ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบสัสดี  (วิชาภาษาไทย)กรมยุทธศึกษาทหารบก
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบสัสดี  (วิชาภาษาไทย)กรมยุทธศึกษาทหารบก

แชร์กระทู้นี้

1. ข้อวามในข้อใดไม่ถูต้อง

1) ภาษาไทยมาตรฐานคือภาษาราชการ 

2) ภาษาไทยมีการออกเสียงหนักเสียงเบา

3) ภาษาไทยรับคำจากภาษอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่ 

4) คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงภาษาอังกฤษ

2. เสียงควบกล้ำในข้อใดไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาไทย  act group

 1) บรั่นดี 2) นิวเคลียส 3) อิเควเตอร์ 4) เพนกวิน

3. ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์ มัวแต่พูดว่า จะ จะ อยู่นั่นเอง ทำไมไม่ลงมือเสียที

 1) 7 พยางค์ 2) 8 พยางค์ 3) 9 พยางค์ 4) 10 พยางค์

4. ข้อใดมีเสียงวรรยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง

 1) ประหยัดวันนี้สบายวันหน้า 

2) สมบัติเมาเซถลาหัวทิ่ม

 3) หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย 

4) จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ

5. ข้อใดไม่มีคำสมาส   อ.วันนรัตน์

 1) ทหารเป็นผู้มีหน้าที่รบเพื่อปกป้องมาตุภูมิของตนไม่ให้ข้าศึกรุกราน

 2) ประชาชนส่งไปรษณียบัตรทางผลฟุตบอลยูโร 2000 เป็นจำนวนมาก

 3) ประธานในพิธีกล่าวคาถาเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล

 4) ชีวเคมีเป็นวิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต

6. ข้อใดมีคำซ้อนมากที่สุด

 1) แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ 

2) ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม

 3) ในแหล่งหล้าใครไม่มีเสมอเหมือน 

4) ไม่สมประกอบทรัพย์สินก็ขัดสน

7. ข้อใดไม่มีคำพ้องความหมาย

 1) ไอยรา ราชสีห์ กุญชร 

2) ลำธาร ชลาสินธุ์ มัจฉา

 3) เทเวศร์ อัจฉรา สุรารักษ์                เเอ็คคอร์นเนอร์                 

4) สิงขร เวหาสน์  วนาดร

8. ข้อใดไม่มีคำประสม

 1) เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้ารารัน 

2) หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี

 3) ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ 

4) ถึงหนามกรานก็ไม่เจ็บเหมือนเหน็บแนม

9. ข้อใดมีคำซ้ำที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น

 1) แน่นวดแป้งแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ 

2) แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น

 3) สมพรอยากย้ายบ้านไปอยู่ใกล้ๆที่ทำงาน 

4) อายุเกิน 80 แล้วยังชอบใส่เสื้อผ้าสีสดๆ

10. ข้อใดไม่ใช่สำนวนต่างประเทศ

 1) ประชากรโลกกำลังเผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจากโรคร้าย ทั้งเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค

 2) ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ตัวแทนสภากาชาดสากลแถลงว่าสถานการณ์โรคร้ายในปัจจุบันกำลังน่าวิตก

 3) สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำจากประเทศในเอเชียแถลงว่าประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีโรคเอดส์ระบาด

 มากที่สุด

 4) รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนในปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจและสังคม

11.ข้อใดใช้คำภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น

 1) เมื่อไฟดับควรตรวจดูว่าเป็นเพราะฟิวส์ขาดหรือปลั๊กหลุด

 2) เด็กๆชอบรับประทานไอศกรีมช็อคโกแลตมากกว่าไอศกรีมกะทิสด

 3) ก่อนเข้าแบงค์ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก

 4) นักกอล์ฟหลายคนอยากเปลี่ยนวงสวิงให้คล้ายกับไทเกอร์วูดส์เพื่อให้ตีลูกได้แม่นและไกล

12. ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาเขมร

 1) จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ

 2) คุณปู่ทำกนกแก้วลายไทยงามไพจิตร

 3) ให้รื่นเริงสุขสำราญเหมือนดอกไม้บานยามเช้า

 4) เพลงลาวดำเนินทรายมีทำนองไพเราะอ่อนหวาน

13. ข้อใดมีคำที่ใช้ผิดความหมาย

 1) เมื่อประตูเปิดผู้ที่รออยู่ก็วิ่งกรูเข้าไปแย่งซื่อบัตรชมฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ

 2) เยอรมันคิดค้นเทคโนโลยีการใช้แม่เหล็กลอยตัวสำหรับรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ

 3) ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือนมีนาคม

 4) ตำรวจพยายามสืบสวนหาตัวคนร้ายอยู่หลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ร่องรอยอะไรเลย

14. ข้อใดมีคำที่ไม่ได้ใช้ความหมายเชิงอุปมา

 1) หมดตัว ยกเครื่อง ขนแมว 

2) ลอบกัด ตาบอด เปิดท้าย

 3) ไข่ดาว ขมขื่น ลายแทง 

4) ปลากรอบ หวานเย็น  เด็กดอง

15. ข้อใดสื่อความหมายไม่ชัดเจน

 1) พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ 

2) คุณย่าชอบดูละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำ

 3) สมสิริมาหาครูตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน 

4) เมื่อวานนี้แม่แวะมหาหาตอนกินข้าวเย็น

16. ข้อใดมีความหมายกำกวม

 1) ผู้ได้รับรางวัลเป็นกวีที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น 

2) ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง

 3) แม่ค้าหยิบเหรียญบาทออกมาทอน 4 เหรียญ 

4) แผ่นดินไหวทำให้บ้านเมืองพังพินาศและผู้คนล้มตายมาก

17. ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง

 1) ลูกทำกิจการขาดทุนหลายครั้ง แต่แม่ก็ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด ให้เงินช่วยทุกครั้ง

