ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ ศุลการักษ์ กรมศุลกากร
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ ศุลการักษ์ กรมศุลกากร

แชร์กระทู้นี้

1.       กิจการศุลกากรของไทยเริ่มครั้งแรกในสมัยใด 

           ก.   สมัยสุโขทัย                                                                         ข.   สมัยอยุธยา

           ค.  สมัยธนบุรี                                                                           ง.  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 

คำตอบ   ก.     กิจการศุลกากรของไทยมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแล้ว  ในสมัยสุโขทัยได้อาศัยการค้าขายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งของรัฐ  จึงให้งดเว้นการเก็บภาษีศุลกากร        ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึก 

                         หลัก 1 ความว่า  เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พ่อเมือง บ่ เอา จกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า คำว่า จกอบ หรือจังกอบ  คือภาษีที่เก็บจากสินค้าเข้าออก

2.       ในสมัยอยุธยาภาษีศุลกากรนับว่าเป็นรายได้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อัตราที่จัดเก็บในชั้นแรกคืออะไร

           ก.   สิบชักสี่                                                                                ข.  สิบชักสาม 

           ค.   สิบชักสอง                                                                           ง.  สิบชักหนึ่ง

           คำตอบ  ง.      สิบชักหนึ่ง  คือ  สิบชัก

3.       พันธกิจกรมศุลกากรคืออะไร

           ก.   ยกระดับศุลกากรไทยสู่ศุลกากรมาตรฐานโลก             ข.   สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน

           ค.   ปกป้องความปลอดภัยของสังคม                                     ง.   ถูกทุกข้อ 

           คำตอบ  ง.      พันธกิจกรมศุลกากรไทย  คือ 

                                    1.  ยกระดับศุลกากรไทยสู่ศุลกากรมาตรฐานโลก 

                                    2.  สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน 

                                    3.  ปกป้องความปลอดภัยของสังคม

4.       นายเรือ  หมายถึงใคร 

           ก.   บุคคลใดๆ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา หรือควบคุมเรือ

           ข.   บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของเรือ

           ค.   บุคคลที่ถือท้ายเรือ 

           ง.   ไม่มีข้อถูก 

           คำตอบ  ก.      นายเรือหมายถึง บุคคลใดๆซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ

5.       ในปี พ.ศ.2369 ได้จัดทำสัญญาเบอร์นี่ขึ้น  ให้เก็บภาษีขาเข้า และขาออกจากปากเรือวาละกี่บาท 

           ก.   1,500  บาท                                                                          ข.   1,600  บาท

           ค.   1,700  บาท                                                                          ง.   1,800  บาท

           คำตอบ   ค.     1,700  บาท

6.       สัญญาเบอร์นี่ได้กำหนด  หากเป็นเรือเปล่า ให้เก็บภาษีวาละ เท่าใด

           ก.   1,500 บาท                                                                           ข.   1,600 บาท 

           ค.   1,700  บาท                                                                          ง.   1,800  บาท

7.       สัญญาเบอร์นี่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลใด

           ก.   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก                     ข.   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 

           ค.   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                           ง.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

           คำตอบ   ค.     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 

8.       ในการทำสัญญาเบาว์ริ่งกำหนดให้มีการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราร้อยชักสามเกิดขึ้นในสมัย 

           รัชกาลใด 

           ก.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                    ข.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

           ค.   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                           ง.   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

           คำตอบ   ก.     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปี พ.ศ. 2398  ได้ให้มีการสร้างสัญญาเบาว์ริ่ง  กำหนดให้เก็บภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม  ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บตามระบุในท้ายสัญญาเป็นชนิดไป 

9.       ตราพระราชบัญญัติศุลกากรฉบับแรก เกิดขึ้นเมื่อใด

           ก.   13  สิงหาคม  พ.ศ. 2469                                                    ข.   13  กันยายน  พ.ศ. 2469 

