ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

แชร์กระทู้นี้

ประกาศ เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไปในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ รวม 6 ตำแหน่ง 1500 อัตรา <รับออนไลน์> (19-23 ก.ย.54)
 


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไปในตำแหน่งนักวิชาการ ป่าไม้ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เข้าหน้าที่การเงินและบัญชี และนายสัตว์แพทย์

 

   กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



  • ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไปในตำแหน่งนักวิชาการ ป่าไม้ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เข้าหน้าที่การเงินและบัญชี และนายสัตว์แพทย์


    คลิกที่นี่เพื่ออ่าน ประกาศกรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไปในตำแหน่งนักวิชาการ ป่าไม้ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เข้าหน้าที่การเงินและบัญชี และนายสัตว์แพทย์
     

    แนวข้อสอบ พ.ร.บ.  ระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ.  2551

    1.       ข้าราชการพลเรือน  ตามกฎหมายใหม่  มีกี่ประเภท  ได้แก่
    ก. 
    2  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  และข้าราชการพลเรือนในพระองค์
    ข. 
    3  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
    ค.   
    4 ประเภท  คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษและข้าราชการตุลาการ
    ง. 
    5  ประเภท คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ  ข้าราชการตุลาการ  และข้าราชการอัยการ
    ตอบ  ก. 
    2  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  และข้าราชการพลเรือนในพระองค์

    2.       นายนิคม  อาการดี  รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตรวจเงินแผ่นดินอยู่ที่จังหวัดสกลนคร  นายอาคมเป็นข้าราชการประเภทใด
    ก.   ข้าราชการพลเรือนสามัญ
    ข.  ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
    ค.  ข้าราชการอัยการ
    ง.  ข้าราชการพลเรือสามัญ
    ตอบ  ก.   ข้าราชการพลเรือนสามัญ
     

    3.       ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ  เป็นข้าราชการประเภทใด
    ก.  ข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
    ข.  ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
    ค.  ข้าราชการกระทรวงการคลัง
    ง.  ข้าราชการพลเรือนสามัญ
    ตอบ  ง.  ข้าราชการพลเรือนสามัญ
     

    4.       ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
    ก.  ข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศ
    ข.  ข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
    ค.  ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
    ง.  ข้าราชการอัยการ
    ตอบ  ง.  ข้าราชการอัยการ
     

    5.       ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
    ก.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
    ข.  ข้าราชการปกครอง
    ค.  ข้าราชการตำรวจ
    ง.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  ก.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
     

    6.       ตำแหน่งใดเทียบเท่าตำแหน่ง “อธิบดี”
    ก.  เลขนุการ ก.พ.                                                                ข.  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
    ค.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี                                               ง.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
     

    7.       หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
    ก.  สำนักข่าวกรองแห่งชาติ                                              ข.  สำนักงบประมาณ
    ค.  สำนักคณะกรรมการการกฤษฎีกา                              ง.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
     

    8.       ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.  2551 คือ
    ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                 ข.  เลขาธิการ ก.พ.
    ค.  รองนายกรัฐมนตรี                                                          ง.  ประธานกรรมการ ก.พ.
    ตอบ  ก.  นายกรัฐมนตรี

    9.       ก.พ.  ประกอบด้วยกรรมการไม่เกินกี่คน
    ก. 
    3  คน                                                                                 ข.  5  คน
    ค. 
    7  คน                                                                                 ง.  12  คน
    ตอบ  ง. 
    12  คน

    10.   ผู้ใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ก.พ.
    ก.  รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
    ข.  รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
    ค.  รัฐมนตรีสำนักงานนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
    ง.  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    ตอบ  ก.  รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
     

    11.   กรรมการ ก.พ.  ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
    ก.  
    2  ปี                                                                                   ข.  3  ปี
    ค. 
    4  ปี                                                                                    ง.  5 ปี
    ตอบ  ข. 
    3  ปี

    12.   เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดต้องดำเนินการแต่งตั้งภายในกี่วัน
    ก. 
    30  วัน                                                                               ข.  15 วัน
    ค. 
    20 วัน                                                                                ง.  45 วัน
    ตอบ  ก. 
    30  วัน                                                                    