 2) ตอนนี้เขาร่ำรวย แต่เมื่อหนุ่มๆ ยากจนแทบไม่มีจะกิน เข้าทำนองตีนถีบปากกัด

 3) เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ

 4) คุณปู่เล่าว่าแต่ก่อนเรามีฐานะดีมากขนาดที่เรียกว่าข้าวเหลือเกลืออิ่ม

18. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้อง

 1) เช้านี้อากาศปลอดโปร่ง นักท่องเที่ยวต่างชื่นชมกับพระอาทิตย์ยามเช้า

 2) ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง

 3) นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนช้ากว่ากำหนด ต้องยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่

 4) ในอนาคตข้าพเจ้าอยากทำงานกับกระทรวงศึกษาธิการ

19. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนใด ข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายเชี่ยวชาญนั้น น่าจะเป็นการปล่อยข่าว เพื่อต้องการทราบว่าจะมีปฏิกิริยา อย่างไร  

 1) กวนน้ำให้ขุ่น 2) โยนหินถามทาง

 3) หว่านพืชหวังผล 4) ปากคนยาวกว่าปากกา

20. ข้อใดใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสม

 . การสร้างงานศิลปะมีตั้งแต่ระดับการประดิดประดอยไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์

 2) การค้นคว้าวิจัยเป็นกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ

 3) ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์

 4) สถาบันต่างๆ ควรสอนให้นักศึกษาประยุกต์ความลุ่มลึกในวิชาชีพไปพัฒนาการสังคม

21. ข้อใดใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง

 1) แม่ทำกับข้าวแปลกๆให้เรากินเสมอ

 2) เราเห็นกับตาว่าเธอหยิบของใสกระเป๋า

 3) แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ

 4) เขารีบกลับจากต่างประเทศเพื่อจัดงานวันเกิดให้แม่

22. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์

 1) หนึ่งในบรรดาสารพิษหรือสารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร

 2) เมื่อท่านทราบแล้วว่าอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใส่ถุงประดาษหนังสือพิมพ์มีมากเพียงใด

 3) องค์การอนามัยโลกซึ่งชี้ปัญหาการขาดแคลนธาตุไอโอดีนว่ามักจะมีในประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขา

 4) การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็กเป็นประจำ

23. ข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับประโยค ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง

 1) พวกเด็กๆวิ่งเล่นกันเต็มสนามกีฬา

 2) ฟ้าคะนองผ่าเปรี้ยงลงที่ตกหลังสูง

 3) เจ้าด่างครางหงิงๆไปมาตามถนน

 4) แม่ครัวนอนเหยียดยาวกลางห้องครัว

24. ข้อใดเป็นประโยคความรวม

 1) เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน

 2) หลานสาวตัวน้อยเดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน

 3) คนไทยแทบทุกคนรู้จักนักชกเหรียญทองคนนั้น

 4) สมบัติดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน

25. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน

 1) ฉันพบอาจารย์ของลูกที่ตลาดเสมอ

 2) เราไปซื้อผลไม้ที่ร้านเจ้าประจำ

 3) มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ

 4) กล้วยไม้ที่คาคบออกดอกแล้ว

26. ข้อใดเป็นประโยคกรรม

 1) ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้มีผลดีต่อสังคมในระยะยาว

 2) เพราะแม่สูบบุหรี่จัดลูกที่คลอดออกมาจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ

 3) คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อทางกรวยไตมากกว่าคนทั่วไป

 4) อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้สร้างเสร็จภายใน 5 เดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน

27. ข้อใดมีเนื้อหาไม่เป็นไปเพื่อความจรรโลงใจ

 1) มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

 2) การให้จะนำความสุขมาให้ทั้งแก้ผู้ให้และผู้รับ

 3) เราเกิดในแผ่นดินนี้จึงควรตอบแทนคุณของแผ่นดิน

 4) การกระทำความดีจะส่งผลดีต่อผู้กระทำในวันใดวันหนึ่ง

28. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาษาระดับใด คุณเกษมเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมีความรู้ความสามารถและช่วยสร้างความเจริญแก่หน่วยงานนี้มาไม่น้อย จนเป็นที่รักใคร่ของพวกเราทุกคน เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงานกับเราอีก แต่ก็ยินดีที่ท่านได้เลื่อนตำแหน่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ เชื่อว่าคุณเกษมจะสร้างความเจริญให้แก่หน่วยงานแห่งใหม่ ในโอกาสนี้ ขอมอบของที่ระลึกแก่ท่านเพื่อแสดงน้ำใจของพวกเราทุกคน

 1) ระดับกันเอง

 2) ระดับทางการ

 3) ระดับกึ่งทางการ

 4) ระดับไม่เป็นทางการ

29. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง

 (1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้/ (2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน/ (3) พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประทานวุฒิสภา/(4) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

 1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)

30. จากข้อความต่อไปนี้ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการตีความต่างกัน นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงเถียงกันเรื่องความหมายของข้อความ สามวันจากนารีเป็นอื่น นักเรียนหญิงเชื่อว่าผู้ชายเป็นฝ่าย เป็นอื่น ในขณะที่นักเรียนชายเชื่อว่าผู้หญิง เป็นอื่น 

 1) ภาษากำกวมทำให้เข้าใจต่างกัน

 2) วิจารณญาณต่างกันทำให้คิดไม่ตรงกัน

 3) อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง

 4) การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามยุคสมัย

31. ข้อใดเป็นข้อความที่ใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดในแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของชมรมภาษาไทย

 1) - นิทรรสการทางภาษาและวรรณคดี

  - ฝึกอ่านทำนองเสนาะ

 2) - ประกวดแต่งโคลงทุกประเภท

  - ร้องเพลงประกวดทั้งลุกทุ่งและลูกกรุง

 3) - การนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่

  - นักเรียนเสนอกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

 4) - การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง

  - การแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย

32. ข้อใดเป็นการเขียนแบบพรรณนา

 1) ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว

 2) แนวปะการังด้านหน้าเป็นที่อาศัยของฝูงปลาเล็กๆหลากสี

 3) นักปะดาน้ำต่างว่ายวนไปมาเพื่อชื่นชมความงามของปะการังและปลา

 4) นักท่องเที่ยวขนาดกลางจอดรออยู่เหนือน้ำ โคลงไปมาตามแรงกระทบของคลื่น

33. ข้อใดมีลักษณะเป็นการเขียนแบบบรรยาย

 1) ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก 

2) แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย

 3) ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย 

4) ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา

34. ข้อใดเป็นหัวข้อประกาศที่ถูกต้อง

 1) ประกาศเรื่องระเบียบการแต่งกายของนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ

