ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : อยากได้แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่การบริหารงานทั่วไป
aomkiko ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

อยากได้แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่การบริหารงานทั่วไป

แชร์กระทู้นี้

1.   ความต้องการหรือความจำเป็นข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

  ก. พึ่งตนเองได้ตามสัญชาตญาณของสัตว์โลก

  ข. ได้รับการตอบสนองด้านสังคมจิตวิทยา

  ค. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลัง

  ง. ได้รับการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน

ตอบ ก.  สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มี 4 ประการ คือ

 1) ความจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน

 2) ความจำเป็นต้องแบ่งงานกันทำตามความถนัด

3) ความจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองความต้องการทางชีวภาพและความต้องการทางด้านสังคมจิตวิทยา

4) ความจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นหลัง

2.  องค์ประกอบของ สังคม ข้อใดเป็นกลไกด้านคุณภาพ ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

  ก. มีพื้นที่อาณาเขตแน่นอน ข. มีการจัดระเบียบทางสังคม

 ค. มีประชากรหรือสมาชิกของสังคม ง.  มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม

 ตอบ ข. การจัดระเบียบทางสังคม สังคมจะต้องมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกัน

อย่างสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งที่ช่วยจัดระเบียบสังคม คือ บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms)  ได้แก่กฎหมายบ้านเมือง และจารีตประเพณีต่างๆ เป็นต้น

3.   ข้อใดอธิบาย ผิด ความจริงเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม

 ก. สมาชิกในสังคมมีเป้าหมายร่วมกัน ข. มีส่วนประกอบคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง

 ค. มีระเบียบกฎเกณฑ์เป็นแนวทางปฏิบัติ ง. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม

ตอบ ข. โครงสร้างทางสังคมจะต้องมีส่วนประกอบเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม

4.  รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของสมาชิก เช่น

 ความต้องการในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ นันทนาการ ฯลฯ คำอธิบายนี้หมายถึงข้อใด

 ก. สถาบันสังคม ข. บรรทัดฐานทางสังคม

 ค. การขัดเกลาทางสังคม ง. สถานภาพทางสังคม

ตอบ ก. สถาบันทางสังคม (Social Institution)  หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ร่วมกัน

ตัวอย่างเช่น สถาบันครอบครัวมีแบบแผนในการปฏิบัติที่สังคมยอมรับ คือ บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตรของตนด้วยความรัก เป็นต้น

5.  สิ่งที่เรียกว่า กลุ่มสังคม สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประการดังนี้ ยกเว้น ข้อใด

 ก. มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน 

 ข. มีกฎข้อบังคับและบทลงโทษเคร่งครัด

 ค. มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน

 ง. มีตำแหน่ง หน้าที่ และบทบาทแตกต่างกัน

 ตอบ ข. ลักษณะที่สำคัญของกลุ่มสังคม มีดังนี้

1) สมาชิกในกลุ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือมีการกระทำระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction)  หมายถึง สมาชิกมีการปฏิบัติต่อกัน เช่น พูดคุยกัน ทำงานร่วมกัน ฯลฯ

2) สมาชิกในกลุ่มมีตำแหน่งหน้าที่ และบทบาทแตกต่างกัน โดยมีแบบแผนพฤติกรรมของกลุ่มที่เรียกว่า วัฒนธรรมย่อย

3) สมาชิกในกลุ่มมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความรักความผูกพันซึ่งกันและกัน

4) สมาชิกในกลุ่มมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยกลุ่มสังคมนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกในกลุ่มได้ เช่น ชมรมผู้ปฏิบัติธรรมของวัดสวนแก้ว สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาความสุขสงบในชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ชมรมแห่งนี้จะต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้

6.   ข้อใด เป็นตัวอย่างของ กลุ่มสังคม

 ก. ฝูงชนที่มุงดูขบวนแห่นางสงกรานต์ ข. กลุ่มนักเรียนที่ยืนรอรถเมล์ข้างถนน

 ค. ลูกจ้างพนักงานในสำนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง  ง. กลุ่มวัยรุ่นเข้ามาชมการแสดงดนตรี

ตอบ ค. กลุ่มสังคม  (Social Group)  หมายถึง กลุ่มบุคคลที่สมาชิกในกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างมีระเบียบแบบแผน เป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสัญลักษณ์ และมี ความสนใจคล้ายๆ กัน จึงทำให้กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ

