ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมงและหน่วยงานอื่นๆ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมงและหน่วยงานอื่นๆ

แชร์กระทู้นี้

1.                   โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของสัตว์น้ำคือ

ก.       เชื้อแอโรโมแนส

ข.       เชื้อไฮโดรฟิลลา

ค.       เชื้อวิบริโอ

ง.       ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

                โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ทำให้ปลาอ่อนแอ  ได้แก่  เชื้อแอโรโมแนส  ไฮโดรฟิลลา  เชื้อวิบริโอ  ปลาที่เป็นโรคติดต่อเชื้อแบคทีเรียมักมีอาการเป็นจุดขาวเล็กๆ ที่ผิวตัว  จากนั้นจะเห็นเป็นรอยเลือดคั่ง  แล้วกลายเป็นแผลเน่าลึกจนถึงกระดูก  จนปลาตายในที่สุด

2.                   ลักษณะอาการของปลาที่ติดเชื้อแบคทีเรียคือข้อใด

ก.       เป็นจุดสีเขียวเล็กๆ ที่ผิวตัว

ข.       มีรอยเลือดคั่ง

ค.       ปลามักผอมไม่กินอาหาร

ง.       เหงือกปลาเกิดแผลเปื่อย

ตอบ       ข.  มีรอยเลือดคั่ง

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

3.                   ปลาน้ำจืดแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง

ก.       2  ประเภท  ได้แก่  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง  และปลาที่อาศัยในลำธารหรือแม่น้ำ

ข.       2  ประเภท  ได้แก่  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง  และปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำไหล

ค.       3  ประเภท  ได้แก่  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำระดับลึก  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำระดับกลาง  และปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำระดับตื้น

ง.       3  ประเภท  ได้แก่  ปลาที่กินพืช  ปลาที่กินเนื้อสัตว์  และปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำระดับลึก

ตอบ       ก.  2  ประเภท  ได้แก่  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง  และปลาที่อาศัยในลำธารหรือแม่

                ปลาน้ำจืด  เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดตลอดชีวิต  อาจแบ่งออกเป็นสองจำพวกใหญ่ๆ คือ  ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง  เช่น  ในบ่อบึง อาทิ ปลาสวาย  ปลาเทโพ  และปลาที่อาศัยในลำธารหรือแม่น้ำ อาทิ ปลาตะเพียน  ปลาเทพา  และปลาสร้อย  เป็นต้น

4.                   ปลาประเภทใดที่อาศัยอยู่น้ำนิ่ง

ก.       ยปลาเทพา

ข.       ปลาตะเพียน

ค.       ปลาสวา

ง.       ปลาสร้อย

ตอบ       ค.  ปลาสวาย

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

5.                   การเลี้ยงปลาน้ำจืดมีกี่ประเภท

ก.       3  ประเภท

ข.       4  ประเภท

ค.       5  ประเภท

ง.       6  ประเภท

ตอบ       ข.  4  ประเภท

                การเลี้ยงปลาน้ำจืด  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.       การเลี้ยงปลาในบ่อ

2.       การเลี้ยงปลาในนาข้าว

3.       การเลี้ยงปลาในร่องสวน

4.       การเลี้ยงปลาในกระชัง

6.             ระเบียบกรมประมง  ว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๓๓  บังคับใช้เมื่อใด

ก.       วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๓

ข.       วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๓

ค.       วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๓

ง.       วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๓

ตอบ       ก.  วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๓

ระเบียบกรมประมง  ว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๓๓

                ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๓

7.                   หอยที่กินหอยอื่นเป็นอาหาร  โดยการเจาะเปลือยแล้วปล่อยน้ำย่อยก่อนดูดกินคือ

ก.       หอยเต้าปูน

ข.       หอยสังข์หนาม

ค.       หอยตะกราม

ง.       ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

8.                   ชนิดของปลาที่ควรจะเลี้ยงในกระชัง  ควรมีลักษณะอย่างไรในด้านเศรษฐกิจ

