ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ใช้อ่านสอบตำรวจ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ใช้อ่านสอบตำรวจ

แชร์กระทู้นี้

พระราชบัญญัติ
ตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๓) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๗) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๘) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๙) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๐) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๓
(๑๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ ๒๔๙๗
(๑๓) พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๔) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๕) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔
(๑๖) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
(๑๗) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๓
บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ข้าราชการตำรวจ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
“ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
“กองบัญชาการ” หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบัญชาการด้วย
“กองบังคับการ” หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ลักษณะ ๑
บททั่วไป

มาตรา ๖ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
(๒) ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๓) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
(๔) รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๖) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาขึ้นสำหรับการกระทำใดเป็นการเฉพาะ และตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติตาม (๓) (๔) หรือ (๕) จะตราพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ตาม (๓) (๔) หรือ (๕) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพ้นจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
มาตรา ๗ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด
มาตรา ๘ ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดวิธีการบรรจุ การแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การบังคับบัญชา การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมตลอดทั้งการปรับยศ และปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวและการอื่นตามที่จำเป็นไว้ด้วย
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๙ วัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช. จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวัน เวลา ที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้

ลักษณะ ๒
การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๑๐ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๒) กองบัญชาการ
การแบ่งส่วนราชการตาม (๑) เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการตาม (๒) ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรีและ ก.ต.ช. กำหนด รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติรองจากนายกรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๔) วางระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๒ ให้มีจเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดหรือมอบหมาย
มาตรา ๑๓ ในกองบัญชาการหนึ่ง ให้มีผู้บัญชาการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจะให้มีรองผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตามที่ผู้บัญชาการมอบหมายด้วยก็ได้
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการด้วยโดยอนุโลม รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บัญชาการด้วย
มาตรา ๑๔ ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) บริหารราชการของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในราชการทั่วไปของกองบัญชาการ
(๔) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกสี่เดือน หรือตามระยะเวลาที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใดกำหนดให้การดำเนินการใดเป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ต.ช. กำหนด
มาตรา ๑๕ ในกองบังคับการหนึ่ง ให้มีผู้บังคับการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองบังคับการนั้น และจะให้มีรองผู้บังคับการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บังคับการตามที่ผู้บังคับการมอบหมายด้วยก็ได้
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบังคับการด้วยโดยอนุโลม รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บังคับการด้วย
ผู้บังคับการมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) บริหารราชการของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการอื่นและปฏิบัติราชการประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย ในการนี้ ให้มีอำนาจสั่งการใด ๆ เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการตำรวจในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการ มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

ลักษณะ ๓
คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.ช.” มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมาย
มาตรา ๑๗ ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (๑)
ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ต.ช. และแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๒) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ต.ช.
ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๘ นอกจากอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด
(๒) เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๖ วรรคสอง
(๓) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
(๔) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย
(๖) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ในการนี้ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของกรุงเทพมหานคร จังหวัดและสถานีตำรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช.
ระเบียบหรือประกาศตาม (๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗ (๒) ต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านกฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ
มาตรา ๒๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นที่ปรึกษาของข้าราชการการเมืองหรือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง
(๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๑๐) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
มาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐
(๕) ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือมีการกระทำ หรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๓ การประชุมของ ก.ต.ช. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม ก.ต.ช. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่งจะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ต.ช. คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๘ (๕) และของคณะกรรมการตามมาตรา ๑๘ (๖)

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ดาวโหลดข้อสอบ ตำรวจสัญญาบัตร สาย อก.2-4 ปป.1-3 สส.5

size="4">วิธีการดาวโหลด inkbucks

ดาวโหลดข้อสอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
http://5d665e0d.linkbucks.com
http://6c3fae34.linkbucks.com
ดาวโหลด กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
http://6d779210.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
http://a8833b8f.linkbucks.com
http://3291edad.linkbucks.com
http://d28e7525.linkbucks.com
ดาวโหลดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล ฯ พ.ศ.2547
http://10a8ff06.linkbucks.com
ดาวโหลดพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2554
http://92e29417.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบวิชาภาษาไทย (อก2-4)
http://c6d6c93d.linkbucks.com
http://5cfa3cc9.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ 2526 และแก้ไขเพิ่มเติม (อก.2-4)
http://fe628dd0.linkbucks.com
http://7e61f3a6.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ปป1-3)
http://5c96f9d3.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบกฎหมายลักษณะพยาน (ปป1-3)
http://9172a531.linkbucks.com
http://956fd2b0.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา (ปป1-3)
http://b90c5b86.linkbucks.com
ดาวโหลดเเนวข้อสอบรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (สส.5)
http://bee7b0ae.linkbucks.com
ดาวโหลดแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 (สส.5)
http://740874b1.linkbucks.com