    13.   หากกรรมการ ก.พ. ว่างลงจะไม่แต่งตั้งกรรมการ ในกรณีใด
    ก.  วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง
    60 วัน                    ข.  วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 90วัน
    ค.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 
    120  วัน                        ง.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง  180 วัน
    ตอบ  ง.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 
    180 วัน

    14.   เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานจาก ก.พ. ในกรณีที่กระทรวงทบวงกรมไม่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน  และนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงาน ก.พ.  จะต้องดำเนินการอย่างไร
    ก.  ทำตามความเห็นของนายกรัฐมนตรี
    ข.  ยืนยันให้นายกรับมนตรีทบทวนใหม่
    ค.  ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
    ง.  เรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อขอถอนเรื่องกลับมาพิจารณาข้อมูลใหม่
    ตอบ  ค.  ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
     

    15.   หน่วยงานใดที่มีหน้าที่รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก  หรือจัดการสวัสดิการปรับปรุงเงินเดือนสำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม
    ก.  กรมบัญชีกลาง
    ข.  ก.พ.
    ค.  สำนักงบประมาณ
    ง.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    ตอบ  ข.  ก.พ.
     

    16.   การประชุม ก.พ.  ต้องมีจำนวนกรรมการประชุมจำนวนเท่าใดของจำนวนกรรมการทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม
    ก.   ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่                                                     ข.  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
    ค.   ไม่น้อยกว่าสามในสี่                                                      ง.  ไม่น้อยกว่าสองในสาม
    ตอบ  ข.  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
     

    17.   คณะกรรมการิสามัญ ซึ่งตั้งขึ้นโดย ก.พ.  มีหน้าที่อย่างไร
    ก.  เพื่อทำการใดๆแทน ก.พ. ได้                                       
    ข.  พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย
    ค.  พิจารณาอุทธรณ์ หรือการร้องทุกข์                             
    ง.  เพื่อการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการพลเรือน
    ตอบ  ก.  เพื่อทำการใดๆแทน ก.พ. ได้
     

    18.   ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการสำนักงาน ก.พ. คือ
    ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                 ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    ค.  เลขาธิการ ก.พ.                                                                ง.  เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี
    ตอบ  ค.  เลขาธิการ ก.พ.
     

    19.   ผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่บริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อผู้ใด
    ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                 ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    ค.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                          ง.  รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย
    ตอบ  ก.  นายกรัฐมนตรี
     

    20.   อนุกรรมการกระทรวง  ประกอบด้วยผู้ใดบ้าง
    ก.  รัฐมนตรีเจ้าสังกัด  และปลัดกระทรวง
    ข.  อนุกรรมการผู้แทน  ก.พ.  และผู้ทรงคุณวุฒิ
    ค.  อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ
    ง.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
     

    21.   ส่วนราชการใด ที่มิได้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
    ก.  สำนักงาน ก.พ.
    ข.  สำนักงานสถิติแห่งชาติ
    ค.  สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ
    ง.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    ตอบ  ค.  สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ       

    22.   อนุกรรมการ ก.พ. สามัญ มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
    ก. 
    3 ประเภท คือ อ.ก.พ.  กระทรวงทบวง  อ.ก.พ.  กรม  และ อ.ก.พ.  จังหวัด
    ข. 
    4 ประเภท คือ อ.ก.พ.  กระทรวงทบวง  อ.ก.พ.  กรม  จังหวัด  และ อ.ก.พ.  ส่วนราชการอื่น
    ค. 
    5 ประเภท คือ   อ.ก.พ.  กระทรวงทบวง  อ.ก.พ.  ทบวง กรม อ.ก.พ.  ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม  และ อ.ก.พ. จังหวัด
    ง. 
    5 ประเภท  คือ อ.ก.พ. กระทรวง  อ.ก.พ.  ทยวง  อ.ก.พ.  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  อ.ก.พ.  กรม  อ.ก.พ.  สำนักนายกรัฐมนตรี
    ตอบ  ข. 
    4 ประเภท คือ อ.ก.พ.  กระทรวงทบวง  อ.ก.พ.  กรม  จังหวัด  และ อ.ก.พ.  ส่วนราชการอื่น