ก.       โตเร็ว

ข.       สามารถเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อได้ดี

ค.       เป็นชนิดที่ตลาดต้องการ

ง.       หาลูกปลาได้สะดวก  มีปริมาณพอเพียง

ตอบ       ค.  เป็นชนิดที่ตลาดต้องการ

                ปลาที่ควรจะเลี้ยงในกระชังในด้านเศรษฐกิจ  ควรมีลักษณะดังนี้

๑.       ราคาซื้อขายสูง

๒.     ขายง่าย  ขายสดไม่ต้องผ่านกรรมวิธีมาก

๓.     เป็นชนิดที่ตลาดต้องการ

9.                   ปลาน้ำจืดที่มีความต้านทานที่เหมาะจะเลี้ยงในกระชังได้แก่

ก.       Cyprinidae,  Siluridae,  Clariidae

ข.       Siluridae,  Cichlidae,  Cephalidae

ค.       Cephalidae,  Ophicephalidae,  Luridae

ง.       Luridae,  Ophicephalidae,  Siluridae

ตอบ       ก.  Cyprinidae,  Siluridae,  Clariidae

                ปลาน้ำจืดที่มีความต้านทานที่เหมาะจะเลี้ยงในกระชังมีอยู่ ๕ ครอบครัว  คือ

๑.       ไซพรินิดี (Cyprinidae)

๒.     ปลาไนซิลูริดี (Siluridae)  ได้แก่  ปลาสวาย  ปลาเทโพ

๓.     คลาริไอดี (Clariidae)  ได้แก่  ปลาดุก

๔.     โอฟิเซฟาลิดี (Ophicephalidae)  ได้แก่  ปลาช่อน

๕.     ซิคลิดี (Cichlidae)  ได้แก่  ปลาในสกุลตีลาเบียชนิดต่างๆ เช่น  ปลานิล

10.                ข้อใดบอกชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญของปลาน้ำจืดเศรษฐกิจได้ถูกต้อง

ก.       ชื่อไทย                           ปลาคาร์พ

ชื่อสามัญ                       COMMON CARP

ชื่อวิทยาศาสตร์            Panaeus monodon

ข.       ชื่อไทย                           กุ้งกุลาดำ

ชื่อสามัญ                       BLACK TIGER SHRIMP

ชื่อวิทยาศาสตร์            Litopenaeus vannamei

ค.       ชื่อไทย                           ปลานิล

ชื่อสามัญ                       TILAPIA

ชื่อวิทยาศาสตร์            Clarius macrocephaluss

ง.       ชื่อไทย                           ปลาบึก

ชื่อสามัญ                       GIANT FRESH WATER FISH

ชื่อวิทยาศาสตร์            Pangasinodon gigas

ตอบ       ง.   ชื่อไทย                             ปลาบึก

ชื่อสามัญ                       GIANT FRESH WATER FISH

ชื่อวิทยาศาสตร์           Pangasinodon gigas

11.                ที่รักษาพืชพันธุ์  หมายถึง

ก.       ที่จับสัตว์น้ำซึ่งสมควรจะให้บุคคลว่าประมูลผูกขาดทำการประมง

ข.       ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน

ค.       ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ง.       ที่จับสัตว์น้ำซึ่งบุคคลมีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ตอบ       ข.  ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน

                ที่รักษาพืชพันธุ์  หมายถึง  ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน  หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าวแล้วบริเวณประตูน้ำ  ประตุระบายน้ำ  ฝายหรือทำนบ  หรือที่ซึ่งเหมาะแก่การรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ  ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี  ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้

12.                ที่จับสัตว์น้ำประเภทจะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีก่อนทำกาประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ก.       ที่ว่าประมูล

ข.       ที่อนุญาต

ค.       ที่รักษาพืชพันธุ์

ง.       ที่สาธารณประโยชน์

ตอบ       ค.  ที่รักษาพืชพันธุ์

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

13.                การเลี้ยงปลาในนาปลาเป็นการดัดแปลงจากการเลี้ยงปลาในนาข้าว  โดยได้มีการเริ่มเลี้ยงที่จังหวัดใดก่อน

