ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

แชร์กระทู้นี้

1.    การปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ที่ออกเป็นกฎกระทรวงคือ
                 1.   การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะ
                 2.   การออกข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
                 3.   การออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
                 4.   การออกหลักเกณฑ์การให้บุคคลประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ต่างประเทศ
2.    การประกอบวิชาชีพใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่การประกอบโรคศิลปะตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
                 1.   เวชกรรมไทย
                 2.   กายภาพบำบัด
                 3.   การพยาบาล
                 4.   เทคนิคการแพทย์
3.    ข้อใดที่ไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
                 1.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะคิดค่ารักษาผู้ป่วยในราคาสูง
                 2.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะพูดจาโอ้โลมผู้ป่วย
                 3.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะไม่แจ้งความจริงให้ผู้ป่วยทราบ
                 4.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะได้ทำการรักษาผู้ป่วยเกินความจำเป็น
4.    คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มีจำนวน
                 1.   ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 2.   ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 3.   ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 4.   ผิดทุกข้อ
5.    นายชอบ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ทำการรักษาโรคโดยฝังเข็ม จะต้องรับผิดทางกฎหมายอย่างไร
                 1.   ประกอบโรคศิลปะผิดสาขา
                 2.   ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
                 3.   ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนจีน โดยมิได้ขั้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
                 4.   ไม่มีความผิด
6.    ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ไม่พึงกระทำการใดในข้อต่อไปนี้
                 1.   ศึกษาหาความรู้วิชาการฝังเข็ม
                 2.   ติดประกาศใบอนุญาตที่ตนได้รับทุกประเภทและทุกสาขาเป็นที่เปิดเผยในสถานพยาบาล
                 3.   ให้ค่าตอบแทนแก่คนขับรถแท็กซี่ที่หาผู้ป่วยมาส่งที่สถานพยาบาลของตน
                 4.   แจ้งวิธีการประกอบโรคศิลปะให้ผู้ป่วยทราบ

 

7.    พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ใน กรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                 1.   ทำการวินิจฉัยโรคเท่านั้น
                 2.   ประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาล
                 3.   รับทำคลอดให้เฉพาะคนในหมู่บ้านโดยติดต่อค่าบริการรายละ 30 บาท
                 4.   การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง

8.    นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก. จะถูกลงโทษอย่างไร
                1.   อาจถูกจำคุกหรือปรับ
                2.   ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ
                3.   ถูกว่ากล่าวตักเตือน
                4.   ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว
9.    ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษไม่ยอมรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้ทำอย่างไร
                1.   ให้ปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เปิดเผย ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา
                2.   ให้ส่งทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับ
                3.   ให้ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวัน
                4.   ถูกทุกข้อ
10.    ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษคดีประกอบโรคศิลปะผิดสาขา คดีได้ถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพ สั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่เมื่อไร
                1.   ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
                2.   ตั้งแต่วันที่ทราบว่ากระทำความผิด
                3.   ตั้งแต่วันที่สั่งพักใบอนุญาต
                4.   ตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารฟ้องศาล
11.    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
                1.   ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                2.   ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                3.   ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                4.   ผิดทุกข้อ
12.   ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขา เลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                 1.   ยี่สิบวัน
                 2.   ยี่สิบห้าวัน
                 3.   สามสิบวัน
                 4.   ผิดทุกข้อ

13.     นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก.ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน ใครมีหน้าที่ดำเนินการ
                   1.   พนักงานเจ้าหน้าที่
                   2.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                   3.   คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
                   4.   คณะอนุกรรมการสอบสวน
14.     ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                   1.   ยี่สิบวัน
                   2.   ยี่สิบห้าวัน
                   3.   สามสิบวัน
                   4.   ผิดทุกข้อ
15.     เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย สั่งพักใช้ใบอนุญาตของนาย ว. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ต้องแจ้งคำวินิจฉัย ให้นาย ว.ทราบภายในระยะเวลา
                   1.   7 วัน
                   2.   15 วัน
                   3.   1 เดือน
                   4.   ไม่มีกำหนด
16.     ระหว่างที่นายธงชัย ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต นายธงชัยยังคงแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอยู่ ดังนี้ถือว่า นายธงชัย ต้องระวางโทษ
                   1.   จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   2.   จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   3.   จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   4.   จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
17.    หน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมและกำหนดมาตรฐานในการประกอบโรคศิลปะ เป็นหน้าที่ของใคร
                   1.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                   2.   คณะกรรมการวิชาชีพ
                   3.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                   4.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
18.    องค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย
                   1.   บุคคลที่ได้รับเลือกทั้งหมด
                   2.   บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมด
                   3.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งกับกรรมการโดยตำแหน่ง
                   4.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งและตัวแทนจากหน่วยราชการ