    23.   การตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเมื่อใด
    ก.  การออกจากราชการ                                                       ข.  การดำเนินการทางวินัย
    ค.  การอุทธรณ์                                                                      ง.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
     

    24.   อ.ก.พ. จังหวัด มีผู้ใดเป็นประธาน
    ก.  นายกเทศมนตรี                                                               ข.  ประธานสภาจังหวัด
    ค.  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                                         ง.  ปลัดจังหวัด
    ตอบ  ค.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
     

    25.   ประธาน อ.ก.พ.  กรม คือใคร
    ก.  ปลัดกระทรวง                                                                  ข.  รัฐมนตรีว่าการทบวง
    ค.  อธิบดี                                                                                 ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
    ตอบ  ค.  อธิบดี
     

    26.   บุคคลในข้อใดไม่สามารถเป็นประธาน อ.ก.พ. สำนักนายรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนได้
    ก.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                              ข.  นายกรัฐมนตรี
    ค.  รองนายกรัฐมนตรี                                                          ง.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ตอบ  ก.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
     

    27.   ส่วนราชการใดที่มี อ.ก.พ. เดียว ทำหน้าที่ทั้ง อ.ก.พ. กระทรวงและ อ.ก.พ. กรม ด้วย
    ก.  ทบวงมหาวิทยาลัย                                                          ข.  ราชบัณฑิตยสถาน
    ค.  สำนักพระราชวัง                                                            ง.  สำนักงานอัยการสูงสุด
    ตอบ  ข.  ราชบัณฑิตยสถาน
     

    28.   ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง   อยู่ในบังคับบัญชาของใคร
    ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                 ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                           ง.  รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
    ตอบ  ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
     

    29.   พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ไว้เมื่อใด
    ก. 
    29 มีนาคม 2551                                                              ข.  23 มกราคม 2551
    ค.  28 มิถุนายน  2551                                                          ง.  27  เมษายน 2551
    ตอบ  ค.  28 มิถุนายน  2551

    30.   ใครเป็นผู้รับผิดชอบกำหนดนโยบายและระบบบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติราชการในจังหวัด
    ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                                         ข.  อ.ก.พ. จังหวัด
    ค.  อ.ก.พ. กรมการปกครอง                                                 ง.  สภาจังหวัด
    ตอบ  ข.  อ.ก.พ. จังหวัด
     

    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ใหม่ล่าสุด

    รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 
     รายละเอียดประกอบด้วย

    - สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547

    - เกี่ยวกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    - แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ. 2551

    - แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ. 2551

    ข้อสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

    - ตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้

    - ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

    - ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ

    - ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

    - ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ

    สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724  

    ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
    สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
    กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
    เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