ก.       จังหวัดสมุทรปราการ

ข.       จังหวัดชลบุรี

ค.       จังหวัดระนอง

ง.       จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตอบ       ก.  จังหวัดสมุทรปราการ

                การเลี้ยงปลาในนาปลา  การเลี้ยงแบบนี้เป็นการดัดแปลงจากการเลี้ยงปลาในนาข้าว  เป็นการเลี้ยงปลาสลิดอย่างเดียวไม่มีการปลูกข้าว  โดยเริ่มเลี้ยงที่ จ.สมุทรปราการ ซึ่งก็มีเหตุผลมาจากการปลูกข้าว  ต้องใช้ทุนสูงจึงได้หันมาเลี้ยงปลาอย่างเดียวการเลี้ยงปลาแบบนี้ควรมีพื้นที่ตั้งแต่ 5-10 ไร่ขึ้นไป  และจะต้องเสริมคันนาให้สูงกว่าระดับเดิม 50 ซม.  กว้างประมาณ 2 เมตร

 

14.                ปลาทะเลที่กินพืชและสาหร่าย (ไม่ใช่แพลงก์ตอนพืช) เป็นอาหารคือ

ก.       ปลาใบขนุน

ข.       ปลาหมอสี

ค.       ปลาสลิด

ง.       ปลาดุก

ตอบ       ก.  ปลาใบขนุน

15.           บุคคลใดทำลายเครื่องหมายหลักเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ในที่จับสัตว์น้ำบุบสลาย  หรือเสียหายด้วยประการใด  ต้องระวางโทษตามข้อใด

ก.       จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน

ข.       จำคุกไม่เกินสามเดือน

ค.       ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

ง.       ปรับไม่เกินสามพันบาท

ตอบ       ค.  ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2490

                มาตรา 72  บุคคลใดทำลาย  ถอดถอน  หรือทำให้โคมไฟ  เครื่องหมายหลักเขต  แผ่นประกาศหรือสิ่งอื่นๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ในที่จับสัตว์น้ำบุบสลาย  หรือเสียหายด้วยประการใดๆ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือทั้งจำทั้งปรับ

16.                การเลี้ยงกุ้งระบบเปิดคือ

ก.       เป็นการเลี้ยงกุ้งโดยวิธีการควบคุมรักษาคุณสมบัติของน้ำ

ข.       เปลี่ยนถ่ายน้ำเสียในบ่อทิ้งบ่อยๆ

ค.       สูบน้ำดีจากธรรมชาติเข้ามาแทนที่

ง.       ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

ตอบ       ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

                การเลี้ยงกุ้งระบบเปิด  คือ  การเลี้ยงกุ้งโดยวิธีการควบคุมรักษาคุณสมบัติของน้ำ  และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำเสียในบ่อทิ้งบ่อยๆ และสูบน้ำดีจากธรรมชาติเข้ามาแทนที่

17.           การส่งเสริมการเกษตรแบบใดที่เป็นการส่งเสริมแบบการเยี่ยมเยียนที่บ้านและไร่นา  การมีจดหมายติดต่อเป็นรายบุคคล  การติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์

ก.       การส่งเสริมรายบุคคล

ข.       การส่งเสริมแบบกลุ่ม

ค.       การส่งเสริมมวลชน

ง.       การส่งเสริมแบบผสม

ตอบ       ก.  การส่งเสริมรายบุคคล

                วิธีการส่งเสริมรายบุคคล (Individual Methods)  เป็นการส่งเสริมแบบตัวต่อตัว (face-to-face) ระหว่างนักส่งเสริมกับเกษตรกร  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคคลได้รับข่าวสารความรู้ข้อปรึกษา  แนะนำโดยละเอียดตามความสนใจของแต่ละบุคคลที่มีความต้องการแตกต่างกันไป  โดยการส่งเสริมอาจจะใช้วิธีการสาธิต  การเยี่ยมเยียนที่บ้านและไร่นา  การที่บุคคลเป้าหมายขอคำแนะนำที่ที่ทำงาน  การมีจดหมายติดต่อเป็นรายบุคคล  การติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์  เป็นต้น