19.    กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
                 1.   1 ปี
                 2.   2 ปี
                 3.   3 ปี
                 4.   ไม่กำหนดวาระ
20.  การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรค ศิลปะ  การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อใด
                 1.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                 2.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
                 3.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
                 4.   ผิดทุกข้อ
21.    การประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย อาจเพิ่มประเภทใหม่ๆขึ้นได้โดย
                 1.   การประกาศกำหนดของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                 2.   การประกาศกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
                 3.   รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                 4.   รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
25.    ณ วันที่ 25 มีค. 2545 นาย ก.หยิบหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งประจำวันที่ 24 มีค. 2544 มาอ่าน พบว่ามีการโฆษณาการประกอบโรคศิลปะของนาย ข.ดังนี้ นาย ก.จะนำเรื่องร้องเรียนได้หรือไม่
                 1.   ร้องเรียนได้ เพราะนาย ข. กระทำผิด
                 2.   ร้องเรียนไม่ได้ เพราะขาดอายุความ
                 3.   ร้อนเรียนได้ โดยทำหนังสือกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ
                 4.   ร้องเรียนได้ เพราะยังไม่ขาดอายุความ
26.    นส.วนิดา ช้าเหลือเกิน รับใบอณุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ประจำปี 2543 ทำไมในใบอนุญาตจึงยังมีข้อความว่า " อาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ"
                1.   ยังอยู่ในระหว่างเปลี่ยนแปลง พรบ.
                2.   ยังต้องใช้กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศเดิมจนกว่าจะได้มีฉบับใหม่
                3.   กฎหมายใหม่ยังไม่ได้กำหนดเรื่องใบอนุญาต
                4.   เป็นการปฎิบัติตามกฎหมายเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไข
27.    นางสาวขวัญ รักคุณ มีความรู้เรื่องการประกอบโรคศิลปะโดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ แต่ไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรค ศิลปะ ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย และเรียกค่าตอบแทนนางสาวขวัญ รักคุณ มีความผิดหรือไม่
                1.   ไม่มีความผิด เพราะได้รับการยกเว้น
                2.   มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่มีใบอนุญาต
                3.   ไม่มีความผิดเพราะไม่เกิดอันตราย
                4.   มีความผิดเพราะกฎหมายบัญญัติห้าม
28.    นาย ก.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะที่ถูกคณะกรรมการวิชาชีพลงโทษสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ต่อมา นาย ก. ได้พบเห็นผู้ป่วยจึงช่วยเหลือ ดังนี้ ถือว่า นาย ก.
                1.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยไม่มีใบอนุญาต ผิดกฎหมาย
                2.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยเข้าข้อยกเว้นกฎหมาย
                3.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยผิดกฎหมาย แต่ได้รับโทษเบากว่าผู้ไม่มีใบอนุญาต
                4.   ทำการประกอบโรคศิลปะไม่ได้ เพราะถือว่า ไม่มีใบอนุญาตแล้ว
29.  ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะได้รับหนังสือแจ้งข้อหา พร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาจากใคร ภาย ในกี่วัน   
                1.   จากผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                2.   จากประธานอนุกรรมการวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่สอบสวน ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                3.   จากผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                4.   จากประธานอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวน ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน

30.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ตรงตามข้อใด
                1.   แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
                2.   ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
                3.   กำหนดกิจการอื่น ออกระเบียบและประกาศ
                4.   ถูกหมดทุกข้อ
31.    หากผู้ประกอบโรคศิลปะถูกกล่าวหาเรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณ และคณะกรรมการวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัย มีคำสั่งให้พักใช้ ใบอนุญาต ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์อย่างไร
                1.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการวิชาชีพภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
                2.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
                3.   อุทธรณืเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการวิชาชีพภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
                4.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

32.   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 8(2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 นั้น นอกจากการ              พ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว พ้นจากตำแหน่งเมื่อใด

               1.   ขาดคุณสมบัติ

               2.   ลาออก

               3.   รัฐมนตรีให้ออก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

               4.   ถูกทุกข้อ

33.   กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการวิชาชีพที่ได้รับเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้ง หรือ เลือกตั้งอีกได้

               1.   สองปี

               2.   สามปี

               3.   สี่ปี

               4.   ห้าปี

34.   การกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ทำคำชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อ คณะอนุกรรมการวิชาชีพ ผุ้สอบ               สวนความผิดของตนได้ ภายในกำหนดระยะเวลากี่วัน

               1.   10 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง

               2.   15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง

               3.   20 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง

               4.   30 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง

35.    ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ

               1.   เสนอความเห็นต่อคณะรัรฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย

               2.   ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการวิชาชีพ

               3.   พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นที่ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

               4.   รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ

36.    คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มีจำนวน

               1.   ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน

               2.   ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน

               3.   ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน

               4.   ผิดทุกข้อ

37.    นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้น               ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก. จะถูกลงโทษ               อย่างไร

                1.   อาจถูกจำคุกหรือปรับ

                2.   ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ

                3.   ถูกว่ากล่าวตักเตือน

                4.   ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว

38.    ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษไม่ยอมรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้ทำอย่างไร

                1.   ให้ปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เปิดเผย ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา

                2.   ให้ส่งทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับ

                3.   ให้ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวัน

                4.   ถูกทุกข้อ

39.    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด

                1.   ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป

                2.   ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป

                3.   ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป

                4.   ผิดทุกข้อ

40.   ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขา เลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ

                 1.   ยี่สิบวัน

                 2.   ยี่สิบห้าวัน

                 3.   สามสิบวัน

                 4.   ผิดทุกข้อ

♣ พรบ.ยา 2510

1.      ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันได้ให้ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาประเภทใดบ้างที่สามารถ ขายยาแผนโบราณได้
                 1.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
                 2.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
                 3.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
                 4.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ หรือผู้ที่รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
2. นายสมชายเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทำการแจกยาแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการขายยาในงานนิทรรศการ เช่นนี้ นาย สมชายสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
                 1.   ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
                 2.   ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
                 3.   ได้ เพราะเป็นการแจก ไม่ได้ขายยา
                 4.   ได้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
3.  นายสมศักดิ์ขึ้นทะเบียนตำรับยาเม็ดลูกกลอนยาแผนโบราณไว้ตำรับหนึ่ง โดยระบุว่ามีน้ำหนักเม็ดละ 1 กรัม ต่อมาต้องการลดต้นทุน จึงเปลี่ยนทำน้ำหนักเม็ดยาเป็นเม็ดละ 0.8 กรัม ออกขายโดยไม่ได้แจ้งขอแก้ไขทะเบียนตำรับยา กรณีนี้ นายสมศักดิ์มีความผิดตามกฎหมาย ยาหรือไม่ อย่างไร
                 1.   ไม่เป็นความผิด เพราะไม่ได้แก้ไขสูตรยา
                 2.   เป็น ความผิดฐานทำยาปลอม
                 3.   เป็น ความผิดฐานทำยาผิดมาตรฐาน
                 4.   เป็น ความผิดฐานทำยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
4.  ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อผู้อนุญาต เพื่อรับใบแทนใบอนุญาต ภายในกี่วัน
                 1.   5 วัน                               2.   15 วัน
                 3.   20 วัน                             4.   30 วัน
5.     ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
                 1.   15 วัน                             2.   20 วัน
                 3.   25 วัน                             4.   30 วัน