ลิงค์สำรอง
ดาวโหลดข้อสอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
http://www.ziddu.com/download/18453225/prb1.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453300/prb2.pdf.html
ดาวโหลด กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
http://www.ziddu.com/download/18453367/nn01.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
http://www.ziddu.com/download/18453417/bm1.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453420/bm2.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453421/bm3.pdf.html
ดาวโหลดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล ฯ พ.ศ.2547
http://www.ziddu.com/download/18453386/vv01.pdf.html
ดาวโหลดพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2554
http://www.ziddu.com/download/18453444/pp01.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบวิชาภาษาไทย (อก2-4)
http://www.ziddu.com/download/18453449/t1.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453481/t2.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ 2526 และแก้ไขเพิ่มเติม (อก.2-4)
http://www.ziddu.com/download/18453485/21.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453486/dd14.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ปป1-3)
http://www.ziddu.com/download/18453517/ww01.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบกฎหมายลักษณะพยาน (ปป1-3)
http://www.ziddu.com/download/18453523/ll01.pdf.html
http://www.ziddu.com/download/18453527/ll02.pdf.html
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา (ปป1-3)
http://www.ziddu.com/download/18453564/oo1.pdf.html
ดาวโหลดเเนวข้อสอบรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (สส.5)
http://www.ziddu.com/download/18453570/mm45.pdf.html
ดาวโหลดแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 (สส.5)
http://www.ziddu.com/download/18453582/m01.pdf.html

ลักษณะ ๔
ยศตำรวจและชั้นข้าราชการตำรวจ
           

มาตรา ๒๔ ยศตำรวจมีตามลำดับดังต่อไปนี้
พลตำรวจเอก
พลตำรวจโท
พลตำรวจตรี
พันตำรวจเอก
พันตำรวจโท
พันตำรวจตรี
ร้อยตำรวจเอก
ร้อยตำรวจโท
ร้อยตำรวจตรี
ดาบตำรวจ
จ่าสิบตำรวจ
สิบตำรวจเอก
สิบตำรวจโท
สิบตำรวจตรี
ว่าที่ยศใดให้ถือเสมือนมียศนั้น ถ้าผู้ซึ่งมียศตำรวจเป็นหญิง ให้เติมคำว่า “หญิง” ท้ายยศตำรวจนั้นด้วย

มาตรา ๒๕ ชั้นข้าราชการตำรวจมีดังต่อไปนี้
(๑) ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่ ผู้มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(๒) ชั้นประทวน ได้แก่ ผู้มียศสิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตำรวจเอก จ่าสิบตำรวจ และดาบตำรวจ
(๓) ชั้นพลตำรวจ ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
พลตำรวจสำรอง คือ ผู้ที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ โดยได้รับการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันเข้ารับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๒๖ การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ อาจกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรจะแต่งตั้งว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
(๑) ตั้งแต่ว่าที่ยศพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
(๒) ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจเอก ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง

มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาระดับผู้บัญชาการขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวนเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

มาตรา ๒๘ การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ

มาตรา ๒๙ การให้ออกจากว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือการถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นประทวน ให้ผู้มีอำนาจสั่งตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๗ แล้วแต่กรณี สั่งได้ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ลักษณะ ๕
คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
                  

มาตรา ๓๐ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ตร.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เลขาธิการ ก.พ. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
(๒) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการเลือกตามมาตรา ๓๕ ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน แต่ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกินหนึ่งปี
(ข) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นตามที่ ก.ตร. กำหนด สาขาละไม่เกินหนึ่งคน เว้นแต่ในกรณีที่มีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจตาม (๑) เพิ่มขึ้น ก็ให้มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นนั้น
บุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกินสิบปีและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปี อาจได้รับการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๒) (ข) ได้ แต่ต้องมีจำนวนไม่เกินหนึ่งคน
ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ ก.ตร. และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ตร.
ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๑ ให้ ก.ตร. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจ รวมตลอดทั้งการอบรมและพัฒนาข้าราชการตำรวจ ในการนี้หาก ก.ต.ช. ได้กำหนดระเบียบแบบแผนและนโยบายไว้เป็นการทั่วไป การกำหนดในเรื่องดังกล่าวของ ก.ตร. ต้องสอดคล้องกับระเบียบแบบแผนและนโยบายของ ก.ต.ช. และให้ ก.ตร. แจ้งการดำเนินการนั้นให้ ก.ต.ช. ทราบด้วย
(๒) ออกกฎ ก.ตร. ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือมีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กำกับดูแล ตรวจสอบ และแนะนำ เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการและการปฏิบัติการอื่นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการตำรวจให้เหมาะสม
(๕) กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับสำหรับวุฒิปริญญาหรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ
(๖) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) พิจารณาอนุมัติแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ
(๘) ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีมติสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติการให้ถูกต้องเหมาะสม ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว ให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ตร. มอบหมาย
(๑๐) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
กฎ ก.ตร. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๓๒ เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๓ กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐ และต้องไม่เป็นข้าราชการหรือกลับเข้ารับราชการสำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) และต้องไม่เป็นข้าราชการตำรวจ สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข)
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ ก.ตร. เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๓๔ กรรมการข้าราชการตำรวจจะเป็นกรรมการใน ก.ต.ช. ในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๓๕ การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้เลือก
(๒) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พร้อมกับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)
มาตรา ๓๖ การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ให้ประธาน ก.ตร. รับสมัครบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจัดส่งบัญชีรายชื่อบุคคลดังกล่าวโดยเรียงลำดับตามตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๕ (๑) ก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๓๗ ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้เป็นผู้ได้รับเลือก
ในกรณีที่มีผู้ได้รับเลือกหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้รับเลือกตามจำนวนที่จะพึงมีได้ ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน
ให้ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งไม่ได้รับเลือก ซึ่งอยู่ในอันดับถัดจากผู้ได้รับเลือกลงมาตามลำดับตามจำนวนที่ ก.ตร. เห็นสมควรไว้ด้วย
มาตรา ๓๘ กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ให้กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ากรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๓๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๓๘ กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๓
(๒) ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีการกระทำหรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการข้าราชการตำรวจ
(๓) มีเหตุตามมาตรา ๒๒ (๑) (๒) หรือ (๓)
(๔) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อในประเภทนั้นตามมาตรา ๓๗ วรรคสาม ในอันดับแรกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิแทนและให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างโดยให้นำความในมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การดำรงตำแหน่งของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทนหากมีกำหนดเวลาไม่ถึงสองปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๘
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายในหกสิบวันก่อนวันครบวาระ
มาตรา ๔๒ การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการข้าราชการตำรวจที่มาประชุมเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจไม่น้อยกว่าหกคนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเรียกประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับร้องขอ
ให้ ก.ตร. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ตร. และของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๓๑ (๙)
มาตรา ๔๓  ในกรณีที่ ก.ตร. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.ตร. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ
ลักษณะ ๖
ระเบียบข้าราชการตำรวจ
                