 2) ประกาศกรมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

  เรื่อง การตรวจสอบสาปนเปื้อนในเครื่องบริโภค

 3) ประกาสกระทรวงมหาดไทย

 เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

 4) ประกาศของสำนักงานกรุงเทพมหานคร

 เรื่องการซ่อมแซมบาทวิถีในกรุงเทพมหานคร

35. ข้อใดใช้เป็นคำนำได้เหมาะสมที่สุด

 1) ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม

 2) อาการของไข้หวัดที่เป็นกันมากขณะนี้เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

 3) ผู้ใหญ่ต้องรีบหาทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนก่อนที่จะสายเกินแก้

 4) นักวิจัยในปัจจุบันหาสาเหตุของโรคต่างๆโดยศึกษาจากพืชกันมากขึ้น

36. ข้อความต่อไปนี้เรียงลำดับได้เหมาะสมที่สุดตามข้อใด

 . แต่ที่รุนแรงที่สุด คือที่จังหวัดชุมพร

 . เมื่อสองเอนก่อนมีน้ำท่วมในหลายจังหวัด

 . จึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล

 . ทั้งๆที่ยังมุถึงเวลาที่จะมีพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน

 . ฝนตกนักติดต่อกันหลายวัน

1)      2)       3)       4)     

37. ข้อความต่อไปนี้ไม่ใช้วิธีเขียนแบบใด

 บางคนเข้าใจว่าผลไม้บงชนิดเช่น ลำไย ลิ้นจี่ ถ้ากินมาก๐จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ แต่ความจริงอาการเจ็บคอเกิดจาก

 เชื้อโรค หลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก เมื่อใช้ปากกัด เชื้อโรคเหล่านั้นอาจเข้าสู่ปาก หากกินผลไม้แล้วไม่ดื่มน้ำตาม ความหวานของผลไม้ซึ่งเคลือบทีผนังคอจะทำให้เกิดเชื้อโรคเจริญมากขึ้นจนเกิดอาการเจ็บคอได้

 1) โต้แย้ง 2) เสนอแนะ

 3) แสดงข้อสรุป 4) แสดงความคิดเห็น

38. ข้อใดใช้วิธีการเขียนแตกต่างจากข้ออื่น

 1) พอเดินทางมาถึง พวกเราก็พากันเอาของไปเก็บและลงเล่นน้ำทะเลทันที

 2) อากาศเริ่มเย็นลง เมฆตั้งเค้า ต่อมาไม่นานนักฝนก็เริ่มตกลงมา

 3) พายุเริ่มพัดกระหน่ำ คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง

 4) ผู้หญิงกลัวเป็นหวัด เลยรีบวิ่งมาหยิบร่มทั้งๆที่ตัวก็เปียกน้ำทะเลอยู่แล้ว

39. ข้อความตอนใดใช้ภาษาไม่เหมาะสม

 (1) ด้วยทบวงมหาวิทยาลัยเห็นว่า หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยที่ใช้อยู่ในขณะนี้ / (2) ได้จัดทำขึ้นหลายรูปแบบและสิ้นเปลืองเวลา ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน / (3) ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำหลักสูตร มาตรฐานขึ้น /

 (4) เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆใช่ในการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยให้เป็นแนวเดียวกัน

 1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)

40. ข้อใดเป็นสถานการณ์ที่แสดงว่าการฟังไม่เกิดประสิทธิภาพ

 1) วิชัยสรุปเนื้อหาได้หลายตอน 

2) วิสุทธิ์บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง

 3) วิชิตอ่านน้ำเสียงของผู้พูดและตีความได้ 

4) วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง

41.ข้อใดตีความคำพูดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

 ผู้พูด ผมเคยมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า เจ้าทรงทีไรมาตามผมไปกินเหล้าทุกที คุยกันสนุกมาก ระยะหลังมานี้ผมสมาทานศีล เลิกกินเหล้าแล้ว เจ้าก็ชักอายๆและห่างเหินไป

 1) ผู้พูดสนิทสนมกับคนทรงเจ้า

 2) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าไม่ได้พบปะกันบ่อยๆอีกแล้ว

 3) ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง

 4) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าเคยมีแนวประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน

42. นายแพทย์สุรชัยได้พูดสรุปการบรรยายเรื่องมะเร็งปอดว่า สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงควรเลิกสูบบุหรี่เพราะจะมีผลในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังไม่เป็นอันตรายต่อคนใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและส่วนรวมอีกด้วย

 จุดมุ่งหมายของผู้พูดตรงกับข้อใด

 1) พูดให้กำลังใจ 2) ชี้แจงเข้าใจ

 3) อธิบายให้เห็นจริง 4) ชักชวนให้ทำตาม

43. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในที่ประชุม

 1) ท่านประธานครับ กระผมคิดว่าเราเสียวเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้

 2) ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงพิจารณาอีกครั้ง

 3) เรื่องสำคัญอย่างนี้ควรโต้เถียงกันด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง

 4) ขอให้ทุกท่านใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้ได้อีกก่อนที่จะลงมติร่วมกัน

44. ข้อใดเป็นคำพูดที่เหมาะสมที่สุดในการให้ข้อคิดแก่คนที่สิ้นหวัง

 1) ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง คิดเสียว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

 2) ความพลาดหวังเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ เวลาเท่านั้นจะช่วยรักษาใจได้