     บิ๊กซีขอนแก่
    decho pragay  ออมทรัพย์
    โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ 
    decho.by@hotmail.com
    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
    admin ออฟไลน์
    ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
    รายละเอียดผู้ใช้ 
    แนวข้อสอบนักวิชาการป่าไม้  รวม 80 ข้อ
    1.    ข้อใดคือหลักในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
    ก.    การใช้กฎหมายควบคุม
    ข.    การสงวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
    ค.    การเพาะพันธุ์เพิ่ม
    ง.    ถูกทุกข้อ
    ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
    การอนุรักษสัตว์ป่า
        สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถทำให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นได้  แต่ถ้าหากสัตว์ป่าชนิดใดสูญพันธุ์ไปแล้ว  จะไม่สามารถสร้างพันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้นขึ้นมาได้อีก  การอนุรักษ์สัตว์จึงควรมีหลักดังนี้
    1.    การใช้กฎหมายควบคุม
    2.    การสงวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
    3.    การเพาะพันธุ์เพิ่ม
    4.    การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
    5.    การใช้ประโยชน์จากสัตว์ตรงตามหลักการอนุรัก์ทรัพยากร
    2.    ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
    ก.    1  ประเภท  ได้แก่  ประโยชน์เฉพาะส่วน
    ข.    2  ประเภท  ได้แก่  ประโยชน์ทางตรง  และประโยชน์ทางอ้อม
    ค.    3  ประเภท  ได้แก่  ประโยชน์ทางตรง  ประโยชน์ทางอ้อม  และประโยชน์เฉพาะส่วน
    ง.    4  ประเภท  ได้แก่  ประโยชน์ทางตรง  ประโยชน์ทางอ้อม  ประโยชน์บนดิน  และประโยชน์ผิวดิน
    ตอบ    ข.  2  ประเภท  ได้แก่  ประโยชน์ทางตรง  และประโยชน์ทางอ้อม
        ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
    1.    ประโยชน์ทางตรง  เช่น  การนำไม้มาสร้างบ้านและใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ (กระดาษ  เฟอร์นิเจอร์)  การนำส่วนต่างๆ ของพืชมาเป็นอาหาร (ผล  ใบ  ราก)  การนำไม้บางชนิดมาสกัดหรือทำยารักษาโรคต่างๆ  นอกจากนี้ยังนำไม้มาเป็นวัตถุดิบในการทำเชือก (เถาวัลย์)  เป็นต้น
    2.    ประโยชน์ทางอ้อม  เช่น  ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร  ช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ลดภาวะโลกร้อนเป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้  ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย  นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดินด้วย
    3.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ
    ก.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว
    ข.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาค้อ
    ค.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหัวคู
    ง.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์
    ตอบ    ค.  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหัวคู
        เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองแวง  จังหวัดชัยภูมิ
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก  จังหวัดบุรีรัมย์
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระโดง  จังหวัดบุรีรัมย์
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหัวคู  จังหวัดอุดรธานี
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขลงหลง  จังหวัดหนองคาย
    -    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว  จังหวัดกาฬสินธุ์
    4.    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขลงหลงอยู่ในจังหวัดอะไรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ก.    จังหวัดหนองคาย
    ข.    จังหวัดอุดรธานี
    ค.    จังหวัดชัยภูมิ
    ง.    จังหวัดบุรีรัมย์
    ตอบ    ก.  จังหวัดหนองคาย
        ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
    5.    ข้อใดคือประโยชน์ของป่าแดง
    ก.    เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของละอง  หรือละมั่ง
    ข.    เป็นที่หลบซ่อนคุ้มกันภัย
    ค.    ช่วยรักษาต้นน้ำลำธารและดุลย์ธรรมชาติ
    ง.    เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง
    ตอบ    ก.  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของละอง  หรือละมั่ง
        แม้ว่าป่าแดงจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ผลัดใบเป็นส่วนใหญ่และมีไฟป่าหน้าแล้ง  จึงให้ประโยชน์ในแง่ของการรักษาต้นน้ำลำธารไม่ดีเท่าที่ควร  แต่ป่าแดงก็สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่สัตว์ป่าอย่างยิ่ง  และเป็นแหล่งที่อยู่อาสัยสำคัญของละองหรือละมั่ง  เนื้อทราย  เก้ง  กวาง  วัวแดง  กระต่ายป่า  และนกป่าหลายชนิด  เช่น  นกแก้ว  นกขุนทอง  และนกหัวขวานชนิดต่างๆ
    6.    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 1 คือที่ใด
    ก.    ห้วยทุ่งจ๊อ  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
    ข.    อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน
    ค.    แม่ตาช้าง  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย
    ง.    ดอยมูเซอ  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก
    ตอบ    ก.  ห้วยทุ่งจ๊อ  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
    การดำเนินงานสนองพระราชดำริ
        ในการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรมมีหลานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินงานสนองพระราชดำริด้วยวิธีการต่างๆ กัน  ได้แก่  การอนุรักษ์ป่า  การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยทางพืชร่วมกันการก่อสร้างคันดินหรือสร้างขั้นบันได  รวมทั้งวิธีการก่อสร้างฝายปิดกั้นทางน้ำในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร  ดังต่อไปนี้
        กรมป่าไม้ได้จัดตั้งและดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นน้ำตามแนวพระราชดำเริหลายหน่วยกระจายอยู่ตามท้องที่จังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือมีการปลูกเสริมป่าไม้เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำลำธารในบริเวณที่เสื่อมโทรมและสนองพระราชดำริในการจัดให้ชาวไทยภูเขาได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านพัฒนาชาวเขา  โดยมีที่ดินถาวรสำหรับทำมาหากินเพื่อป้องกันและลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้พื้นที่ทำไร่เลื่อนลอย  ในพื้นที่จัดสรรให้เพาะปลูกเหล่านี้มีการปรับพื้นที่เป็นนาขั้นบันไดเพื่อปลูกข้าวหรือก่อสร้างคันดินชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่ามาตามผิวดิน  แล้วใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจอันเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างถูกต้องตามหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  เช่น
    -    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 1  ห้วยทุ่งจ๊อ  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
    -    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 27  อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน
    -    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 29  แม่ตาช้าง  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย
    -    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 32  ดอยมูเซอ  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก
    -    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 34  ขุนงาว  อำเภองาว  จังหวัดลำปาง
    7.    โครงการพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 29 คือที่ใด
    ก.    ห้วยทุ่งจ๊อ  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
    ข.    อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน
    ค.    แม่ตาช้าง  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย
    ง.    ดอยมูเซอ  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก
    ตอบ    ค.  แม่ตาช้าง  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย
        ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
    8.    บุคคลใดเป็นผู้รักษาการพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
    ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ข.    ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ง.    ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ตอบ    ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
        มาตรา 5  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้อำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้