หมวด ๑
ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง
              

มาตรา ๔๔ ตำแหน่งข้าราชการตำรวจมีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๒) จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๓) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๔) ผู้บัญชาการ
(๕) รองผู้บัญชาการ
(๖) ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
(๗) รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
(๘) ผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
(๙) รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
(๑๐) สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
(๑๑) รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน
(๑๒) ผู้บังคับหมู่
(๑๓) รองผู้บังคับหมู่
ก.ตร. จะกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยจะให้มีชื่อตำแหน่งใดเทียบกับตำแหน่งตามวรรคหนึ่งก็ได้ โดยให้กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร.
การกำหนดตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้มีเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัด และเมื่อหมดความจำเป็นตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร. แล้ว ให้ยุบตำแหน่งนั้น
มาตรา ๔๕ ในส่วนราชการต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้มีตำแหน่งข้าราชการตำรวจตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด และจะให้มียศหรือไม่ และถ้าให้มียศจะให้มียศใด รวมตลอดถึงการตัดโอนตำแหน่งจากส่วนราชการหนึ่งไปเพิ่มให้อีกส่วนราชการหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร. กำหนด โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน รวมทั้งความมีประสิทธิภาพและการประหยัด
การกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการตำรวจตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับการ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปในส่วนราชการต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ต.ช. ก่อน
มาตรา ๔๖ ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๔๔ ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามระเบียบที่ ก.ตร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ในการกำหนดจำนวนเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและการดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้อย่างมีเกียรติโดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการฝ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมประกอบด้วย
มาตรา ๔๗ ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน ให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) พนักงานสอบสวน เมื่อดำรงตำแหน่งและได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ตร. กำหนด อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
(๒) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.๓ อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
(๓) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.๔ อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
(๔) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.๕ อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
(๕) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.๖ อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว พร้อมทั้งมีตำแหน่งว่างให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ในการประเมินพิจารณาเลื่อนตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำปริมาณและคุณภาพของสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนจะมีจำนวนเท่าใด มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาเพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด ๒
การบรรจุ การแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
               