 3) ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป

 4) ความทุกข์ความสุขเป็นของคู่กัน ขณะที่เรามีทุกข์ ความสุขก็กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบทหารประทวนสายงานสัสดี  ประจำปีการศึกษา 2556
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ  

แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลยละเอียด)

- แนวข้อสอบภาษาไทย (เฉลยละเอียด)

- แนวข้อสอบ วิชาภาษาอังกฤษ (เฉลยละเอียด)

- แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (เฉลยละเอียด)

ระเบียบการทั่วไปและวิธีสมัคร ปี 2556

แนวข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การทหาร

- แนวข้อสอบเก่าทหารประทวนสายงานสัสดี

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
เฉลยข้อสอบ  ชุดที่ 1

1. ตอบ  3  ภาษาไทยรับคำจากภาษาอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่

        - ข้อ 1  ถูกต้อง เพราะประเทศไทยใช้ภาษไทยมาตรฐานเป็นภาษาราชการ

        - ข้อ 2  จริงที่การออกเสียงภาษาไทยใช้เสียงหนักเบา

        - ข้อ 4  จริงที่คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงอังกฤษ เช่น chocolate  คนไทยทั่วไปออก

                     เสียงว่า ช็อกกาแลต บางคนอาจจะออกตามฝรั่งว่า ช็อคโคแลต ( เสียง c บางคนออกเสียง “ค” ตามฝรั่ง)

- ข้อ 3  ไม่จริง เพราะเวลารับคำจากภาษาอื่น ภาษาไทยจะมีการแปลงรูปศัพท์มาด้วย

           เช่น -  ทิฏฐิ  เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า  ทิฐิ

                  -  วุฑฒิ  เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า  วุฒิ

                  -  อัฑฒ  เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า  อัฒ

                  -  สํคม  เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า  สังคม

2. ตอบ  1  บรั่นดี

        - เพราะเสียงควบกล้ำของไทยมี 11 เสียง  คือ  /กร / /กล / / กว / /คร / / คล / /คว / /ปร / /ปล/ / พร / /พล / /ตร/

        - ข้อ 2 ควบกล้ำที่ /คล/

        - ข้อ 3 ควบกล้ำที่ /คว/

        - ข้อ 4 ควบกล้ำที่ /กว/

        - ข้อ 1 เสียง / บร/ ไม่มีในเสียงควบกล้ำของไทย ข้อ 1 จึงตรงกับคำตอบ

3.  ตอบ 3       9  พยางค์

        - มีพยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายทั้งหมด 9 พยางค์  คือ

           พูด  มี  “ด” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

           จะ  มี  “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด

           จะ  มี  “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด

          นั่น มี  “น” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

           เอง  มี  “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

           ทำ มี  “ม” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

           ไม  มี  “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

          ไม่  มี  “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

           ลง  มี “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

-  พยางค์ “มัว” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ว” เป็นรูปสระ

               “มือ” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “อ” เป็นรูปสระ

               “เสีย” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ย” เป็นรูปสระ

4.  ตอบ 3  หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย

        - ข้อ 1 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา

        - ข้อ 2 ขาดเสียงวรรณยุกต์ตรี

        - ข้อ 4 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา

5.  ตอบ  3  ประธานในพิธีกล่าวคาถาอัญเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล

        - ข้อ 1 มีคำสมาส คือ “มาตุภูมิ”

        - ข้อ 2 มีคำสมาส คือ “ประชาชน” “ไปรษณียบัตร”

        - ข้อ 4 มีคำสมาส คือ “วิทยาศาสตร์”

        © คำว่า “ ชีวเคมี ” ในข้อ 4 ไม่ใช่  คำสมาส เพราะ เคมี เป็นภาษาอังกฤษ นำมาสมาสคำไม่ได้

6. ตอบ  2   ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม

        - ข้อ 1  มีคำซ้อน 1  คำ  คือ  ยากแค้น

        - ข้อ 3  มีคำซ้อน 2  คำ  คือ  แหล่งหล้า,เสมอเหมือน

        - ข้อ 4  มีคำซ้อน 2  คำ  คือ ทรัพย์สิน,ขัดสน

        - ข้อ 2  มีคำซ้อน 3  คำ  คือ  แออัด,ผู้คน, ล้นหลาม

        ตัวเลือกข้อ 2 เป็นข้อที่มีคำซ้อนมากที่สุด

7. ตอบ  4  สิงขร  เวหาสน์  วนาดร

        - คำพ้องความหมาย  คือ  คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ ที่เราเรียกกันว่า คำไวพจน์

        ข้อ 1 มี “ไอยรา”  กับ “กุญชร” ที่แปลเหมือนกัน คือ “ช้าง”

        ข้อ 2 มี “ลำธาร” กับ “ชลาสินธุ์”ที่แปลเหมือนกัน คือ “แม่น้ำ” (ถึง “มัจฉา”จะแปลว่า “ปลา”)

        ข้อ 3 มี “เทเวศร์” กับ “สุรารักษ์” ที่แปลเหมือนกัน คือ “เทวดา” (ถึง “อัจฉรา”จะแปลว่า “นางฟ้า”)

        ข้อ 4 สิงขร    แปลว่า  ภูเขา                 เวหาสน์    แปลว่า  ท้องฟ้า                      วนาดร  แปลว่า  ป่าสูง

8.  ตอบ  2  หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโลงผี

        - ข้อ 2 มีคำประสม  2  คำ  คือ “หลังคา”  กับ “โลงผี” (โลงศพ)

        - ข้อ 1 “มีดพร้า” กับ “ระราน” เป็นคำซ้อน

        - ข้อ 3 “เหย้าเรือน” เป็นคำซ้อน

        - ข้อ 4 “เหน็บแนม” เป็นคำซ้อน

9.  ตอบ  2  แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น

        - ข้อ 1,3,4 เป็นคำซ้ำปะเภทขยายความ

        - ข้อ 1  “กลมๆ”   ขยาย    “ลูก”

        - ข้อ 3 “ใกล้ๆ”    ขยาย   “อยู่”

        - ข้อ 4 “สดๆ”     ขยาย   “สี”

        - ข้อ 2 เป็นคำซ้ำที่มีความหมายในเชิง “แบ่ง”  หรือ  “แยก” ในที่นี้ “แยกๆกันกิน” คือ

                       “แยกกันไปกิน” ข้อ 2 จึงต่างกับข้ออื่น

10. ตอบ 4  รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนใจปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจ

                  และสังคม

        - ข้อ 1 มีสำนวนต่างประเทศตรงที่ “เผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจาก” ควรแก้เป็น “เผชิญ โศกนาฏกรรมเงียบของ...”