    9.    ป่าเบญจพรรณมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
    ก.    ป่าผลัดใบสามฤดู
    ข.    ป่าผลัดใบผสม
    ค.    ป่าผลัดใบลูกผสม
    ง.    ไม่มีข้อใดถูก
    ตอบ    ข.  ป่าผลัดใบผสม
    ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
        บางครั้งเราเรียกป่าเบญจพรรณว่า “ป่าผลัดใบผสม”  เนื่องจากเป็นป่าที่มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มากและส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบ  แม้ว่าป่าเบญจพรรณจะมีลักษณะค่อนข้างโปร่งในหน้าแล้งและเกิดไฟป่าลุกไหม้เช่นเกียวกับป่าแดง  แต่โดยที่ป่าชนิดนี้มักจะเกิดตามเนินเขา  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหน้าดินลึกและมีความอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณป่าแดง  ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่จึงมีขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด  ทำให้ป่าดูแน่นทึบและเขียวชอุ่มในฤดูฝนดูไม่แตกต่างกับป่าดงดิบ
    10.    ป่าเบญจพรรณมีลักษณะคล้ายคลึงกับป่าประเภทใด
    ก.    ป่าชายเลน
    ข.    ป่าดงดิบเขา
    ค.    ป่าดงดิบ
    ง.    ป่าแดง
    ตอบ    ค.  ป่าดงดิบ
        ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
    11.    ผู้ที่ฝ่าฝืนนำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ  จะต้องระวางโทษตามข้อใด
    ก.    ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
    ข.    ปรับไม่เกินสองพันบาท
    ค.    จำคุกไม่เกินสามเดือน
    ง.    จำคุกไม่เกินสี่เดือน
    ตอบ    ก.  ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
        มาตรา 16  ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ  ห้ามมิให้บุคคลใด
    (6)    ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก
    (7)    เก็บหา  นำออกไป  ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย  หรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งกล้วยไม้  น้ำผึ้ง  ครั่ง  ถ่านไม้  เปลือกไม้  หรือมูลค้างคาว
    (9)    นำยานพาหนะเข้าออก  หรือชขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
    (10)    นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
    (11)    นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป
        มาตรา 25  ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 16 (6)  (7)  (9)  (10)  (11)  มาตรา 17  หรือ มาตรา 18  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
    12.    ข้อใดต่อไปนี้คือข้อห้ามภายในอุทยานแห่งชาติ
    ก.    ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก
    ข.    ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง
    ค.    เข้าไปดำเนินกิจการใดๆ เพื่อหาผลประโยชน์
    ง.    ถูกทุกข้อ
    ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
        มาตรา 16  ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ  ห้ามมิให้บุคคลใด
    (1)    ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน  รวมตลอดถึงก่อสร้าง  แผ้วถาง  หรือเผาป่า
    (2)    ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก
    (3)    ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง
    (4)    ส่งเสียงอือฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวน  หรือเป็นที่เดือนร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์
    (5)    เข้าไปดำเนินกิจการใดๆ เพื่อหาผลประโยชน์เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
    (6)    นำยานพาหนะเข้าออก  หรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
    ฯลฯ
    13.    วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารคือ
    ก.    การอนุรักษ์ป่าไม้
    ข.    การอนุรักษ์ดิน
    ค.    การอนุรักษ์น้ำ
    ง.    ถูกทุกข้อ
    ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
    วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
        การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร  หมายถึง  การใช้  การดูแลรักษาและปรับปรุงพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ  ได้แก่  ป่าไม้  ดิน  และน้ำ  ด้วยวิธิการที่เหมาะสมโดยให้มีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ  แต่น้อยแล้วได้รับประโยชน์คุ้มค่าอีกทั้งยังรวมถึงการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างซึ่งถูกทำลายให้มีคุณภาพดีดังเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย  ถ้าพบว่าบริเวณใดของพื้นที่ต้นน้ำลำธารมีความเสื่อมโทรมเกิดขึ้นจะต้องรีบดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเหล่านั้นให้คืนสภาพโดยเร็วที่สุดเสมอ  วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร  โดยทั่วไปประกอบด้วยการอนุรักษ์ป่าไม้ร่วมกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ
    14.    ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเพียงฉบับเดียวคือ
    ก.    พระราชบัญญัติคุ้มครองช้างป่า พ.ศ. 2504
    ข.    พระราชบัญญัติการรักษาช้างป่า ร.ศ. 119
    ค.    พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ร.ศ. 119
    ง.    พระราชบัญญัติการรักษาสมดุลธรรมชาติ พ.ศ. 2504
    ตอบ    ข.  พระราชบัญญัติการรักษาช้างป่า ร.ศ.119
    พ.ศ. 2443 - ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเพียงฉบับเดียว  คือ  พระราชบัญญัติการรักษาช้างป่า ร.ศ.119  แต่กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเพื่อรักษาช้างป่าอย่างเดียว
    -    ในสมัยนั้นการล่าสัตว์ของชาวชนบทถือเป็นเรื่องปกติ
    -    คนเมือง  การล่าสัตว์เพื่อเอาเขา  หรือหนัง  ถือเป็นเกมกีฬาชนิดหนึ่ง
    15.    การสัตว์ของคนประเภทใด  เป็นการล่าสัตว์ถือเป็นเกมกีฬาชนิดหนึ่ง
    ก.    ชาวชนบท
    ข.    คนเมือง
    ค.    คนชั้นสูง
    ง.    นักการเมือง
    ตอบ    ข.  คนเมือง
        ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
    16.    อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งห้ามการค้าชนิดสัตว์และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์  มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
    ก.    CIWFF
    ข.    CISWF
    ค.    CITES
    ง.    CIESW
    ตอบ    ค.  CITES
        นอกจากประเทศไทยจะได้มีการอนุรักษ์พื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  และมีมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าแล้ว  ยังได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endanger Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ที่เป็นความร่วมมือของสมาชิกในการที่จะร่วมกันควบคุมและป้องกันการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ  ตลอดจนเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาความหลากหมายทางชีวภาพและอนุสัญญา RAMSAR ว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในการอนุรักษ์ชนิดและชนิดถิ่นที่อยู่อาศัยและสัตว์ป่าเหล่านั้น
    17.    ป่าประเภทใดที่มีไฟป่าเป็นประจำ
    ก.    ป่าแดง
    ข.    ป่าเบญจพรรณ
    ค.    ป่าดงดิบ
    ง.    ป่าชายเลน
    ตอบ    ก.  ป่าแดง
        ป่าแดง  ป่าแพ  หรือป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest)  พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ  ลักษณะเป็นป่าโปร่ง  มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง  ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง  ฤดูแล้งจะผลัดใบและมีไฟป่าเป็นประจำ  ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ  แต่อาจแคบกว่าเล็กน้อยทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง  มีปรากฎตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย  ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนใหญ่ปรากฎสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ  ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งจัด  กักเก็บน้ำได้แล้ว  เช่น  บนสันเนิน  พื้นที่ราบเป็นทรายจัดหรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น  ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร
    18.    หลักวิชาการในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้คือ
    ก.    พื้นที่ป่าอนุรักษ์