มาตรา ๔๘ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๔) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง
(๖) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๔๙ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๕๐ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร ให้บรรจุจากบุคคลผู้ได้รับคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน
มาตรา ๕๑ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่ง ให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก
(๒) ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทหรือพลตำรวจเอก
(๓) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท
(๔) ตำแหน่งผู้บัญชาการ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีหรือพลตำรวจโท
(๕) ตำแหน่งรองผู้บัญชาการ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรี
(๖) ตำแหน่งผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกซึ่งได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) หรือพลตำรวจตรี
(๗) ตำแหน่งรองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกหรือพันตำรวจเอกซึ่งได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ)
(๘) ตำแหน่งผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโทหรือพันตำรวจเอก
(๙) ตำแหน่งรองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท
(๑๐) ตำแหน่งสารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอกขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท
(๑๑) ตำแหน่งรองสารวัตร และพนักงานสอบสวน ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่าร้อยตำรวจเอก
(๑๒) ตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศสิบตำรวจตรีขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่าดาบตำรวจ
(๑๓) ตำแหน่งรองผู้บังคับหมู่ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) ถึง (๑๓) อาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าด้วยก็ได้
มาตรา ๕๒ ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๑ (๑๒) หรือ (๑๓) อาจได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและมียศตามมาตรา ๕๑ (๑๑) ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๑ (๑๓) อาจได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและมียศตามมาตรา ๕๑ (๑๒) ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๕๓ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๑) ให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจ แล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๒) (๓) และ (๔) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มาตรา ๕๔ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๕) ลงมาและเป็นการแต่งตั้งในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือในกองบัญชาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๕) และ (๖) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในกรณีเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรับฟังข้อเสนอแนะของผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องด้วย
(๒) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๕) และ (๖) ในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่า การคัดเลือกของผู้บัญชาการตามวรรคหนึ่งยังไม่เหมาะสม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะทำความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะและเหตุผลเสนอ ก.ตร. เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
(๓) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๗) ลงมาในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือในกองบัญชาการนั้น แล้วแต่กรณี โดยให้ผู้บังคับการที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอแนะและมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบด้วย และหากไม่เป็นที่ยุติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ชี้ขาด แต่ในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๘) ลงมา ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมภายในกองบังคับการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
การกำหนดขั้นตอนใด ๆ อันจะเป็นการชะลอ จำกัด ตัดทอน หรือยับยั้งการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๔ (๓) จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่ ก.ตร. กำหนด
ในกรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๘) ลงมาไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมในกองบัญชาการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งโดยรับฟังข้อเสนอแนะของผู้บังคับการที่เกี่ยวข้องด้วย
มาตรา ๕๕ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๕) ลงมาจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๕) และ (๖) ระหว่างสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกับกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกัน และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระหว่างกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกันและให้ผู้บัญชาการที่ประสงค์จะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้นั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อนำเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความเห็นและเหตุผลของตนเสนอ ก.ตร. เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
(๒) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๗) ลงมาระหว่างสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกับกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกัน และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บัญชาการที่ประสงค์จะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้นั้นเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
(๓) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๗) ลงมาระหว่างกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกันและให้ผู้บัญชาการที่ประสงค์จะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้นั้นเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่าการใช้อำนาจในการแต่งตั้งของผู้บัญชาการไม่เป็นธรรมหรือมีกรณีไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ ก.ตร. กำหนดตามมาตรา ๕๗ หรือมีกรณีที่จะต้องดำเนินการทางวินัยและมีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา ๔๔ (๕) ลงมาให้พ้นจากพื้นที่หรือหน้าที่ หรือมีเหตุพิเศษตามที่ ก.ตร. กำหนด ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๕) ลงมาได้ตามควรแก่กรณี
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๕) และ (๖) ให้เสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
มาตรา ๕๗ การคัดเลือก การทำความตกลงกัน การให้ความเห็นชอบ และการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามมาตรา ๕๓ (๒) มาตรา ๕๔ และมาตรา ๕๕ ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงความอาวุโส ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติ และความรู้ความสามารถประกอบกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
การคัดเลือกและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งพิจารณาจากข้าราชการตำรวจที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอแนะ
ให้ ก.ตร. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ (๒) ถึง (๑๐) โดยคณะกรรมการคัดเลือกดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน
มาตรา ๕๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๘ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีคุณวุฒิสูงขึ้น และมีสิทธิได้รับเงินเดือนสูงขึ้นตามที่ ก.ตร. กำหนด ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๔ เป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน
มาตรา ๕๙ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจหรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งใด ผู้ได้รับการบรรจุหรือได้รับการแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ตร. กำหนดตามมาตรา ๔๕ เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ตร. อาจอนุมัติให้บรรจุหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ก็ได้
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจไปดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ตร. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมเป็นพิเศษเฉพาะรายได้
มาตรา ๖๐ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจตามมาตรา ๕๐ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง โดยมีกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการทดลอง การประเมินผลการทดลอง การรายงานผลการทดลองและการยกเว้นไม่ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ รวมทั้งการสั่งให้ออกจากราชการอันเนื่องมาจากการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ให้ถือว่าผู้นั้นเคยเป็นข้าราชการตำรวจ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๖๑ การสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการใด หรือสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
(๑) นายกรัฐมนตรีสำหรับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสำหรับข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่ง
(๓) ผู้บัญชาการสำหรับข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการหรือในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
มาตรา ๖๒ การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นจะกระทำได้เมื่อเจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการหรือหน่วยงานต้องการจะรับโอนผู้นั้น โดยให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ขอรับโอนทำความตกลงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๖๓ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๔๙ เป็นผู้สั่งบรรจุในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การโอนข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตำรวจหรือการโอนพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ยกเว้นข้าราชการการเมือง ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ และพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าตัวสมัครใจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการจะรับโอนผู้นั้น โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำความตกลงกับผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม ในการนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการตำรวจจะได้รับ ทั้งนี้ ในการดำเนินการรับโอนการกำหนดตำแหน่ง ชั้นยศและอัตราเงินเดือน และการนับเวลาราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
(๒) การกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ
(ก) ข้าราชการตำรวจซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นขอกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
(ข) ข้าราชการตำรวจซึ่งออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าสมัครเข้ารับราชการ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการที่จะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการบรรจุและแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
(ค) ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้ว แต่ไม่รวมถึงข้าราชการการเมือง ข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ และเมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรรับบุคคลนั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ในการนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการตำรวจจะได้รับ ทั้งนี้ การดำเนินการให้กลับเข้ารับราชการ การกำหนดตำแหน่งชั้นยศ และอัตราเงินเดือน และการนับเวลาราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๖๔ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจระดับ ส.๘ ระดับ ส.๗ และระดับ ส.๖ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ตร. แล้ว
การสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับ ส.๕ ลงมาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจ ให้คำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการตำรวจตามรายงานของผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
การเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินสองขั้น ต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ตร. เป็นพิเศษเฉพาะราย
มาตรา ๖๕ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก.ตร. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
มาตรา ๖๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ ทัศนคติ คุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
หมวด ๓
เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มอื่น
                 