        - ข้อ 2 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว”

        - ข้อ 3 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำ......”

               ควรแก้เป็น “สภากาชาดสากลร่วมกับผู้นำ”

11. ตอบ  3  ก่อนเข้าแบงก์ผู้ขับขี่รถจักยายยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก

        - ข้อ 1   คำภาษาต่างประเทศ  คือ  “ฟิวส์” “ปลั๊ก”  (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

        - ข้อ 2   คำภาษาต่างประเทศ  คือ “ ไอศกรีม” “ช็อกโกแลต” (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

        - ข้อ 4   คำภาษาต่างประเทศ  คือ  “ กอล์ฟ” “วงสวิง”(เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

        - ข้อ 3   คำภาษาต่างประเทศ  คือ  “แบงก์” สามารถเปลี่ยนเป็นคำไทยว่า “ธนาคาร” ได้   ข้อ 3  จึงถูกต้อง

12.  ตอบ  2   คุณปู่ทำกนกแล้วลายไทยงามไพจิตร

        - ข้อ 1  มีคำเขมร คือ  “โปรด”

        - ข้อ 3  มีคำเขมร คือ  “สำราญ”

        - ข้อ 4  มีคำเขมร คือ “ดำเนิน” “ไพเราะ”

13.  ตอบ  3  ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือน มีนาคม

        - ทั้งนี้เพราะ “โยกย้าย” ใช้กับ “ตำแหน่งงาน” แต่ในที่นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้ายกองทหาร

          ควรเปลี่ยนเป็น “เคลื่อนย้าย” ( เพราะ  เคลื่อนย้าย ใช้กับ กำลังพล )

14.  ตอบ  4  ปลากรอบ    หวานเย็น    เด็กดอง

        - ข้อ 1  ยกเครื่อง   มีความหมายอุปมาว่า   ปรับปรุง

        - ข้อ 2  ลอบกัด     มีความหมายอุปมาว่า   ทำลับหลัง

                    ตาบอด     มีความหมายอุปมาว่า   หลง

        - ข้อ 3  ไข่ดาว      มีความหมายอุปมาว่า   อกเล็ก

                     ลายแทง   มีความหมายอุปมาว่า   ลายมือหวัดๆ

        - ข้อ 4  ปลากรอบ  หวานเย็น   เด็กดอง  มีความหมายตรงทุกคำ

15.  ตอบ  1  พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ

        - ข้อ 1   เวลา  คือ  “ตอนบ่ายๆ”   ไม่เจาะจง

        - ข้อ 2  มีการขยายให้ชัดเจนว่า  ละครโทรทัศน์  หลังข่าวภาคค่ำ

        - ข้อ 3  มีการขยายให้ชัดเจนว่า  ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน

- ข้อ 4  มีการขยายให้ชัดเจนว่า  เมื่อวานนี้ตอนกินข้าวเย็น

16.  ตอบ  2   ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง

        - ทั้งนี้เราะ “จำนวนมาก” ในข้อ2 อาจจะขยาย “ผู้ค้า”  หรือ  “ยาเสพติด” ทำให้ได้  2   ความหมาย

           คือ  -   ตำรวจจับคนขายเฮโรอีน  ได้คนขายจำนวนมาก

                  -   ตำรวจจับคนขายที่ขายเฮโรอีนจำนวนมาก  

17.  ตอบ  3  เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ

        - ข้อ 1  ผิด  เพราะฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด  หมายถึง  โกรธเกลียดเท่าไหร่ก็ตัดไม่ขาด

             ในที่นี้ไม่ได้แสดงมาว่าพ่อแม่โกรธหรือดเกลียดลูก

        - ข้อ 2  ผิด  เพราะ   ตีนถีบปากกัด  หมายถึง  มานะพยายามทำงานเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึง

                    ความเหน็ดเหนื่อย  ไม่ได้หมายความว่า  ลำบากตอนหนุ่มๆ

- ข้อ 4  ผิด เพราะ ข้าวเหลือเกลืออิ่ม  ใช้กับสภาพบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร

             ไม่ได้ใช้กับคนที่มีฐานะดี (คนที่มีฐานะดีมาก  เรียกว่า  ผู้มีอันจะกิน)

        - ข้อ 3  ถูกแล้ว  เพราะปากว่าตาขยิบ  คือ  พูดไปอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง (ปากกับการกระทำไม่ตรงกัน )

                   ในที่นี้ปากว่าไม่ชอบ  แต่ก็ไปเที่ยวกับเขา  จึงถูกต้อง

18.  ตอบ 2  ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง

        - ข้อ 1  ผิด  เพราะ “ชื่นชมกับพระอาทิตย์” ไม่ต้องมี “กับ” ก็ได้ ถือว่าใช้คำฟุ่มเฟือย

        - ข้อ 3  ผิด  เพราะ  “ยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่” ต้องแก้เป็น “ยื่นคำร้องต่อ.....”