ตัวอย่างกลุ่มสังคม เช่น ข้าราชการในกระทรวงแห่งหนึ่ง สมาชิกสมาคมนิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สมาชิกมูลนิธิบำเพ็ญกุศลแห่งหนึ่ง หรือสมาชิกพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เป็นต้น

7.  ข้อใดถ้า ไม่มี ความหมายของ สถาบันสังคม ก็ยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

 ก. บรรทัดฐานทางสังคม ข. การยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม

 ค. สนองความต้องการต่างๆ ของสมาชิก ง. ความเชื่อและค่านิยมเป็นแบบแผนเดียวกัน

ตอบ ง. สถาบันทางสังคม (Social Institution)  มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ

1) กลุ่มสังคม สถาบันสังคมจะต้องมีกลุ่มสังคมต่างๆ ตัวอย่างเช่น สถาบันเศรษฐกิจจะต้องมีกลุ่มสังคมของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้ประกอบกิจการธนาคาร เป็นต้น

2) หน้าที่ สถาบันสังคมจะต้องมีหน้าที่หรือจุดมุ่งหมายในการสนองความต้องการของสังคมด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น สถาบันศาสนา ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจของสมาชิก

3) แบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกจะต้องปฏิบัติต่อกัน หมายถึง บรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ วิถีประชา จารีต และกฎหมาย ซึ่งสถาบันสังคมแต่ละแห่งย่อมมีบรรทัดฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน

4) สัญลักษณ์และค่านิยม เป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกเกิดความรัก ความศรัทธาต่อสถาบันสังคมแห่งนั้น

8.   สถาบันสังคมข้อใด เป็นสถาบันสังคมพื้นฐานในการสร้างสมาชิกในสังคมที่มีคุณภาพ

 ก. สถาบันครอบครัว ข. สถาบันการศึกษา

 ค. สถาบันศาสนา ง. สถาบันทางปกครอง

ตอบ ก. สถาบันครอบครัว หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและ

เครือญาติ เช่น การสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตร การหย่าร้าง ฯลฯ

9.  ลักษณะโครงสร้างทางสังคมข้อใด ถ้าสังคมใด ไม่มี สังคมนั้นจะหยุดนิ่งไม่อาจพัฒนาให้ก้าวหน้าได้

 ก. กลุ่มคนที่ติดต่อสัมพันธ์กัน ข. กฎเกณฑ์หรือแบบแผนในการปฏิบัติ

 ค. วัตถุประสงค์ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ง. การเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ตอบ ง. ลักษณะโครงสร้างทางสังคม ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น จำนวนประชากรในสังคมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆให้เหมาะสม เป็นต้น จะทำให้สังคมไม่อาจพัฒนาให้ก้าวหน้าได้

10.  โครงสร้างทางสังคม มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

 ก. ระเบียบกฎเกณฑ์ที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติ 

 ข. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพ บทบาท กับสถาบันสังคม

 ค. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในสังคม ซึ่งเชื่อมโยงด้วยบรรทัดฐานทางสังคม

 ง. สิ่งที่มารวมกันเป็นสังคมมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยรัฐบาล ประชาชน และวัฒนธรรม

ตอบ ค. โครงสร้างทางสังคม (Social Structure)  หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยมี บรรทัดฐานทางสังคม เป็นที่เชื่อมโยงผูกพันระหว่างกัน

11.  จุดมุ่งหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับรัฐบาลมุ่งเน้นข้อใด

 ก. พัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก 

 ข. ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ลดปริมาณการส่งออก

 ค. การพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง

 ง. พึ่งตนเองให้มาก โดยอาศัยเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย

ตอบ ค. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1) การประหยัด ใช้จ่ายกินอยู่พอประมาณ ไม่ฟุ้งเฟ้อ และหมั่นเก็บออม

2) ประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกง ไม่ยกย่องผู้มีอำนาจที่ร่ำรวยจากอาชีพทุจริต

3) การไม่แก่งแย่งผลประโยชน์ แข่งขัน หรือเบียดเบียนผู้อื่น

4) หารายได้เพิ่มพูน ใช้เวลาว่างแสวงหารายได้เสริม เพื่อความมั่นคงของครอบครัว

5) ละเว้นไม่กระทำความชั่ว หลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งปวง

12.  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตสำนึกข้อใดก่อนเป็น

 อันดับแรก

 ก. การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ข. ความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

 ค. ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ง. การร่วมมือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

ตอบ ก. การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรก

13.  การพัฒนาและบริหารประเทศของรัฐบาลให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 หมายความว่าอย่างไร