มาตรา ๖๗ อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
มาตรา ๖๘ ให้ข้าราชการตำรวจได้รับเงินเดือนดังต่อไปนี้
(๑) ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับ ส. ๙
(๒) ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๘
(๓) ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๗
(๔) ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๖
(๕) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๕
(๖) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๔
(๗) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๓
(๘) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๒
(๙) ข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอก ร้อยตำรวจโท และร้อยตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. ๑
(๑๐) ข้าราชการตำรวจยศดาบตำรวจ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป. ๓
(๑๑) ข้าราชการตำรวจยศจ่าสิบตำรวจอัตราเงินเดือนจ่าสิบตำรวจ (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป. ๒
(๑๒) ข้าราชการตำรวจยศจ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจเอก สิบตำรวจโท และสิบตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป. ๑
(๑๓) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ให้ได้รับเงินเดือนระดับ พ. ๑
ให้ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับนั้นๆ ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ข้าราชการตำรวจตาม (๒) ถึง (๑๓) อาจได้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการได้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้นดังกล่าวและการรับเงินประจำตำแหน่งไว้ด้วย
มาตรา ๖๙ ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามจำนวน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๗๐ ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินเพิ่มอื่น หรือเงินช่วยเหลือตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๑ ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด ๔
การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทน
                  

มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการตำรวจในส่วนราชการหรือหน่วยงานใดในสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้สั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นสมควรรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้นได้
(๑) นายกรัฐมนตรี สำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับตำแหน่งตั้งแต่จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมา
(๓) ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่า สำหรับตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในส่วนราชการนั้น
(๔) ผู้บังคับการ หรือตำแหน่งเทียบเท่า สำหรับตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการ พนักงานสอบสวน ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในส่วนราชการนั้น
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดรักษาราชการแทนและมีผู้ดำรงตำแหน่งรองของตำแหน่งนั้น ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยของตำแหน่งดังกล่าว ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเป็นผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหลายคน ให้ผู้มีอาวุโสตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ก็ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีอาวุโสตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ในส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทน
เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๑ (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) เป็นการย้อนหลัง การปฏิบัติหน้าที่หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งเดิมที่ได้กระทำไปก่อนมีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นอันใช้ได้
มาตรา ๗๓ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ และการดำเนินการด้านอื่นที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดในกิจการของแต่ละกองบัญชาการ ให้ผู้บัญชาการของแต่ละกองบัญชาการนั้น เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในการปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ผู้บัญชาการจะมอบหมายให้รองผู้บัญชาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการตามวรรคหนึ่ง และให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการหรือการระงับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของผู้บัญชาการตามวรรคหนึ่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะระงับการใช้อำนาจของผู้บัญชาการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวและใช้อำนาจนั้นด้วยตนเองก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ต.ช. กำหนด
มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหรือผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานถัดลงไปตามลำดับหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าหรือข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในส่วนราชการหรือในหน่วยงานนั้นปฏิบัติราชการแทนได้
การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือ และให้ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่แนะนำ กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และในกรณีที่เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจปฏิบัติราชการในเรื่องใดโดยไม่สมควร ให้มีอำนาจแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจนั้นได้
เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจไว้เป็นกรณี ๆ ไป
มาตรา ๗๕ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามมาตรา ๗๒ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจและหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทน
การสั่งให้รักษาราชการแทนให้มีผลนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเข้ารับหน้าที่และให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือตำแหน่งผู้ช่วยพ้นจากความเป็นผู้รักษาราชการแทนนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปแล้วในระหว่างเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้อำนาจหรือหน้าที่ใดเป็นของปลัดกระทรวง การใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวสำหรับส่วนราชการหรือหน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ถือเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หมวด ๕
วินัยและการรักษาวินัย
                

