ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบประปา วิศวกรเครื่องกล ด่วนมากครับ
tapol ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบประปา วิศวกรเครื่องกล ด่วนมากครับ

แชร์กระทู้นี้

1. การขันเกลียวฝาสูบที่ถูกต้องควรขันอย่างไร

                1) เริ่มขันสลักเกลียวจากหน้าเครื่องไปท้ายเครื่อง

                2) เริ่มขันสลักเกลียวจากด้านท้ายเครื่องไปทางหน้าเครื่อง

                3) เริ่มขันสลักเกลียวจากตรงกลางออกไปด้านซ้าย-ขวา

                4) เริ่มขันสลักเกลียวจากด้านนอกแล้วค่อยๆ ขับไล่เข้าตรงกลาง

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

                ขันแบบกากบาท หรือตัว x เริ่มจากตรงกลางตรงกันแล้วไขว้ออกทั้ง 2 ด้าน

 

2. การถอดแหวนลูกสูบที่ถูกต้อง ควรถอดแหวนตัวใดก่อน

                1) แหวนกวาดน้ำมัน

                2) แหวนอัดตัวกลาง

                3) แหวนอัดตัวบน

                4) แหวนน้ำมันตัวบน

เฉลย ข้อ 3

แนวความคิด

                แหวนลูกสูบมีจำนวน 3 ตัว ต่อ 1 สูบ แหวนตัวบนและตัวที่ 2(Top and 2nd Rings) ทำหน้าที่เป็นแหวนอัด (Compression Rings) สำหรับแหวนตัวที่ 3 เป็นแหวนน้ำมัน (Oil Rings) ทำหน้าที่กวาดน้ำมันหล่อลื่นที่เกินบริเวณผนังกระบอกสูบ ดังนั้นจึงเหลือน้ำมันเครื่อง ในห้องเผาไหม้ด้วยปริมาณที่จำเป็นสำหรับการหล่อลื่นเท่านั้น

 

3. ถ้าท่อรั่วไอดีของเครื่องยนต์แกโซลีนรั่วจะมีผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร

                1) ขณะเครื่องเดินเบาะรอบจะสูง

                2) สิ้นเปลืองน้ำมันเชื่อเพลิง

                3) ส่วนผสมจะบางลง

                4) ส่วนผสมจะหนาขึ้น

เฉลย ข้อ 3

แนวความคิด

การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

                ในแต่ละรอบการทำงาน (cycle) เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นลง 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง) โดยเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ การที่ลูกสูบขึ้นลง 4 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงาน 4 จังหวะ จังหวะการทำงานทั้ง 4 ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะมีดังนี้

                1. จังหวะดูด (Intake stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลง ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดี(intake vavle) ซึ่งเปิดอยู่ ฃิ้นไอดีจะปิดที่ประมาณปลายจังหวะดูด (ใกล้ศูนย์ตายล่าง)

                2. จังหวะอัด (Compression stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น ลิ้นทั้งสองทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย(Exhaust valve) จะปิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกอัดจนกระทั้งใกล้ศูนย์ตายบน ส่วนผสมจะถูกจุดโดยหัวเทียน (เครื่องยนต์ดีเซลน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาโดยหัวฉีด) การเผาไหม้จึงเริ่มขึ้น

                3. จังหวะกำลัง , จังหวะระเบิด , (Power stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงลิ้นทั้งสองยังคงปิดอยู่ แรงดันของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ จะกระแทกลงหัวลูกสูบ ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง จนกระทั้งใกล้ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเสียจะปิด

                4. จังหวะตาย , จังหวะไอเสีย (Exhaust stoke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น จะผลักดันให้ไอเสียค้างในกระบอกสูบ ออกไปภายนอกโดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่ ลิ้นไอเสียยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นการเริ่มจังหวะดูดในรอบการทำงานต่อไป

 