18.                วิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคล (Individual Methods)  เป็นการส่งเสริมแบบใด

ก.       แบบตัวต่อตัว (face-to-face)

ข.       แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one)

ค.       แบบรายคน (one only)

ง.       ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ       ก.  แบบตัวต่อตัว (face-to-face)

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

19.                โรคที่เกิดจากโปรโตซัวทำให้ปลาตายตั้งแต่อายุ 10-20 วัน  มีวิธีการรักษาคือ

ก.       แช่ด่างทับทิม 200 ซีซีต่อน้ำ 1 ถัง  ประมาณ 20-30 นาที

ข.       แช่ฟอร์มาลีน 260 ซีซีต่อน้ำ 1 ตัน  ไม่เกิน 30 นาที

ค.       หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกๆ อาทิตย์ๆ ละ 2-3 ครั้ง

ง.       ในบ่อเลี้ยงปลาจะต้องมีเครื่องทำออกซิเจนให้ปลา  ประมาณ 1-2 เครื่อง

ตอบ       ข.  แช่ฟอร์มาลีน 260 ซีซีต่อน้ำ 1 ตัน  ไม่เกิน 30 นาที

                โรคที่เกิดจากโปรโตซัวทำให้ปลาตายตั้งแต่อายุ 10-20 วัน  โรคที่พบมากคือ  จุดขาว,  โอโอดิเนียม  อิฟิสไทลิส  ฯลฯ  การรักษานิยมแช่ฟอร์มาลีน 260 ซีซีต่อน้ำ 1 ตัน  ไม่เกิน 30 นาที

20.           การเลี้ยงปลาสลิดแบบรวมหรือแบบผสม  โดยเลือกปลาที่กินอาหารตามความลึกต่างระดับกัน  หรือกินอาหารคนละประเภท  โดยมี ปลานิล/ปลาสลิด/ปลาช่อน  จะมีอัตราส่วนการปล่อยปลาตามข้อใด

ก.       4/4/1

ข.       5/2/3

ค.       6/4/1

ง.       7/2/3

ตอบ       ค.  6/4/1

                การเลี้ยงปลาในบ่อ  เป็นการดัดแปลงบ่อดินที่เป็นบ่อล่อปลามาเป็นบ่อเลี้ยงปลาแบบถาวร  ขนาดบ่อก็ไม่แน่นอน  ส่วนความลึกก็อยู่ประมาณ 1.5-2.5 เมตร  ซึ่งก็มีการเลี้ยงอยู่ 2 แบบ ดังนี้

1.       การเลี้ยงแบบเดี่ยว  เป็นการเลี้ยงปลาสลิดเพียงอย่างเดียว

2.     การเลี้ยงแบบรวมหรือแบบผสม  เป็นการเลี้ยงปลาสลิดร่วมไปกับการเลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ โดยเลือกปลาที่กินอาหารตามความลึกต่างระดับกัน  หรือกินอาหารคนละประเภท  โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน  ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้จะมีอัตราส่วนการปล่อยปลา  ดังนี้

-          ปลานิล/ปลาตะเพียน/ปลาสลิด/ปลาช่อน              อัตรา  4/4/1/1       จำนวนที่ปล่อย  11 ตัว/ตรม.

-          ปลานิล/ปลาสลิด/ปลาช่อน                                       อัตรา  6/4/1           จำนวนที่ปล่อย  11 ตัว/ตรม.

-          ปลานิล/ปลาใน/ปลาสลิด                                          อัตรา  5/2/3           จำนวนที่ปล่อย   3 ตัว/ตรม.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมงและหน่วยงานอื่นๆ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 

      ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 บิ๊กซีขอนแก่
decho pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้