ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบพนักงานพัฒนาสังคม ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
dream ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบพนักงานพัฒนาสังคม ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

แชร์กระทู้นี้

ชุมชน หมายถึง ชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน หมู่บ้านจัดสรร และชุมชนเมืองที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น ทั้งนี้โดยทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร   
    1 ชุมชนแออัด หมายถึง ชุมชนส่วนใหญ่ที่มีอาคารหนาแน่น ไร้ระเบียบและชำรุดทรุดโทรม ประชาชนอยู่อย่างแออัด มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย โดยให้ถือเกณฑ์ความหนาแน่นของบ้านเรือนอย่างน้อย 15 หลังคาเรือนต่อพื้นที่ 1 ไร่
   2 ชุมชนชานเมือง หมายถึง ชุมชนที่กรุงเทพมหานครได้จัดทำเป็นประกาศกำหนดชุมชน โดยมีพื้นที่ดำเนินการด้านเกษตรกรรมในเขตกรุงเทพมหานครรอบนอกเป็นส่วนใหญ่ มีบ้านเรือนไม่แออัด แต่ขาดการวางแผนทางด้านผังชุมชน เช่น ทางระบายน้ำ ทางเดินเท้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา น้ำท่วมขัง การสัญจรไปมาของประชาชนในชุมชน
    3 ชุมชนหมู่บ้านจัดสรรหมายถึง ชุมชนที่มีบ้านจัดสรรที่เป็นที่อยู่อาศัย และดำเนินการในภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีลักษณะบ้านเป็นบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณ ทาวเฮาส์ ตึกแถว หรือบ้านแฝด สภาพทั่วไปควรจะต้องมีการพัฒนา เช่น ทางระบายน้ำ ขยะ ทางเท้า ซึ่งกรุงเทพมหานครพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนและความเหมาะ สมในการที่จะเข้าไปดำเนินการพัฒนา ซึ่งจะได้จัดทำเป็นประกาศกำหนดชุมชน
    4 เคหะชุมชน หมายถึง ชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งดำเนินการและดูแลโครงการโดยการเคหะแห่งชาติ มีสภาพเป็นแฟลต และกรุงเทพมหานครเข้าไปดำเนินการ ในด้าน ทางระบายน้ำ ขยะ ทางเท้า เศรษฐกิจ สังคม อนามัยและอื่น ๆ
    5 ชุมชนเมือง หมายถึง ชุมชนที่มีความหนาแน่นของบ้านน้อยกว่าชุมชนแออัด กล่าวคือน้อยกว่า 15 หลัง ต่อ 1 ไร่ แต่มีความหนาแน่นของจำนวนบ้านมากกว่าชุมชนชานเมือง และกรุงเทพมหานครได้จัดทำประกาศกำหนดเป็นชุมชน โดยที่ชุมชนดังกล่าวไม่เป็นชุมชนตามที่กล่าวมาในข้ออื่น ๆ

 

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงเริ่มดำเนินงานพัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2503 เป็นต้นมาโดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการสำรวจรวบรวมปลูกดูแลรักษา พรรณพืชต่างๆที่หายากและกำลังจะหมดไป ต่อมาในปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อโดยมีพระราชดำริ กับนายแก้วขวัญ วัชโรทัยเลขาธิการพระราชวัง ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานให้ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดาเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2536เป็นต้นมา  การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯในระยะที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มมากขึ้นเมื่อวันที่31ธันวาคม2544ได้พระราชทานพระราชดำริกับเลขาธิการ ปร.ณวังไกลกังวลอ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์สรุปความว่าขอให้สำนักงานกปร.และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯร่วมกันจัดทำแผนแม่บทเพื่อใช้เป็นกรอ บในการดำเนินงานโดยไม่ควรขยายพื้นที่ดำเนินงานออกไปมาก ดังนั้นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสม เด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(อพ.สธ.)และสำนักงานคณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำ นักงาน กปร.) จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บท
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 5 ปีที่สาม(ตุลาคม2545กันยายน2549” ขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯกทม. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯของ กทม. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีคำสั่ง กทม.ที่ 974/2526 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขึ้น

 