 ก. ไม่พึ่งต่างประเทศ ข.  ค่อยเป็นค่อยไป ตามฐานะของประเทศ

 ค. ความไม่ประมาทและพึ่งตนเองให้มากขึ้น  ง. รู้จักประมาณตนและมีเหตุผล

ตอบ ค. การบริหารและการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสรุปได้

5  ประการ ดังนี้

1) ทางสายกลาง คือ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้น

2) ความสมดุลและความยั่งยืน คือ เน้นพัฒนาในลักษณะองค์รวม มีความพอดี มีความหลากหลายและกลมกลืน และเกิดผลยั่งยืน

3) ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล คือ ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักพอ และมีเหตุผล

4) ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก คือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถป้องกันหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

5) เสริมสร้างคุณภาพคน คือ มีจิตสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีไมตรีจิตเอื้ออาทรต่อกัน

ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีวินัย มีความพากเพียร พัฒนาความรู้และปัญญาอย่างต่อเนื่อง

14.  ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดจากเหตุการณ์สำคัญข้อใด

 ก. วิกฤตเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2540 

 ข. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

 ค. พระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2540

 ง. การกู้เงินจากกองทุน IMF พ.ศ. 2541

ตอบ ก. ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดในปี พ.ศ. 2540

 

 

15.  การเสริมสร้างคุณภาพคน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ต้องสร้างให้เกิดคุณธรรมดังต่อไปนี้  แต่ยกเว้นข้อใด

 ก. ความซื่อสัตย์สุจริต ข. พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง

 ค. อดทน มีความเพียร ง. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตามกระแสวัตถุนิยม

ตอบ ง. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตามกระแสวัตถุนิยม ไม่ถือเป็นการเสริมสร้างคุณภาพคน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

16.  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาควรปฏิบัติข้อใดก่อน  จึงจะสอดคล้องกับปรัชญาข้อนี้

 ก. การประกอบสัมมาอาชีวะ ข. การไม่แก่งแย่งผลประโยชน์กับผู้อื่น

 ค. การละเว้นไม่กระทำความชั่วทั้งปวง ง. การประหยัดและหารายได้ระหว่างศึกษา

 ตอบ ง. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนในแนวทาง

 สายกลาง การประหยัดและหารายได้ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น ถือเป็นการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ

 พอเพียงในแนวทางที่ถูกต้อง

17.  ขั้นตอนของ ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ ในขั้นที่สองหรือขั้นก้าวหน้า เกษตรกรจะรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการอย่างไร

  ก. ขยายการผลิต การตลาด และพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น 

 ข. ส่งผลผลิตเข้าสู่ตลาดโดยตรงไม่พึ่งพาพ่อค้าคนกลาง

 ค. หาแหล่งเงินกู้จากภายนอกมาสนับสนุนกิจการ

 ง. จดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร

ตอบ ก. หลักการของทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง หรือขั้นก้าวหน้า

ในขั้นนี้ เกษตรกรจะพัฒนาไปสู่ขั้นพอกินพอใช้ ให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีรายได้จากการผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มชมรมหรือสหกรณ์ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันในด้านต่างๆ ดังนี้

1) ด้านการตลาด โดยร่วมมือสร้างอำนาจต่อรองในการจำหน่ายผลผลิตให้ได้ราคาดี

2) ด้านการผลิต อาศัยแรงงานเพื่อนบ้านในรูปแบบ ลงแขก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

3) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ สวัสดิการ และสังคม มีการจัดตั้งกองทุนไว้ให้สมาชิกกู้เงินในยามฉุกเฉิน และ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุต่างๆ

18.  พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง หมายถึงข้อใด

 ก. กินดีอยู่ดีตามมาตรฐานคุณภาพชีวิต 

 ข. ใช้จ่ายเพื่อแสวงหาความสุขตามฐานะ

 ค. กินอยู่พอประมาณ ไม่บริโภคสิ่งนอกเหนือปัจจัยสี่

 ง. กินอยู่อย่างง่ายๆ ตามสมควรแก่อัตภาพ

ตอบ ง. พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง หมายถึง กินอยู่อย่างง่ายๆ ตามสมควรแก่อัตภาพ

19.  ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำรัสที่ได้ทรงทดลองในที่ดินส่วนพระองค์ ณ วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เน้นการพัฒนาเกษตรกรในด้านใด

 ก. การแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า

 ข. การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 ค. การเกษตรแบบผสมผสานโดยไม่พึ่งพาเทคโนโลยี