        - ข้อ 4  ผิด  เพราะ “อยากทำงานกับกระทรวงฯ” ควรแก้เป็น “อยากทำงานในกระทรวง”

      หรือ “อยากทำงานที่กระทรวง”

19. ตอบ  2  โยนหินถามทาง

        - ทั้งนี้เพราะการกระทำเพื่อลองดูปฏิกิริยา เขาใช้สำนวนว่า “โยนหินถามทาง”

        - ข้อ 1  กวนน้ำให้ขุ่น  หมายถึง ทำเรื่องสงบให้วุ่นวาย

        - ข้อ 3 หว่านพืชหวังผล  หมายถึง ทำเพื่อหวังผลตอบแทน

        - ข้อ 4 ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง เรื่องจะยาว เพราะคนพูดต่อไปเรื่อยๆ

20.  ตอบ  3  ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์

        - ข้อ 1 ควรแก้ “มีตั้งแต่ระดับประดิดประดอย......จนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์” เป็น

                  “มีตั้งแต่ขั้นประดิดประดอย.....จนถึงขั้นอุตสาหกรรมศิลป์”

- ข้อ 2 ควรแก้ “......ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ” ใช้คำฟุ่มเฟือย  ควรแก้เป็น  “ที่ใช้เหตุผล”

        - ข้อ 4 “ไปพัฒนาการสังคม” ใช้คำผิด  ควรแก้เป็น “ไปพัฒนาสังคม”
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
21.  ตอบ  3 แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ

        - ควรแก้  “เพราะ”  เป็น   “จึง”

22.  ตอบ  4 การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโถชนาการของเด็กเป็นประจำ

        - ข้อ 1  ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์  เพราะ  ยังขาดกริยาหลัก

        - ข้อ 2  ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์  เพราะ  ต้องมีข้อความมาต่ออีก  จึงจะสมบูรณ์

        - ข้อ 3  ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์  เพราะ  ยังขาดกริยาหลัก

        - ข้อ 4  เป็นประโยคสมบูรณ์  เพราะมี

                    ประธาน =   การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไป

                     กริยา     =   จำเป็นต้องรณรงค์

23.  ตอบ  3  เจ้าด่างครางหงิงๆวิ่งไปมาตามถนน

        - โครงสร้างของประโยคที่ให้มา  คือ

              ดอกบัวตอง    +    บาน    +     สะพรั่ง     +     ชู     +        ไสว     +     ทั่วท้องทุ่ง

                   ß                    ß                 ß                  ß                ß                   ß  

              ประธาน             กริยาตัวที่      ขยายกริยา     กริยา          ขยายกริยา      ขยายบอก

                                            1                   ตัวที่ 1           2                 ตัวที่ 2           สถานที่

        -  ข้อ 1  มีโครงสร้างประโยค  คือ

             พวกเด็กๆ       +            วิ่งเล่น          +        กันเต็ม         +          สนามกีฬา

                 ß                               ß                           ß                                ß    

               ประธาน                      กริยา                    ขยายกริยา                 ขยายบอกสถานที่

                                             ตัวที่ 1 + ตัวที่ 2

        - ข้อ 2  มีโครงสร้างประโยค คือ

              ฟ้าคะนอง       +            ผ่า             +           เปรี้ยงลง        +         ที่ตึก         +            หลังสูง

                  ß                              ß                              ß                            ß                                ß  

               ประธาน                     กริยา                     ขยายกริยา                 ขยายบอกสถานที่       ขยายสถานที่

        - ข้อ 4  มีโครงสร้างประโยค  คือ

               แม่ครัว          +             นอน        +            เหยียดยาว         +      กลางห้องครัว

                 ß                                ß                               ß                               ß  

               ประธาน                      กริยา                       ขยายกริยา                 ขยายบอกสถานที่      

        - ข้อ 3  มีโครงสร้างประโยค  คือ

                 เจ้าด่าง        +              คราง         +          หงิงๆ            +            วิ่ง           +         ไปมา            +          ตามถนน

                      ß                             ß                       ß                                ß                            ß                           ß  

                  ประธาน                     กริยา                 ขยายกริยา                     กริยา                    ขยายกริยา                 ขยายบอก

                                                   ตัวที่ 1                    ตัวที่ 1                        ตัวที่ 2                    ตัวที่ 2                     สถานที่

        - ข้อ 3  มีโครงสร้างประโยคเหมือนประโยคที่ให้มาที่สุดแล้ว

24.  ตอบ  1  เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน

        - ข้อ 1   เป็นประโยคความรวม     เพราะ มีกริยา 2 ตัว   คือ “ไม่สบาย”   และ  “ร้อง”

        - ข้อ 2  เป็นประโยคความรวม     เพราะ  มีกริยาตัวเดียว  คือ  “เดินไป”

        - ข้อ 3  เป็นประโยคความรวม     เพราะ  มีกริยาตัวเดียว  คือ  “รู้จัก”

        - ข้อ 4  เป็นประโยคความรวม     เพราะ  มีกริยาตัวเดียว  คือ  “ดู”

25.  ตอบ  3   มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ

        - ข้อ 1   เป็นประโยคความเดียว  เพราะมีกริยาตัวเดียว  คือ  “พบ”

        - ข้อ 4   เป็นประโยคความเดียว  เพราะมีกริยาตัวเดียว  คือ “ออก”

        - ข้อ 2   เป็นประโยคความรวม  เพราะมีกริยา 2 ตัวติดกัน  คือ   “ไป”  “ซื้อ”

        - ข้อ 3   เป็นประโยคความซ้อน เพราะมีกริยา  2  ตัว  คือ  “อยู่” + “มี”   และ

                     มีคำเชื่อม “ที่” ( = that )    เข้าลักษณะของประโยคความซ้อน

26. ตอบ 4  อาคารผู้ป่วยหลังนี้สร้างเสร็จภายในห้าเดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน

                ประโยคกรรม  คือ  ประโยคที่เอา   “กรรม” ขึ้นต้นประโยค

        - ข้อ 1  ขึ้นต้นด้วย  “ประโยคที่เกิดจากโครงสร้างนี้” ซึ่งเป็นประธาน  เรียกว่า  ประโยคประธาน

        - ข้อ 2  ขึ้นต้นด้วย   “เพราะแม่สูบบุหรี่จัด”  ซึ่งเป็นประโยคเหตุผล

        - ข้อ 3  ขึ้นต้นด้วย   “คนที่เป็นเบาหวาน” ซึ่งเป็นประธาน  เรียกว่า   ประโยคประธาน