มาตรา ๗๗ ข้าราชการตำรวจต้องถือและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และจรรยาบรรณของตำรวจตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด
กฎ ก.ตร. ตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๘ การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ได้แก่ การไม่รักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี จรรยาบรรณของตำรวจ และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
(๒) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
(๓) ต้องรักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ ผู้น้อย
(๔) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
(๕) ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
(๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
(๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
(๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมและให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการ หรือในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อยโดยห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
(๙) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(๑๐) ต้องไม่กระทำการอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างข้าราชการตำรวจ
(๑๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
(๑๒) ต้องไม่ใช้กิริยาวาจาหรือประพฤติตนในลักษณะที่ไม่สมควร
(๑๓) ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
(๑๔) ต้องไม่กระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการบังคับผู้บังคับบัญชาเป็นทางให้เสียระเบียบแบบแผนวินัยตำรวจ
(๑๕) ต้องไม่กระทำหรือละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการหรือทำให้เสียระเบียบแบบแผนของตำรวจ
(๑๖) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
(๑๗) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๑๘) กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๗๙ การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ได้แก่การกระทำดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้
(๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๓) เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๔) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๖) กระทำหรือละเว้นการกระทำใด ๆ รวมทั้งการกระทำผิดตามมาตรา ๗๘ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๗) กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๘๐ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
วิธีการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย และการป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรจะกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันทีตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๖
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้และตามหมวด ๖ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๘๑ เมื่อมีความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาวินัยและปราบปรามข้าราชการตำรวจผู้ก่อการกำเริบ หรือเพื่อบังคับข้าราชการตำรวจผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของตนผู้บังคับบัญชาอาจใช้อาวุธหรือกำลังบังคับได้ และถ้าได้กระทำโดยสุจริตตามสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ช่วยเหลือไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
เมื่อมีเหตุดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจะต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยเร็ว
มาตรา ๘๒ โทษทางวินัยมี ๗ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ทัณฑกรรม
(๓) กักยาม
(๔) กักขัง
(๕) ตัดเงินเดือน
(๖) ปลดออก
(๗) ไล่ออก
การลงโทษภาคทัณฑ์ ได้แก่ การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอันควรต้องรับโทษสถานหนึ่งสถานใด แต่มีเหตุอันควรปรานีจึงเพียงแค่แสดงความผิดผู้นั้นให้ปรากฏไว้
การลงโทษทัณฑกรรม ได้แก่ การให้ทำงานโยธา การให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำ หรือการให้ทำงานสาธารณประโยชน์ซึ่งต้องไม่เกินหกชั่วโมงต่อหนึ่งวัน
การลงโทษกักยาม ได้แก่ การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด
การลงโทษกักขัง ได้แก่ การขังในที่จัดไว้เพื่อควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือหลายคนรวมกันตามที่จะได้มีคำสั่ง
การลงโทษกักยามหรือกักขังจะใช้งานโยธาหรืองานอื่นของทางราชการด้วยก็ได้แต่ต้องไม่เกินหกชั่วโมงต่อหนึ่งวัน
มาตรา ๘๓ การลงโทษข้าราชการตำรวจให้ทำเป็นคำสั่งโดยระบุในคำสั่งด้วยว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและมาตราใด
วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
หมวด ๖
การดำเนินการทางวินัย
                 

มาตรา ๘๔ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
ในการสืบสวนข้อเท็จจริงให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาหรือถูกร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงภายในเวลาที่กำหนด ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยให้สั่งยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๘๕ หรือมาตรา ๘๖ แล้วแต่กรณีทันที
๘๕ เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา ๘๔ มาพิจารณาสั่งการตามมาตรา ๘๙
มาตรา ๘๖ เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เมื่อดำเนินการแล้ว ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๘๙ หรือมาตรา ๙๐ แล้วแต่กรณี ถ้าฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่างกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันให้ผู้มีอำนาจสำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๐๑ และผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสั่งการตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือดำเนินการสอบสวนใหม่ แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
มาตรา ๘๗ หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาเกี่ยวกับการสืบสวน และการสอบสวนที่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๖ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ในการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ มาตรา ๘๙ หรือมาตรา ๙๐ ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันได้รับสำนวน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ซึ่งทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน ในการนี้ หากยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ข้าราชการตำรวจผู้ถูกกล่าวหากลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อน และให้ถือว่าไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกสืบสวนหรือสอบสวน แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจนกว่าการพิจารณาสั่งการในเรื่องนั้นจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง
ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสืบสวนหรือสอบสวนก็ได้
มาตรา ๘๘ เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน เช่น จะหลบหนี หรือจะไปทำร้าย หรือข่มขู่ผู้เสียหายหรือพยาน ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจกักตัวข้าราชการตำรวจนั้นระหว่างดำเนินการสอบสวนได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวน แต่ต้องไม่เกินอำนาจลงโทษกักขังของผู้สั่งกักตัวและต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งถูกลงโทษกักยามหรือกักขังให้หักจำนวนวันที่ถูกกักตัวออกจากระยะเวลากักยามหรือกักขังด้วย และในกรณีที่ถูกลงโทษทัณฑกรรม ให้ถือว่าการถูกกักตัวเป็นการรับโทษสำหรับความผิดนั้นแล้ว
มาตรา ๘๙ ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษทัณฑกรรม
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้กระทำผิดวินัยควรได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตนที่มีอำนาจ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อลงโทษตามควรแก่กรณี
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๙๐ ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ สั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลงโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก
การพิจารณาสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ (๒) (๓) และ (๔) ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอ โดยคณะกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ผู้ถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
มาตรา ๙๑ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจผู้ใดแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยต่อผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการยุติเรื่อง การงดโทษหรือการลงโทษเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น ลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณี ตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้ถูกต้องเหมาะสมได้ด้วย และในกรณีที่เห็นว่าควรดำเนินการอย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและยุติธรรมก็ให้มีอำนาจดำเนินการหรือสั่งดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี โดยการสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ต้องไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา ๘๙ และการเพิ่มอัตราโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมต้องไม่เกินอำนาจนั้นด้วย ถ้าเกินอำนาจของตน ก็ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ถ้าเห็นว่าการจะสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษนั้นกรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อให้พิจารณาดำเนินการ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามมาตรา ๘๙ สั่งยุติเรื่อง หรือสั่งงดโทษข้าราชการตำรวจผู้ใดไปแล้ว แต่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเมื่อได้รับรายงานที่ผู้บังคับบัญชาตามวรรคสองเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๘๖ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๘๖ ไว้แล้ว ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๐
เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมด้วย พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๙๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.ตร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ ให้ ก.ตร. มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็นโดยจะสอบสวนเองหรือตั้งอนุกรรมการหรือให้คณะกรรมการสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่แทนก็ได้ หรือกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไป เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย
ในการดำเนินการตามมาตรานี้ให้นำมาตรา ๙๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๙๓ ให้ผู้สืบสวน กรรมการสืบสวน และกรรมการสอบสวน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้กรรมการสอบสวนมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจเรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
มาตรา ๙๔ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีที่ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ
การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม หรือกักขัง ก็ให้งดโทษนั้นเสีย
มาตรา ๙๕ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัยได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัยว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๘๔ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๘๖ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ที่มิใช่เป็นการลงโทษ ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการตำรวจตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๙๖ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายในห้าปี ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด ๗
การออกจากราชการ
                  