 ง. การจัดสรรที่ดินในระบบสหกรณ์นิคม

ตอบ ข. แนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองในที่ดินส่วนพระองค์ ณ วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จำนวน 15 ไร่ (ตามเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรไทยถือครองที่ดินประมาณครอบครัวละ 15 ไร่) โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้

1) ส่วนที่หนึ่ง ขุดสระน้ำไว้ใช้สอยและเลี้ยงสัตว์น้ำ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด

2) ส่วนที่สองใช้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นนาข้าว ร้อยละ 30 และปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชสวน ร้อยละ 30

3) ส่วนที่สาม ใช้ปลูกบ้าน โรงนาเก็บอุปกรณ์การเกษตร ถนน คูคลอง ปลูกพืชสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ หมู เป็ด ไก่ ร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด

20.  การแบ่งที่ดิน 15 ไร่ เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ตาม ทฤษฎีใหม่ ร้อยละ 10 หมายถึงที่อยู่อาศัย ส่วนร้อยละ 30 อีก 3 กลุ่ม หมายถึงพื้นที่ดังต่อไปนี้ แต่ข้อใดไม่ถูกต้อง

 ก. สัตว์น้ำใช้เพาะปลูกในฤดูแล้งและเลี้ยงปลา ข. ทำนาข้าวในฤดูฝน

 ค. ปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชสวน  ง. เลี้ยงสุกรและสัตว์ปลีก

ตอบ ง. เลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก มิใช่การแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ตาม ทฤษฎีใหม่

21.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาโดยมีแนวทาง อย่างไร

 ก. การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่

  ข. การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่

 ค. การขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่

 ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีสาระสำคัญคือ มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาโดยมีแนวทางที่สำคัญคือ การคุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ระบบการตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

22.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้ประชาชนได้รับการศึกษาฟรีกี่ปี

 ก. 12 ปี ข. 13 ปี

 ค. 14 ปี ง. 16 ปี

ตอบ ก. ตามมาตรา 49 แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้บุคคลได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

23.  การแต่งตั้งข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้อใดกล่าว ถูกต้อง

 ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง 

 ข. ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนในท้องถิ่น

 ค. ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่น

 ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ค. การแต่งตั้งข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปตามความเหมาะสม และความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น โดยการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีมาตรฐาน สอดคล้องกัน และอาจได้รับการพัฒนาร่วมกันหรือสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นด้วยกันได้ รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นก่อน

24.  รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกี่คน

 ก. 75 คน ข. 76 คน

 ค. 80 คน ง. 85 คน

ตอบ ข. ุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (76 คน) และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้น (150 คน) หักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก การเลือกตั้ง

25.  รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) มีจำนวนเท่าใด

 ก. 400 คน ข. 450 คน

 ค. 480 คน ง. 500 คน

ตอบ ค. สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

400 คน และแบบสัดส่วน 80 คน

26.  ประชาชนจำนวนกี่คนมีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 ก. 10,000 คน ข. 20,000 คน 

 ค. 30,000 คน ง. 50,000 คน 

ตอบ ข. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งได้

27.  บุคคลที่ไม่มีรายได้ แต่มีสิทธิได้รับสวัสดิการจากรัฐ บุคคลนั้นต้องมีอายุตามข้อใด

 ก. เกิน 50 ปี ข. เกิน 55 ปี

 ค. เกิน 60 ปี  ง. เกิน 70 ปี

ตอบ ค. บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพมีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

28.  รัฐธรรมนูญจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล โดยให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งอยู่ได้ไม่เกินกี่ปี

 ก. 4 ปี ข. 8 ปี

 ค. 12 ปี ง. 16 ปี

ตอบ ข. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน และนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 8 ปี ไม่ได้

29.  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินการใยเรื่องการจัดทำงบประมาณต่อบุคคลตามข้อใด

 ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด

 ค. ท้องถิ่นจังหวัด ง. ประชาชน

ตอบ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

30.  สมาชิกวุฒิสภามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

 ก. 4 ปี ข. 5 ปี

 ค. 6 ปี ง. 7 ปี

ตอบ ค. สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หรือวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลสรรหาแล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน

1 วาระไม่ได้

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


aomkiko ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
สั่งซื้อยังงัยคะ
aomkiko ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ช่ีวยหนูทีต้องทำงัยบ้างคะ
yingsiripun ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
bus4170 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณมากจีะ
jaturong28 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
thankyou
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้