    ข.    พื้นที่ป่าสงวน
    ค.    พื้นที่ป่าเพาะพันธุ์
    ง.    ถูกทุกข้อ
    ตอบ    ก.  พื้นที่ป่าอนุรักษ์
    การจัดการทรัพยากรป่าไม้
        จากการที่พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างมาก  ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนานัปการและผลิตผลป่าไม้ลดลง  ในขณะที่ความต้องการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าอย่างจริงจัง  โดยแยกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
    1.  พื้นที่ป่าอนุรักษ์  ประกอบด้วยพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  หรือพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 อุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  การจัดการควรมุ่งเน้นที่จะรักษาไว้สำหรับเป็นป่าป้องกันภัยหรือเป็นป่าอเนกประสงค์ให้มากที่สุด  เนื่องจากเป็นป่าสาธารณประโยชน์โดยในการบริหารการจัดการจะต้องให้ความสำคัญระดับสูงต่อการป้องกันรักษาป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์  ส่วนบริเวณที่มีสภาพเสื่อมโทรม  โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  ควรรีบเร่งแก้ไขปรับปรุงให้มีสภาพดียิ่งขึ้น
        2.  พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  ในชั้นต้นจะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันรักษาป่า  ทั้งที่เป็นธรรมชาติและสวนป่า  รวมทั้งหาวิธีเพิ่มผลิตผลของป่าไม้ในเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่นี้ให้อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประเทศชาติและประชาชนให้มากที่สุด
    19.    ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำให้หลักเขต  ป้าย  เครื่องหมายอื่นๆ เคลื่อนที่  ลบเลือน  เสียหาย  หรือไร้ประโยชน์  ยกเว้นข้อใด
    ก.    พนักงานเจ้าหน้าที่
    ข.    อธิบดีกรมป่าไม้
    ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ง.    คณะรัฐมนตรี
    ตอบ    ก.  พนักงานเจ้าหน้าที่
    พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
        มาตรา 17  ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำให้หลักเขต  ป้าย  หรือเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีตามพระราชบัญญัตินี้เคลื่อนที่  ลบเลือน  เสียหาย  หรือไร้ประโยชน์
        มาตรา 19  บทบัญญัติใน มาตรา 16 และ มาตรา 17  มิให้ใช้บังคับแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการไปเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ  หรือการศึกษา  หรือวิจัยทางวิชาการ  หรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการทัศนาจร  หรือการพักอาศัย  หรือเพื่ออำนวยความปลอดภัยหรือให้ความรู้แก่ประชาชน  ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี
    20.    ข้อใดมิใช่ประโยชน์ทางตรงของป่าไม้
    ก.    เชื้อเพลิง
    ข.    วัตถุเคมี
    ค.    บรรเทาอุทกภัย
    ง.    ยารักษาโรค
    ตอบ    ค.  บรรเทาอุทกภัย
        ประโยชน์ทางตรงของป่าไม้
    1.    ไม้  เป็นผลิตผลจากป่าและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่โบราณกาล  เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะตัวซึ่งบางครั้งใช้สิ่งอื่นทดแทนไม่ได้  ไม้จึงยังคงเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง
    2.    เชื้อเพลิง  ที่ได้จากป่าคือฟืนและถ่านใช้ในการหุงต้ม  และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
    3.    วัตถุเคมี  ที่ได้จากไม้  ได้แก่  เซลลูโลสและลิกนิน  เซลลูโลสใช้ในการทำกระดาษ  ไหมเทียม  วัตถุระเบิด  น้ำตาล  แอลกอฮอล์  และยีสต์  ส่วนลิกนินใช้ในการทำวานิลา  น้ำหอม  เครื่องสำอาง  ยาถนอมอาหารไม่ให้บูดเน่า  และยารักษาโรคผิวหนัง
    4.    อาหาร  มนุษย์ได้อาหารหลายอย่างจากป่า  เช่น  ดอก  ผล  ใบ  เมล็ด  หน่อไม้  เห็ด  มันต่างๆ และอาหารที่ได้จากสัตว์ป่า
    5.    ยารักษาโรค  ที่ได้จากป่าที่สำคัญมีสมุนไพร
    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
    รายละเอียดไฟล์แนบ
    กล่องตอบกลับด่วน

    กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
    กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้