มาตรา ๙๗ ข้าราชการตำรวจออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๙๙
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๖๐ มาตรา ๙๕ มาตรา ๙๘ มาตรา ๑๐๐ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ หรือมาตรา ๑๐๓
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
การออกจากราชการของข้าราชการตำรวจเฉพาะผู้ที่ต้องรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๙๘ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรา ๔๕ ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ สั่งให้ออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๙๙ ข้าราชการตำรวจผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง เพื่อให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
มาตรา ๑๐๐ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
(๒) เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๔๘ (๑) (๔) (๕) หรือขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
(๔) เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้บังคับบัญชาตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการหรือเทียบเท่าผู้กำกับการขึ้นไปเห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย เมื่อได้มีการสอบสวนแล้ว ถ้าคณะกรรมการหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า สมควรให้ออกจากราชการ ก็ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเสนอเรื่องต่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ เพื่อพิจารณาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๘๖ ในเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่ง และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๘๖ ได้สอบสวนไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจะใช้สำนวนการสอบสวนนั้นมาพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
มาตรา ๑๐๒ เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้มีการสอบสวนตามมาตรา ๘๖ แต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้นั้นกระทำผิดที่จะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกแต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนนั้น หากจะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๑๐๓ เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก หากจะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๑๐๔ ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป หากเป็นกรณีการออกจากราชการตามมาตรา ๙๗ ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือตำแหน่งเทียบเท่า ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย
หมวด ๘
การอุทธรณ์
                 

มาตรา ๑๐๕ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ แต่ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ ก.ตร.
(๒) กรณีถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ ก.ตร.
การอุทธรณ์ตาม (๑) และ (๒) ให้อุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ตาม (๑) และ (๒) ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน
หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
หมวด ๙
การร้องทุกข์
                  

มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการตำรวจผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย หรือเกิดจากการปฏิบัติโดยมิชอบของผู้บังคับบัญชาต่อตน ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ตร. แล้วแต่กรณี เพื่อขอให้แก้ไขได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด ๘ ให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น
หลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์ เหตุแห่งการร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
หมวด ๑๐
เครื่องแบบตำรวจ
                  

มาตรา ๑๐๗ ลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบตำรวจ รวมทั้งการแต่งว่าจะสมควรอย่างไร เมื่อไร และโดยเงื่อนไขประการใดนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๐๘ ผู้ใดแต่งเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงห้าปี
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำภายในเขตซึ่งประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือเพื่อกระทำความผิดอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการตำรวจผู้ใดแต่งเครื่องแบบตำรวจในขณะกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี
มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจและกระทำการใด ๆ อันทำให้ราชการตำรวจถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ราชการตำรวจ หรือทำให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนเป็นตำรวจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำภายในเขตซึ่งประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือเพื่อกระทำความผิดอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
มาตรา ๑๑๑ ในการแสดงภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอื่นใดทำนองเดียวกันที่ประสงค์จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากผู้แสดงประสงค์จะแต่งเครื่องแบบตำรวจ หรือแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจ ให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการแสดงนั้นหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่จะทำการแสดงเช่นว่านั้นทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ลักษณะ ๗
กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
                 