        - ข้อ 4  ขึ้นต้นด้วย  “อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้”  ซึ่งเป็นกรรม   ( ของกริยา “สร้าง” ) จึงเป็นประโยคกรรม

27.  ตอบ  1   มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

                        - จรรโลงใจ  หมายถึง  การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น  ดีขึ้น  หรือทำให้เกิดความสบายใจ

                        - ข้อ 2,3,4  ฟังแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีและสบายใจ

                        - แต่ข้อ 1  “มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทาง.....” ไม่รู้ว่าต้องใช้วิธีการอะไรดีหรือเลวจึงเป็นข้อที่ไม่จรรโลงใจ

                       ที่สุดใน 4 ข้อ

28.  ตอบ  3  ระดับกึ่งทางการ

                        - ที่เขายกมานี้มีบางตอนเป็นภาษาพูด (ไม่เป็นทางการ)  เช่น “เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงาน

                          กับเราอีก”  แต่บางตอนก็เป็นภาษาเขียน  (ภาษาทางการ)

                           เช่น  “จะสร้างความเจริญแก่หน่วยงานแห่งใหม่” เมื่อมีลักษณะ 2 อย่างรวมกัน

                          ถือว่าใช้ภาษาระดับ “กึ่งทางการ”

29.  ตอบ  3  ตอนที่ (3)

                        - ข้อ 3 ผิด  เพราะผู้พระราชทาน  คือ   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ   จึงควรแก้

                          “พระบรมราชวโรกาส”  เป็น “พระราชวโรกาส”  เพราะ พระบรมราชวโรกาส

                          ต้องเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น

30.  ตอบ   3  อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง

                        - ทั้งนี้เพราะจริงอยู่  “สามวันจากนารีเป็นอื่น” เว้นวรรคแล้วทำให้กำกวม เพราะแปลได้ 2 อย่าง คือ

                        “สามวันจากนารี ..... เป็นอื่น” (ผู้ชายเป็นอื่น) หรือ  “สามวันจาก.....นารีเป็นอื่น” (ผู้หญิงเป็นอื่น)

                          แต่ในโจทย์เขาถาม “จากข้อความที่ยกมา” ซึ่ง ฝ่ายหญิงก็ตีความ “ว่าฝ่ายชาย”

                      ส่วนฝ่ายชายก็ตีความ “ว่าฝ่ายหญิง” จึงน่าจะเป็นข้อ 3 มากกว่าข้อ 1

31.  ตอบ 4  J  การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง

                    Jการแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย

                - ข้อนี้นับเป็นข้อสอบภาษาไทยแนวใหม่สำหรับปีนี้ทีเดียว วิธีการเขียนแบบสอบถาม โดยเรียบเรียงภาษาไทย

                      ให้ดูเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน   เช่น  ถ้าขึ้นด้วยนามก็ขึ้นด้วยนามทั้งหมด   ถ้าขึ้นด้วยกริยา

                       ก็ขึ้นด้วยกริยาทั้งหมด

                    - ข้อ 1 มีที่ผิด 2 ตอน  คือ

                       1.  นิทรรศการทางภาษาและวรรณคดีไทย  ฟุ่มเฟือย น่าจะแก้เป็น นิทรรสการทางภาษาไทย

                        2. บรรทัดแรก        ¬นิทรรศการ...... ขึ้นด้วย    นาม     (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)

                            บรรทัดที่สอง     ¬  ฝึกอ่าน..........    ขึ้นด้วย    กริยา   (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)

                     - ข้อ 2  บรรทัดแรกขึ้นว่า  ประกวดแต่ง

                                 บรรทัดที่ 2 ก็ควรขึ้นว่า  ประกวดร้องเพลง

                     - ข้อ 3  บรรทัดแรกขึ้นว่า “การนำนักเรียน.......”

                      บรรทัดที่ 2 ควรขึ้นว่า “การให้นักเรียน........”

             ข้อ 4  ทั้ง 2 บรรทัดขึ้นด้วย “การ” ซึ่งดูเป็นระเบียบและสละสลวยมากที่สุดแล้ว

32.  ตอบ  1  ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว

                        - การเขียนพรรณนา  คือ  การเขียนเพื่อให้เกิดภาพ จึงมีการพูดถึงรายละเอียดค่อนข้างมาก

                       - ข้อ 2 เป็นการเขียน “อธิบาย” คือ ให้ความรู้ - ความเข้าใจ

                   - ข้อ 3 เป็นการเขียน “บรรยาย” คือ เล่าเรื่อง

                       - ข้อ 4 เป็นการเขียน “บรรยาย” ถึงแม้นช่วงหลังจะมีการให้รายละเอียดแต่ยังน้อยไม่มากเท่าข้อ 1

                       - ข้อ 1 เป็นการเขียนพรรณนา “ชายทะเล” จนเกิดภาพชัดเจน

33.  ตอบ  3  ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย

                        - ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจการบรรยายก่อนว่า  คือ  การเล่าเรื่องหรือพูดไปเรื่อยๆ

                        - ตัวเลือกที่ให้มาเป็นกลอนต่อเนื่องกันมาทั้ง 4 วรรคว่า

                          ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก                           แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย

                          ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย                       ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา

          J จะเห็นว่าเป็นการพร่ำพรรณนาถึงความเศร้าของตนเอง แต่เมื่อโจทย์ถามว่าวรรคไหนบรรยาย ก็น่าจะ เป็นวรรค 3

                (ข้อ3) เพราะไม่ได้พูดซ้ำถึงความเศร้าของตน  แต่พูดว่า “ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งจัดเป็นการบรรยาย

34. ตอบ 2  ประกาศกรมวิชาการ การทรวงสาธารณสุข

                   เรื่อง  การตรวจสอบสารปนเปื้อนในเครื่องบริโภค

                   - หัวข้อประกาศทางการ  คือ  ประกาศ + ชื่อหน่วยงาน (ไม่ต้องมีคำว่า “ของ”) + เรื่อง...