6.    การกระทำต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการ "ขาย" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับในปัจจุบัน
                1.   การขายส่ง             2.   การแจกยาเพื่อการค้า
                3.   การมีไว้เพื่อการขาย 4.   ทั้งข้อ 1, ข้อ2, และข้อ 3
7.    ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
                1.   โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                2.   โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
                3.   โดยผ่านอินเตอร์เนท
                4.   โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
8.      ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาเสตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
                1.   ยาผิดมาตรฐาน                               2.   ยาปลอม
                3.   ยาแผนปัจจุบัน                               4.   ยาอันตราย
9.     นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต ให้วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
              1.  ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาตสำหรับการออกใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
              2.  ถูกต้องเพราะการออกใบอนุญาตสำหรับการขายยาผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
              3.  ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
              4.  ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาคือปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
10.  นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตร ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียน ตำรับยากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
                  1.   ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
                  2.   ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ มีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
                  3.   ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
                  4.   ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา

11.    นาย ก. ทำการปรุงยาโดยใส่สเตียรอยด์ผสมด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นความหมายของเภสัชกรรมไทยหรือไม่
                 1.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะนาย ก.ใส่เสตียรอยด์ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน
                 2.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะวิธีดังกล่าวไม่ใช่กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
                 3.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะเสตียรอยด์ เป็นยาอันตราย
                 4.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะยาดังกล่าวไม่มีสรรพคุณตามหลักเภสัช

12.      ข้อใดจัดเป็นยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ.ยา
                 1.   ยาที่มุ่งหมายสำหรับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
                 2.   ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
                 3.   ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกต้องแล้ว
                 4.   ยาสมุนไพรที่มุ่งหมายใช้บำบัดโรคสัตว์
13.      ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้  ถือว่าเป็นการผลิต
                 1.   ยาผลิตมาตรฐาน
                 2.   ยาปลอม
                 3.   ยาแผนปัจจุบัน
                 4.   ยาอันตราย
14.      นายสุดหล้าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ปรุงยาเพื่อขายให้กับผู้ป่วยของตน กรณีใด สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผลิตยาตาม พ.ร.บ.ยา
                 1.   ปรุงยาสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเอง
                 2.   ปรุงยาตามตำรับแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
                 3.   ปรุงยาตามหลักที่ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณใช้สืบต่อกันมา
                 4.   ปรุงยาตามตำรับแบบไทย
15.      ผู้รับอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาต ทราบไม่เกินกี่วัน นับแต่วันเลิกกิจการและให้ถือว่าใบอนุญาตหมดอายุตั้งแต่วันเลิกกิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
                 1.   10 วัน
                 2.   15 วัน
                 3.   7 วัน
16.      พ่อหมอทองหล้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเก็บตัวยาสมุนไพรหลายชนิดมาหั่นและสับเป็นชิ้นๆ ใส่ถุงรวมกัน ปิดฉลากว่า "ยาโลหิตสตรี บำรุงร่างกาย ทำให้เลือดลมดี ประจำเดือนมาปกติ แก้มุตกิด" และนำไปขายในงานวัด พ่อหมอทองหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา หรือไม่
                 1.   ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร กฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องขออนุญาตผลิตยา
                 2.   ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร ยังไม่ปรุงเป็นยา
                 3.   ผิด เพราะแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าเป็นยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
                 4.   ข้อ 1 และ 2 ถูก

17.     การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้

                  1.   การโฆษณายาโดยการร้องเพลง

                  2.   การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย

                  3.   การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ

                  4.   การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ

18.     นายโชคขายสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้งๆที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้              เพราะ

                 1.   ขายยาโบราณที่เป็นอันตราย

                 2.   นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ

                 3.   ขายยาตำรับอันตราย

                 4.   ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย

19.     ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์  เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต

                 1.   15 วัน                               2.   20 วัน

                 3.   25 วัน                               4.   30 วัน

20.     ผู้ใดผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด

                1.   จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท

                2.   จำคุกตลอดชีวิต

                3.   จำคุกห้าปีและปรับห้าหมื่นบาท

                4.   จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

21.     ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการขายส่งจะมีโทษสถานใด

                1.   ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท              2.   ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท

                3.   ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท                                 4.   ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้