           ค.   13  กันยายน  พ.ศ. 2469                                                    ง.   13  ตุลาคม  พ.ศ. 2469 

           คำตอบ   ก.     13 สิงหาคม 2469  ในปี  พ.ศ. 2452  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช

           อธิบดีกรมศุลกากร และ มร.วิลเลี่ยม นันท์ ที่ปรึกษาได้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบพิธีศุลกากร

           โดยอาศัยหลักกฎหมายของอังกฤษเป็นแม่แบบ แล้วส่งร่างดังกล่าวให้นานาประเทศพิจารณา

           ขอรับความเห็นชอบ  ซึ่งใช้ระยะเวลาเพื่อการนี้ถึง 14 ปี จึงสามารถตราพระราชบัญญัติศุลกากร 

           ฉบับแรกขึ้นได้ 

10.     พิกัดอัตราศุลกากร  ได้ออกกฎหมายฉบับแรกขึ้นเมื่อใด 

           ก.   26  มีนาคม 2469                                                                ข.   26  เมษายน  2469

           ค.   26  มิถุนายน  2469                                                            ง.   26  สิงหาคม  2469

           คำตอบ   ก.     26  มีนาคม 2469  

11.     สถานที่ทำการศุลกากร  โรงภาษีแห่งแรกตั้งอยู่ที่ใดและมีลักษณะเช่นใด 

           ก.   ตั้งอยู่ปากคลองตลาด  เรือนปั้นหยา                               ข.   ปากคลองผดุงกรุงเกษม  เรือนปั้นหยา

           ค.   ปากคลองมหานาค  เรือนทรงไทย                                  ง.   ปากคลองภาษีเจริญ  เรือนทรงไทย

           คำตอบ   .     ปากคลองผดุงกรุงเกษม  มีลักษณะเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว  หันหน้าลงแม่น้ำ

12.     สถานที่ทำการศุลกากร  ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกชื่อว่าอะไร

           ก.   ศุลกสถาน                                                                            ข.   สุลกสถาน

           ค.   ษุลกสถาน                                                                           ง.   ไม่มีข้อใดถูก

           คำตอบ   ก.     ศุลกสถาน  โรงภาษีแห่งแรกตั้งอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม  มีลักษณะเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว  หันหน้าลงแม่น้ำ  เมื่อ พ.ศ. 2431 ได้ย้ายมาตั้งที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตอำเภอบางรัก  เดิมเป็นตึกแบบจีน  ต่อมาสร้างเป็นเรือนปั้นหยา  2  หลัง  หลังหนึ่งเป็นที่ทำการภาษีร้อยชักสาม  อีกหลังหนึ่งเป็นที่บัญชาการข้าวขาออก ภายหลังได้สร้างที่ทำการศุลกากรขึ้นที่เดิมใช้ชื่อว่าศุลกสถาน  แปลว่า     ที่เก็บอากรขาเข้า ขาออก

13.     ข้อใดหมายถึงพนักงานศุลกากร

           ก.   บุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากร 

           ข.   นายทหารแห่งราชนาวี   หรือนายอำเภอ   หรือผู้ช่วยนายอำเภอ  ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้ 

                 กระทำแทนศุลกากร 

           ค.   พนักงานใดๆ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร

           ง.   ถูกทุกข้อ 

           คำตอบ   ง.     พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2  กล่าวว่า พนักงานศุลกากร หมายถึง  บุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากร หรือนายทหารแห่งราชนาวีหรือนายอำเภอ  หรือผู้ช่วยนายอำเภอ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้กระทำแทนศุลกากร และมาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2480  พนักงานศุลกากรให้ความหมายรวมถึง  พนักงานใดๆ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากรด้วย

14.     กรมศุลกากรไทยได้รับการยกร่างครั้งแรกในสมัยของใคร

           ก.   พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช 

           ข.   พระบรมไตรโลกนาถ 

           ค.   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

           ง.   พระเจ้าบรมวงศ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

           คำตอบ   ก. 