วัตถุประสงค์

เพื่อให้การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน เกษตรกร ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่กทม.ได้มีความรู้ความ
เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติพันธุกรรมพืชเกิดความรู้สึกหวงแหน และ
ร่วมกันรักษาไว้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2. จัดทำระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช พันธุ์ไม้โบราณและ
พันธุ์ไม้ที่มีชื่อเสียงของ กทม. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลแก่เยาวชน ประชาชนผู้สนใจ
3. สร้างสวนพฤกษศาสตร์เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์พืชปกปักรักษาพันธุ์ ไม้และเป็นแหล่งตัวอย่าง
พันธุ์พืชเพื่อศึกษาค้นคว้าเพื่อน้อมถวายฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนม์มายุครบ 50 พรรษาในปี พ.ศ.2548

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯในแผนแม่บทขอ ง กทม. ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ

2. เพื่อเทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนม์มายุครบ 50 พรรษาในปี พ.ศ.2548

3. เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพันธุ์ไม้โบราณและพันธุ์ไม้ที ่มีชื่อเสียงของ กทม. รวมทั้งการขยายพันธุ์พืชให้คงอยู่สืบไป

4. เพื่อเป็นแหล่งให้เยาวชน ประชาชนผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าพันธุกรรมพืชและใช้ประโยชน์ทางการศึกษาพันธุกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพื่อปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีจิตสำนึกในการปกปักษ์รักษาอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญในการต่อสู้กับปัญหา
ความยากจนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยรัฐบาลจัดตั้งกองทุนละ 1 ล้านบาท ขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่ายและ
บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และความเดือนร้อนจำเป็นเร่งด่วน
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุน
3. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในด้านการเรียนรู้การ
สร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม และเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน
ในหมู่บ้านและชุมชนเมือง

แนวทางการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานค ร
กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มดำเนินการตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของรัฐบาล
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2544 เป็นต้นมา ซึ่งนับจนถึงปัจจุบันถือได้ว่ามีผลการดำเนินงานดีมีความก้าว
หน้ามาเป็นลำดับ สามารถสรุปแนวทาง ขั้นตอนและผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ได้ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของกรุง เทพมหานคร
การดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของกรุงเทพมหาน คร แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับเขต
1. เผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้แก่ประชาชนเพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนในการจัดตั้งกองทุนชุมชนเมือง
2. สนับสนุนการเปิดเวทีชาวบ้าน เพื่อเลือกคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง โดยการเปิดเวทีชาวบ้าน
จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ใน 4 ครัวเรือน ของชุมชน และคณะกรรมการกองทุนฯ จะต้องมีจำนวน
ไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 15 คน
3. คณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง จัดทำร่างระเบียบข้อบังคับกองทุน และขอขึ้นทะเบียนกับ
ธนาคารออมสินสาขา พร้อมกับเปิดบัญชีธนาคารเพื่อสะสมเงินออมของสมาชิก และรอรับโอน
เงินกองทุน 1 ล้านบาท
4. สำนักงานเขต จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขต เพื่อประเมินความพร้อมกองทุน
ชุมชนเมือง ซึ่งขึ้นทะเบียนกับธนาคารแล้ว ตามข้อ 3
5. เมื่อกองทุนผ่านการประเมินความพร้อมแล้ว สำนักงานเขตรายงานธนาคารออมสินสาขาเพื่อรายงาน
ต่อธนาคารออมสินภาค1( ทำหน้าที่ธนาคารออมสินจังหวัดกรุงเทพมหานคร)และแจ้งคณะอนุกรรมก าร
ระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาประเมินความพร้อมต่อไป

ระดับ กทม.
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขต (50 เขต) ซึ่งมีผู้อำนวยการเขตเป็นประธาน
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ซึ่งมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานและ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนเป็นเลขานุการ
3. จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดของกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาประเมิน
ความพร้อมกองทุนชุมชนเมืองซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขตและแจ้ง
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อขออนุมัติโอนเงินกองทุน

กองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มต้นดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาชุมชนใน ปี พ.ศ. 2530 โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เพื่อจัดตั้งกองทุนชุมชน ๆ ละ 7,000 บาท ในโครงการนำร่อง เช่น ชุมชนสุขสวัสดิ์ 29 เขตราษฎร์บูรณะ ชุมชนวัดพระยาทำ ชุมชนวัดใหม่ยายมอญ เขตบางกอกน้อย และชุมชนสงวนทรัพย์ เขตบางพลัด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสวัสดิการสังคมได้ทดลองขยายผลกิจกรรมกองทุนชุมชน โดยใช้หลักการประสานเงินทุน (MATCHING GRANT) ภายใต้ความร่วมมือจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน จำนวน 20 ชุมชน ๆ ละ 10,000 บาท และได้กำหนดให้ชุมชนแต่ละแห่งจะต้องมีเงินทุนของชุมชนเป็นส่วนหนึ่ง ประมาณ 10,000 บาท โดยใช้วิธีระดมทุนภายในชุมชนและได้รับการสนับสนุนจากการบริจาคจากการขายสินค้าราคาถูกของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้น

การดำเนินงานด้านกองทุนชุมชนในระยะเริ่มต้นอยู่ในความรับผิดชอบ ของกองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคมการให้บริการได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการ บริการชุมชนและการให้การสงเคราะห์เฉพาะหน้าและได้มีการปรับแนวคิดในการทำงานกับชุมชนให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีเป้าหมายในการ   พัฒนาคนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นมีผลทำให้งานสังคมสงเคราะห์กับงานพัฒนาชุมชนเอื้อประโยชน์ต่อกันจนกำหนดรูปแบบการให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์ที่พัฒนาไปสู่แนวคิดการพัฒนาที่พึ่งตนเองได้ของชุมชนโดยผ่านเครื่องมือด้านการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและกระบวนการ

ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ระหว่างปี 2532-2536
ทำให้จัดตั้งกองทุนชุมชนได้ถึง 60 กองทุน/ชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มจำหน่ายสินค้ากลุ่มอาชีพและกลุ่มให้บริการสงเคราะห์

หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ลักษณะของกิจกรรมการใช้จ่ายของกองทุนสรุปได้เป็น 6 ลักษณะ คือ
การให้การสงเคราะห์แม่และเด็ก ตลอดจนผู้เดือนร้อนในชุมชน โดยการให้กู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือการให้เปล่ากรณียากไร้ การให้ทุนการศึกษา รวมทั้งการมอบอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนแก่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชน
1. การให้การสงเคราะห์แม่และเด็ก ตลอดจนผู้เดือนร้อนในชุมชน โดยการให้กู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือการให้เปล่ากรณียากไร้ การให้ทุนการศึกษา รวมทั้งการมอบอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนวัยเรียนในชุมชน
2. การจัดกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน เช่น
กิจกรรมรักษาความสะอาดคูคลอง / ที่อยู่อาศัย ซื้ออุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องกระจายเสียง แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. การจัดงานประเพณีประจำท้องถิ่น
4. สวัสดิการผู้แทนชุมชน เช่น ค่ารักษาพยาบาลกรรมการชุมชน กรณีเร่งด่วน ค่าเลี้ยงดู ผู้รับรอง ผู้เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน
5. ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน
6. สนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน เช่น การให้ยืมทุนซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ฝึกหัดการประกอบอาชีพ

การดำเนินงานด้านกองทุนชุมชนในระยะเริ่มแรก ได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการ จากชุมชนสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
แห่งประเทศไทยและการให้การสนับสนุนด้านเงินทุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้สิ้นสุดลงตามวาระของโครงการในปี พ.ศ. 2536
ปัจจุบัน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ได้อนุมัติให้กองทุนกู้ยืมเงินไปแล้ว 31 สำนักงานเขต รวม 96 กองทุนๆละ 100,000.- บาท รวมเป็นเงิน 9,600,000.- บาท

กองทุนที่ครบกำหนดปลอดนี้ 3 ปี และส่งชำระเงินคืนกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ในแต่ละปี ดังนี้
ปี 2543 จำนวน 3 กองทุน
ปี 2544 จำนวน 7 กองทุน
ปี 2545 จำนวน 16 กองทุน
ปี 2546 จำนวน 10 กองทุน
ปี 2547 จำนวน 19 กองทุน
ปี 2548 จำนวน 19 กองทุน

สถิติการกู้ยืมแยกตามประเภทกองทุ
1. ประเภทกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 63 กองทุน
2. ประเภทกลุ่มจำหน่ายสินค้า จำนวน 1 กองทุน
3. ประเภทกลุ่มอาชีพ จำนวน 27 กองทุน
4 . ประเภทกลุ่มให้บริการและสงเคราะห์ จำนวน 5 กองทุน
รวม 96 กองทุน