4. การประกอบหัวฉีดเข้ากับเครื่องยนต์ทุกครั้งต้องทำอย่างไร

                1) หมุนเครื่องยนต์ให้ตรงกับตำแหน่งการฉีด

                2) ให้หัวเป่าลมทำความสะอาดเครื่องล้างหัวฉีดบนฝากสูบ

                3) เปลี่ยนแหวนรองหัวฉีดทุกครั้ง

                4) เปลี่ยนไส้กรองที่ชุดฉีดทุกครั้ง

เฉลย ข้อ 1

แนวความคิด

                หมุนเครื่องยนต์ให้ตรงกับตำแหน่งการฉีด

 

5. ชิ้นส่วนที่ใช้ป้องกันแก๊สและน้ำหล่อเย็นรั่วของเครื่องยนต์คือ

                1) แหวนอัด

                2) ปะเก็บฝาสูบ

                3) ปะเก็บอ่างน้ำมันเครื่อง

                4) ซิวก้านวาล์ว

เฉลย ข้อ 1

แนวความคิด

                1) แหวนอัด = นี้ป้องกันการรั่วของส่วนผสมอากาศและเชื้อเพลิงและแก๊สที่เกิดจากห้องเผาไหม้ระหว่างจังหวะอัด และจุดระเบิดมิให้น้อยลงสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยงจำนวนแหวนอัดนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องยนต์ โดยทั่วไปลูกสูบหนึ่งลูกจะมีแหวะอัดสองตัว ซึ่งเรียกว่า “แหวนอัดตัวบน” และ “แหวนอัดตัวที่สอง” แหวะอัดจะมีลักษณะเป็นเทเปอร์ ดังนั้นขอบล่างของมันจึงสัมผัสกับผนังกระบอกสูบ กระออกแบบเช่นนี้เพื่อให้เกิดการสัมผัสที่แนบสนิทกันเป็นอย่างดี ระหว่างแหวนและ กระบอกสูบ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่กวาดน้ำมันเครื่องออกจากผนังกระบอกสูบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                2) ประเก็บฝาสูบ = ประเก็บฝาสูบป้องกันการรั่วของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ตามการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

                3) ประเก็บอ่างน้ำมันเครื่อง = มีหน้าที่เป็น ที่เก็บน้ำมันเครื่องไว้เพื่อใช้ในการหล่อลื่น โดยมีประเก็นเป็นตัวป้องกันการการรั่วระหว่างเสื้อสูบกับอ่างน้ำมันเครื่อง

                4) ซิวก้านวาล์ว = เป็นชิ้นส่วนที่นำมาจากอลูมิเนียมมีหน้าที่ป้องกันการรั่วของน้ำมันเครื่องที่ใช้หล่อลื่น กระเดื่องวาล์ว

 

6. เครื่องยนต์ดีเซลถ้าปลอกนำลิ้นลึกจะเกิดอาการใด

                1) ควันไอเสียมีสีดำ

                2) เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง

                3) กินน้ำมันเชื้อเพลิง

                4) ควันไอเสียมีสีขาว

เฉลย ข้อ 1

แนวความคิด

                1) ควันไอเสียมีสีดำ = ควันดำ เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ในขณะที่ปริมาณของปริมาณของออกซิเจนในห้องเปาไหม้มีไม่เพียงพอ จึงทำให้การเผาไหม้ไม่หมด อนุภาคของเชื้อเพลิงที่หลงเหลือเหล่านี้จะได้รับความร้อนแล้วกลายเป็นสภาพเขม่าที่ถูกปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย

                2) เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง = เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลที่ไม่สมบูรณ์ มีสาเหตุจาก

·       หัวฉีดมีการอุดตัน ฉีดน้ำมันไม่เป็นฝอยละเอียด มีแรงดันผิดปกติจากค่ามาตรฐานที่กำหนด

·       ปั้มดีเซลจ่ายน้ำมันผิดปรกติ มีแรงดันต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐาน ทำให้จังหวะจุดระเบิดผิดปรกติ