15.     การร่างได้ยึดถือแนวกฎหมายศุลกากรของประเทศใด

           ก.   ฝรั่งเศส                                                                                ข.   อังกฤษ

           ค.   เยอรมนี                                                                                ง.   ตุรกี

           คำตอบ    ข.

16.     ในช่วงที่ทำการยกร่างกฎหมายศุลกากรขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย  ชาวต่างชาติที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ  และเป็นที่ปรึกษาในขณะนั้นคือใคร 

           ก.   นายวิเลี่ยม นันท์  (MR.WILLIAM NUM)                    ข.   นายจอห์น  เดนเวอร์  คลาส์

           ค.   นายเคริก์  ดักลาส นอร์ตัน                                                ง.   นายอาร์โนด์  คลากส์

           คำตอบ    ก. 

17.     ในขณะที่ทำการยกร่างกฎหมายศุลกากร  จะต้องหารือและเจรจากับนานาประเทศที่มีสนธิสัญญาทางไมตรี  และพาณิชย์กับไทย  เพื่อขอความเห็นชอบ  ประกอบกับได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  ทำให้   การเจรจาจะทำความตกลงกับนานาประเทศได้ต้องกินเวลานานถึงกี่ปี

           ก.   12  ปี                               ข.  13 ปี                                        ค.   14 ปี                 ง.  15 ปี 

           คำตอบ    ค.

18.     พระราชบัญญัติศุลกากร  ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อใด 

           ก.   13  สิงหาคม  2469                                                             ข.   14  สิงหาคม  2469

           ค.   15  สิงหาคม  2469                                                             ง.   16  สิงหาคม  2469

           คำตอบ    ก.

19.     ปัจจุบันนี้แบบใบขนสินค้าขาเข้ามีความจำเป็นที่จะต้องถูกกำหนดโดยกฎหมาย        ศุลกากรหรือไม่ 

           ก.   ไม่จำเป็นเพราะปัจจุบันนี้การเปลี่ยนแปลงใบขนสินค้ากรมศุลกากรสามารถกระทำได้โดยไม่ต้อง

                 แก้ไขเพิ่มเติมตามกฎหมายศุลกากร 

           ข.   ไม่จำเป็น กรมศุลกากรอาจกำหนดขึ้นได้ตามที่เห็นสมควรตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 

           ค.   ไม่จำเป็น  เพราะ พระราชบัญญัติศุลกากร  (ฉบับที่9)  พุทธศักราช 2482  ให้ยกเลิกมาตรา 42

           ง.   ถูกทุกข้อ

           คำตอบที่ถูก  คือ  ข้อ  ง.

20.     ลักษณะพิเศษของกฎหมายศุลกากรมีกี่ประเภท

           ก.   5                                       ข.  6                                             ค.   7                                ง.    8 

           คำตอบ    ค.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำแหน่งศุลการักษ์ กรมศุลกากร  ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด ใช้สอบทั่วประเทศ
ที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ

เป็นไฟล์เอกสารส่งทาง e-mail 

ส่งทันทีรวดเร็ว ได้อ่านสอบเร็วไม่ต้องรอ รวบรวมจากหนังสือมากกว่า สิบเล่มและรุ่นพี่ที่สอบได้
ภายในไฟล์ประกอบด้วย

- ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป  200 ข้อ

- ข้อสอบวิชาภาษาไทย 200 ข้
- ข้อสอบความรู้เกียวกับกรมศุลกากร
- ข้อสอบความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณพนักงานกรมศุลกากร

รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมากส่งทางอีเมล์เป็นไฟล์เอกสาร 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
สนใจสั่งซื้อมาที่  decho.by@hotmail.com

ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสารกรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ

เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 

บิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี decho pragay ออมทรัพย์

โอนเงินแล้วโทรแจ้งที่  โทร 085-0127724

 

 

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้