากลั่นหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 34 
กรมสรรพสามิต 
12 ขนหรือเคลื่อนย้าสุราทุกชนิดตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขนสุรากำกับไปด้วย 
-ปรับลิตรละ 10 บาท ตามจำนวนสุราที่ขนหรือเคลื่อนย้าย 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 14, 38 ทวิ 
กรมสรรพสามิต 
13 ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราชุมชนหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวนสุราของกลาง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 
กรมสรรพสามิต 
14 ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราต่างประเทศหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวน ประเภท/ชนิดสุราของกลาง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 
กรมสรรพสามิต 
15 ขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดงานเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้งในระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 130 
-กระทรวงมหาดไทย 
-คณะกรรมการการเลือกตั้ง 
16 ขายสุรา หรือยินยอมปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ 
-ปรับไม่เกิน 50,000 บาท 
พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 16(2) (3) มาตรา 27 
-กระทรวงมหาดไทย
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้