·       เทอร์โบบกพร่อง สร้างแรงดันและปริมาณอากาศน้อยกว่าปรกติ

3) กินน้ำมันเชื้อเพลิง = อาการเครื่องยนต์กินน้ำมันมากผิดปกติ มีได้หลายสาเหตุ

·       ปั๊มดีเซลจ่ายปริมาณน้ำมันผิดปรกติ หรือมีการปรับแต่งปั๊มดีเซลให้จ่ายน้ำมันมาก

·       หัวฉีดผิดปรกติ จ่ายน้ำมันไม่เป็นฝอยละเอียด มีค่าแรงดันต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีการปรับค่าแรงดันไม่ถูกต้อง

·       เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ทำให้ต้องใช้เกียร์ต่ำ ส่งผลให้ใช้เครื่องยนต์รอบสูง มำให้เครื่องยนต์สึกหรอสูงด้วย

4) ควันไอเสียมีสีขาว = ควันขาว เกิดจากอุณหภูมิที่ถูกอัดในห้องเผาไหม้มีต่ำเกินไป เชื้อเพลิงที่ถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดจะระเหยกลายเป็นไอแต่เผาไม่หมด จึงถูกขับออกมาทางท่อไอเสีย หรือมีส่วนผสมของน้ำมันเครื่องปะปนอยู่

 

7. ทำหน้าที่หัวฉีด ได้แก่ข้อใด

1) จุดระเบิดในห้องเผาไหม้

2) ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยละอองในห้องเผาไหม้

3) สร้างแรงดันให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิง

4) สร้างแรงดันไฟฟ้าให้แก่ระบบ

เฉลย ข้อ 2

แนวความคิด

                หัวฉีด = มีหน้าที่ฉีด น้ำมันให้เป็นฝอยละเอียด เข้าห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ละอองของน้ำมันดีเซลที่ละเอียดจะสามารถคลุกเคล้ากับอากาศได้ดี ทำให้น้ำมันถูกเผาไหม้ได้หมด ไม่มีเขม่าตกค้าง เครื่องยนต์ที่มีอายุการใช้งานมานาน จะเกิดคราบสกปรกที่หัวฉีด การฉีดของหัวฉีดไม่เป็นฝอยละเอียด แรงดันฉีดต่ำกว่ามาตรฐานหรือ หัวฉีดแต่ละตัวจ่ายน้ำมันไม่เท่ากัน มีผลให้น้ำมันเผาไหม้ไม่หมด เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง กินน้ำมันผิดปกติ

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
คำสั่ง   จงเลือกคำตอบข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.     แบบก่อสร้างให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 กับรูปแบบอะไร
    1.    รูปด้าน รูปตัดขวาง    2.    วงกบประตู หน้าต่าง
    3.    ฐานรากอาคารแปลนพื้น ชั้นต่างๆ    4.    บันได โครงหลังคา
2.     เทศบัญญัติเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฉบับเดิมใช้เมื่อ พ.ศ. 2479 แต่ในปัจจุบันได้แก้ไข
       และปรับปรุงมาใช้ฉบับใหม่เมื่อ พ.ศ. อะไร
    1.    2479    2.    2501
    3.    2522    4.    2529
3.     ห้องน้ำต้องมีขนาดเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่าเท่าไร
    1.    1.5  ตารางเมตร    2.    1.20  ตารางเมตร
    3.    1.00  ตารางเมตร    4.    0.90  เมตร
4.     อาคารตามรายชื่อต่อไปนี้ ต้องเขียนแบบก่อสร้างให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 200
    1.    อาคารพาณิชย์    2.    อาคารเลี้ยงสัตว์
    3.    อาคารที่พักอาศัย    4.    โรงงานอุตสาหกรรม
5.     อาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่สร้างติดกับถนนสาธารณะต้องเว้นที่ว่างหน้าอาคารจากถนนสาธารณะ
    ประมาณกี่เมตร
    1.    10  เมตร    2.    9  เมตร
    3.    7  เมตร    4.    6  เมตร
6.     อาคารที่สร้างด้วยไม้ล้วน มุงหลังคาด้วยสังกะสี หรือกระเบื้องลอนคู่และอื่นๆ ทั่วไปสร้างได้สูงกี่ชั้น
    1.    3  ชั้นครึ่ง    2.    3  ชั้น
    3.    2  ชั้น    4.    1  ชั้นครึ่ง
7.     ความลาดของทางระบายน้ำจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำที่เป็นสาธารณะ ตามเทศบัญญัติกำหนดให้มี
    ความลาดประมาณเท่าไร
    1.    1  ต่อ  250    2.    1  ต่อ  200
    3.    1  ต่อ  150    4.    1  ต่อ  100
8.     เทศบัญญัติกำหนดให้อาคารประเภทอะไรต้องมีระบบกำจัดน้ำเสีย
    1.    โรงเรียน    2.    โรงภาพยนต์
    3.    ห้องอาคาร    4.    ภัตตาคาร