                   - ข้อ 1 ผิด  เพราะต้องเอาชื่อหน่วยงานขึ้นก่อน

                   - ข้อ 4 ผิด เพราะประกาศสำนักกรุงเทพมหานคร  ไม่ต้องมีคำว่า  “ของ”

            - ข้อ 3 ที่ถูกต้องเปลี่ยนคำว่า “เกี่ยวกับ” เป็น “เรื่อง”

35.  ตอบ  1  ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม

              Jโจทย์ถามส่วนที่เป็นคำนำ ข้อ 1 จึงน่าจะดีที่สุด ข้อ 2,3,4 ดูเหมือนเป็นต้องที่พูดๆมาแล้วมากกว่า

                  ไม่น่าจะเป็นคำนำจ๊ะ

36.  ตอบ  1  ข  ก  จ  ง  ค  

            -  เริ่มจากบอกว่าเกิดอะไรขึ้น ( ข - ก)  ตามด้วย

               สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นยังไง ( จ- ง- ค )
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
37.  ตอบ  2  เสนอแนะ

           -  ประโยคที่ว่า “แต่ความจริงการเจ็บคอเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก” แสดงถึง          

                -  ข้อ 1  การโต้แย้ง “แต่ความจริง”

                - ข้อ 3  แสดงข้อสรุป “การเจ็บคอเกิดจาก........”

                - ข้อ 4  แสดงความคิดเห็น (แบบโต้แย้ง) “แต่ความจริง.......”

           - ข้อความนี้ไม่มีการเสนอแนะ

38.  ตอบ  3  พายุเริ่มพัดกระหน่ำ  คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง

                        - ทั้ง  4 ข้อ  เมื่อเอามาเรียงๆกันจะเป็นการเล่าเรื่องไปเที่ยวทะเลกัน

                        - ทั้ง  1,2,4 เป็นการเล่าเรื่องธรรมดา ถือว่าเป็นการบรรยาย

                        - ข้อ 3  เป็นการพูดให้เกิดภาพ จัดว่าเป็นการพรรณนา

                        ข้อ 3 จึงต่างกับข้ออื่นๆ

39.  ตอบ  2  ตอนที่ (2)

                        - เพราะคำเชื่อม “และ” ควรวางเชื่อมไว้ที่ข้อความที่เชื่อมอันสุดท้าย ไม่ใช่ไปวางข้อความตรงกลาง

                          ข้อ 2  จึงไม่เหมาะสม  ควรแก้ไขเป็น “ได้จัดขึ้นหลายรูปแบบ สิ้นเปลืองเวลา และไม่ได้มาตรฐาน”

                 (ควรเอา “และ”มาวางหลังข้อความ “สิ้นเปลืองสิ้นเวลา”)

40.  ตอบ  4  วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง

                        - ข้อ 1,2,3 จัดเป็นการฟังที่เกิดประสิทธิภาพ

                        - ข้อ 1  ฟังแล้วสรุปเนื้อหาไม่ได้

                        - ข้อ 2  บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง (แสดงว่า จับประเด็นและประเมินค่าได้)

                        - ข้อ 3  ตีความได้

                        Jส่วนข้อ 4  เรามองจุดบกพร่องในการฟังได้หลายข้อ เช่น

                                - ถ้าเราคิดตาม (ในเรื่องที่ในที่นี้ก็ไม่รู้ว่าเขาจะให้เราช่วยคิดหรือให้เราฟังเฉยๆ)

                                  เราก็อาจไม่ได้ฟังเรื่องที่เขาจะพูดต่อ

                                - เรื่องที่เราคิดไม่รู้ว่าเขาต้องการพูดให้เราฟังเฉยๆหรือให้เราไปช่วยเขาคิดด้วย

                                  ข้อ 4  จึงเป็นการฟังที่บกพร่อง ไม่เกิดประสิทธิภาพ

41.  ตอบ  3  ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง

                        - ข้อ 1  จริง  เห็นได้จาก “ผมมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า”

                        - ข้อ 2  จริง  เห็นได้จาก “ระยะหลังมานี้.....เหินห่างกัน”

                        - ข้อ 4  จริง  เห็นได้จาก “ตามผมไปกินเหล้าทุกที   คุยกันสนุกมาก”

                        - ข้อ 3 ไม่มีกล่าวในเรื่องที่ยกมา

42.  ตอบ  4  ชักชวนให้ทำตาม

                        - หมอสุรชัยพูดเพื่อให้คนฟังนำไปปฏิบัติตามไม่ใช่แค่ “ให้เข้าใจ” หรือ “ให้เห็นจริง” ข้อ4 จึงถูกต้อง

43.  ตอบ  2  ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว จึงพิจารณาอีกครั้ง

                        - ข้อ 1  ดูไม่สุภาพใช้อารมณ์แรง “เราเสียเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้”

                        - ข้อ 3  ดูเป็นการตำหนิคนอื่นในที่ประชุม (ที่มีคนเยอะ) “ควรโต้เถียงด้วยเหตุผลมากกว่า

                         ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง”

                        - ข้อ 4  ดูเหมือนเป็นมุข แต่คนละอารมณ์กับคนที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ คือเขากำลังมีอารมณ์กันอยู่

                         เรากลับพูดว่า “ใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้” ข้อนี้เลยดูแปลกๆ

                        - ข้อ 2  ดูเป็นการพูดยุติการขัดแย้งในช่วงนั้นได้ดีที่สุดแล้ว

44.  ตอบ  3  ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป

                        - โจทย์ถามคำพูดที่เป็น “ข้อคิด”แก่คนที่สิ้นหวัง

                        - ข้อ 3  ฟังแล้วรู้สึกดีว่าแล้วเกิดกำลังใจต่อสู้ต่อไป

                        - ข้อ 1  ดูเหมือนเป็น “มุข ”มากว่าข้อคิด

                        - ข้อ 2  พูดให้อดทน แต่ยังไม่ได้ให้ “ข้อคิด”

                        - ข้อ 4  ยังไม่มี “ข้อคิด” อะไรเช่นกัน

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้