มาตรา ๑๑๒ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกว่า “กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
มาตรา ๑๑๓ กองทุนประกอบด้วย
(๑) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือมูลนิธิ
(๓) ดอกผลที่เกิดจากกองทุน
คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจและเงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้เป็นของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้
เงิน ดอกผลและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๑๑๔ เงิน ดอกผลและทรัพย์สินที่ประกอบขึ้นเป็นกองทุนจะต้องจัดการเพื่อประโยชน์ภายในขอบวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๑๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจำนวนสองคน เป็นกรรมการ
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการคนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๑๖ คณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด
(๒) ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ระเบียบดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ต.ช. แล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๓) จัดวางระบบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสำนักงบประมาณและผู้แทนกรมบัญชีกลางเสนอแนะ
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๕) ออกระเบียบกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย
(๗) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกองทุน
(๘) รายงานสถานะการเงินและบริหารกองทุนต่อ ก.ต.ช.
มาตรา ๑๑๗ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินและบัญชี ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินทุกปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อ ก.ต.ช. และกระทรวงการคลัง
บทเฉพาะกาล
                  
มาตรา ๑๑๘ ให้ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นใหม่
ทั้งนี้ โดยให้สำนักงานกำลังพล สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานแผนงานและงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ สำนักงานเลขานุการกรม กองการเงิน กองการต่างประเทศ กองคดี และกองวิชาการ ซึ่งเป็นส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามมาตรา ๑๐ (๑) สำหรับส่วนราชการนอกจากนั้น ให้เป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ (๒) ตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๐ กำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป
ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒๐ ผู้ใดมียศตำรวจหรือว่าที่ยศตำรวจลำดับใดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายอื่นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้ยศตำรวจหรือว่าที่ยศตำรวจลำดับนั้นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒๑ ผู้ใดเป็นพลตำรวจสำรองพิเศษ พลตำรวจพิเศษ และพลตำรวจสมัครตำแหน่งลูกแถวหรือเทียบลูกแถวในส่วนราชการใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่หรือเทียบผู้บังคับหมู่ในส่วนราชการนั้นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒๒ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการหรือเทียบผู้ช่วยผู้บัญชาการในส่วนราชการใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับการกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เป็นตำแหน่งรองผู้บัญชาการหรือเทียบรองผู้บัญชาการในส่วนราชการนั้นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการหรือเทียบผู้ช่วยผู้บัญชาการในส่วนราชการใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการหรือเทียบรองผู้บัญชาการในส่วนราชการนั้นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
บรรดาตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการหรือเทียบผู้ช่วยผู้บัญชาการที่ปรับเป็นตำแหน่งรองผู้บัญชาการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ ก.ตร. ดำเนินการให้มีการยุบเลิกให้เหลือจำนวนเท่าที่จำเป็น และให้นำตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ยุบเลิกดังกล่าวไปเพิ่มเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๔๔ (๖) ลงมา
มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ ส่วนการสอบสวนการพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่
(๑) ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ
(๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้น เป็นอันใช้ได้
กรณีที่ได้มีการส่งเรื่องหรือนำสำนวนสอบสวนเสนอหรือส่งให้คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง หรือ ก.ตร. พิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง หรือ ก.ตร. พิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๑๐๕
ผู้ใดมีสิทธิร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ และพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ได้ตามมาตรา ๑๐๖
มาตรา ๑๒๕ ให้ดำเนินการสรรหากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๗ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน และให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อใช้บังคับในการสรรหานั้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้เป็นอันยกเลิกเมื่อคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติตามมาตรา ๑๗ เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๒๖ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน
มาตรา ๑๒๗ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาหรือออกกฎกระทรวง กฎ ก.ตร. ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือยังมิได้มีมติเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ มติ หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๘ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ กฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ กฎหมายว่าด้วยยศตำรวจ และกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบตำรวจ ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร. กำหนด ซึ่งต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการตำรวจซึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐ และพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้มีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมแก่การพัฒนาระบบงานของตำรวจในสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยนำมาบัญญัติรวมไว้เป็นกฎหมายฉบับเดียวให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจ โดยกำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการเพื่อกระจายอำนาจไปยังกองบัญชาการมากขึ้น โดยให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารราชการและการดำเนินงานของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายนั้น และกำหนดให้การบริหารงานบุคคลเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) โดยเฉพาะ อันมีผลให้การจัดระบบไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริหารราชการ การบริหารงานบุคคล การบังคับบัญชา การแต่งตั้งและโยกย้ายหรือการดำเนินการทางวินัยเกิดความเป็นธรรม ความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศและกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนแยกต่างหากจากตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่มีอยู่เดิม เพื่อเป็นการพัฒนางานสอบสวนซึ่งถือเป็นกระบวนการยุติธรรมในเบื้องต้นที่สำคัญ ตลอดจนจัดให้มีกองทุน เพื่อสนับสนุนและพัฒนางานเกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา อันจะทำให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมในส่วนซึ่งข้าราชการตำรวจเป็นผู้รับผิดชอบมีศักยภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน
[ยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๘ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙]
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๘ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
[ยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๘ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙]
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๘ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
surasak@hotm ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
อายุ 27 เข้า  28  แต่เต็ม 28  เดือนธันวา  สมัครได้ไหมครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้