9.         เทศบัญญัติกำหนดอย่างไร สำหรับห้องพักอาศัยในอาคารต้องมีส่วนกว้างหรือยาวไม่ต่ำกว่าเท่าไร
        1.    ไม่ต่ำกว่า  4.00 เมตร    2.    ไม่ต่ำกว่า 3.50 เมตร
        3.    ไม่ต่ำกว่า  3  เมตร    4.    ไม่ต่ำกว่า  2.50 เมตร
10.         เทศบัญญัติได้กำหนดให้ผู้ออกแบบอาคารทั่วไปให้มีช่องประตูหน้าต่าง และทางระบายอากาศ
        สู่ภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าเท่าไร
         1.    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ห้อง    2.    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้อง
        3.    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ห้อง    4.    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ห้อง
11.         อาคารประเภทอะไร เทศบัญญัติยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
        1.    อาคารแผงลอย    2.    อาคารพิเศษ
        3.    อาคารชั่วคราว    4.    อาคารเลี้ยงสัตว์
12.         เทศบัญญัติกำหนดให้ ความกว้างของบันได ในอาคารสาธารณะกว้างเท่าไร
        1.    1.50  เมตร    2.    1.80  เมตร
        3.    1.90  เมตร    4.    2.00  เมตร
13.         อาคารสูงกี่ชั้นต้องสร้างให้มีบันไดหนีไฟ ตามที่เทศบัญญัติกำหนด
        1.    2  ชั้นอย่างต่ำ    2.    2 ชั้นครึ่งอย่างต่ำ
        3.    3  ชั้นขึ้นไป    4.    จำนวนกี่ชั้นก็ได้เพื่อความเหมาะสม
14.         เหล็กหล่อมีคุณสมบัติอย่างไร
        1.    ใช้เชื่อมได้ผลดี    2.    ใช้เชื่อมไม่ได้ผล
        3.    เหล็กที่มีแร่ธาตุอื่นเจือปนน้อย    4.    เหล็กที่เสริมด้วยคอนกรีตได้ดี    
15.         อาคารที่ปลูกชิดเขตที่ดินของผู้อื่น เทศบัญญัติกำหนดจะต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่าเท่าไร
        1.    1.80  เมตร    2.    1.90  เมตร
        3.    2.00  เมตร    4.    2.50  เมตร
16.         เทศบัญญัติกำหนดให้รั้ว หรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงจากระดับถนนได้ไม่น้อยกว่าเท่าไร
        1.    2.50  เมตร    2.    3.00  เมตร
        3.    3.50  เมตร    4.    4.00  เมตร
17.         ผนังกันไฟ คือผนังที่มีลักษณะอย่างไร
        1.    ผนังที่ทำด้วยวัตถุกันไฟและไม่มีช่องที่จะทำให้ไฟผ่านได้
        2.    ผนังกันด้านนอกของอาคารให้เป็นสัดส่วน
        3.    ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่นอิฐและฉาบปูน
        4.    ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป


18.         การขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ต้องใช้แบบจำนวนกี่ชุด
        1.    4  ชุด    2.    5  ชุด
        3.    6  ชุด    4.    7  ชุด    
19.         ความสูงของประตูและหน้าต่างในอาคาร เทศบัญญัติกำหนดให้สูงจากพื้นเท่าไร
        1.    1.80  เมตร    2.    1.90  เมตร
        3.    2.00  เมตร    4.    2.10  เมตร
20.         งานก่อสร้างอาคารที่มีความสูงมากๆ ควรใช้เครน (Crane) ขนส่งวัสดุประเภทใด
        1.    Overhead Crane                2.    Tower Crane
        3.    Gentry  Crane    4.    Truck Crane    
21.         น้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคารที่พักอาศัยเทศบัญญัติกำหนดให้พื้นรับน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม
        ต่อ 1 ตารางเมตร
        1.    150  กก./ตรม.                2.    200  กก./ตรม.
        3.    250  กก./ตรม.                4.    280  กก./ตรม.
22.         เหล็กเบา หมายถึงอะไร
        1.    เหล็กกลมกลวง    2.    เหล็กมีธาตุถ่านผสมอยู่มาก
        3.    เหล็กไม่เต็มขนาด    4.    เหล็กเต็มขนาด    
23.         การประกอบเหล็กเสริมคอนกรีต ไม่ควรต่อทาบเหล็กเสริมในคานบริเวณใด
        1.    เหล็กเสริมบริเวณกลางคาน            2.    เหล็กเสริมล่างบริเวณหัวเสา
        3.    เหล็กเสริมบนบริเวณหัวเสา            4.    เหล็กเสริมล่างบริเวณใกล้เสา
24.         การใช้เครื่องผสมคอนกรีต
        1.    ตั้งเครื่องให้ต่ำกว่านั่งร้านหรือแท่นยืนเล็กน้อย    
        2.    ตั้งไม่ให้สูงกว่านั่งร้านเพื่อสะดวกในการใส่วัสดุผสม
        3.    ตั้งไม่ให้เสมอกับนั่งร้านเพื่อสะดวกในการปรับมุมโม่
        4.    ตั้งไม่ให้ต่ำกว่ากระบะตวงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการใส่วัสดุผสม    
25.         ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ของเหล็กข้ออ้อย
        1.    O                        2.    K
        3.    RB                        4.    SD
26.         การตัดเหล็ก  “ของอมาตรฐาน” 180  ส่วนที่งอจะเป็นครึ่งวงกลม และต้องมีส่วนยื่นออกไปอีก
        อย่างน้อยเท่าไร
        1.    4  เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง    2.    6  เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก
        3.    6  ซม.    4.    4  ซม.    

27.         ข้อใดบ่งถึงขั้นและคุณภาพของเหล็ก
        1.    V- 16                    2.    U 200
        3.    SD  40                    4.    ST 30
28.         เกรียงไม้สำหรับฉาบปูนโดยทั่วๆ ไป ควรทำให้มีขนาดเท่ากับแผ่นฟองน้ำ ซึ่งมีขนาดดังนี้
        1.    4” x 12”    2.     5” x 12”
        3.    6” x 12”    4.    4” x 13”            
29.         ปูนเค็มเหลว ใช้ทำอะไร
        1.    ฉาบรองพื้นเพื่อให้แห้งเร็วและเกาะยึดติดแน่น
        2.    ใช้ทำเหลี่ยมเพื่อให้เหลี่ยมแข็งเร็ว
        3.    ฉาบผนังภายในเพื่อลดการแตกร้าว
        4.    ฉาบอุดรูรั่วต่างๆ เพื่อกันน้ำซึม
30.         Rammer  เหมาะสำหรับการใช้งานประเภทใด
        1.    ขนวัสดุก่อสร้าง    2.    ขุดเจาะดิน
        3.    กระทุ้งดินหรือทรายให้แน่น    4.    เขย่าปาดหน้าคอนกรีต
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
jaturong28 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
thankyou
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้