 

 

 

 

 

 

เดือนสิงหาคมเคลื่อนไหวเป็นไปเป็นมา

 

กิจกรรมทัศนศึกษาศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 3

สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมกำหนดจัดกิจกรรมทัศนศึกษาศิลปวัฒนธรรมครั้งที่ 3
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสศึกษาศิลปวัฒนธรรม ชมสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ตลอกจนสนับสนุนให้กลุ่มผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
สมาชิกผู้สูงอายุ ลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานครจำนวน 70 คน กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่
1 สิงหาคม 2549 ณ หมู่บ้านอนุรักษ์แคลายไทย ตลาดสามซุก วัดป่าเลย์ไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรเครือข่ายและผู้ปฏิบัติงาน

สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมกำหนดจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ขององค์กรเครือข่ายและผู้ปฏิบัติงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่ายการประสานงานใน
ระดับปฏิบัติ การส่งต่อผู้เดือดร้อน ระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ องค์กร
เอกชน และชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย อาสาสมัครปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี
ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ระดับเขต อาสาสมัครช่วยงานสังคมสงเคราะห์ และผู้เกี่ยวข้อง
จำนวน 140 คน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 20 คนรวมทั้งสิ้น 160 คน จัดกิจกรรมแบบไป-กลับ
ระยะเวลา 1 วัน กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 4 สิงหาคม 2549 ณ สถานสงเคราะห์คนพิการ                               การุณยเวศม์และศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯครบ 36 พรรษา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

กิจกรรม เผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร

สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมกำหนดจัดกิจกรรมเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่ สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุจากสำนักงานเขต 50 เขต จำนวน 150 คน กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 9 ส.ค. 49 ณ ห้องมรกตโรงแรมอินทรารีเจนท์

กิจกรรมสัมมนาและศึกษาดูงานด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมกำหนดจัดกิจกรรม สัมมนาและศึกษาดูงานด้าน
ศาสนาและศิลปวัฒนธรรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาด้านศาสนธรรม
และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมทางสังคม กลุ่มเป้าหมายคือข้าราชการบำนาญกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน กำหนด
จัดกิจกรรมในวันที่ 17 ส.ค. 49 ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา และปราสาทสัจธรรม
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

อบรมอาสาสมัครเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ แนวคิด Home Care แก่ประชาชนรุ่นที่ 2

สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมกำหนดจัดกิจกรรมอบรมอาสาสมัครเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ แนวคิด Home Care แก่ประชาชนรุ่นที่ 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ   และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน จัดกิจกรรมในวันที่ 23-25 ส.ค. 49 ณ โรงแรมปริ้นส์ตัน พาร์ค สวีท เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่

1.หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมพัฒนามาใช้ในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรการทำงานส่งเสริมตามแนวทางโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ มุ่งเน้นให้เกษตรกรร่วมกันทำการศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเองทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีการพบปะกันระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่เพื่อวิ เคราะห์สถานการณ์ในไร่นาสวนตั้งแต่เริ่มปลูกเพื่อจะได้เรียนรู้ ถึงการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละช่วงระยะเวลาการจริญเติบโตแล้วน ำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจจัดการกับพืช ที่ปลูกวิธีการนี้เป็นการฝึกให้เกษตรกรได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเองรวมถึงการนำวิธีการที่ได้ผลจากคำแนะนำของ   ทางราชการมาใช้ทั้งนี้โดยการช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างใกล้ชิดจาก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการหรือผู้อำนวย ความสะดวกในการจัดอบรมโดยสรุปแล้วโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่ให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ให้เกษตรกรได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ไข แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสามารถตัดสินได้ด้วยตนเองในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว
2.วัตถุประสงค์
                1. ให้ความสำคัญเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้ทั้งชายและหญิงได้มี
โอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเท่าๆ กัน
                2.เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ให้กับเกษตรกรในกรุงเทพมหานคร
และเยาวชนผู้สนใจทั่วๆ ไป รวม 26 เขต

3. เป้าหมายโครงการ
เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ และเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วๆ ไป
4 .แนวทางการดำเนินงาน
                1. จัดทำศูนย์การเรียนรู้การเกษตรและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำ ริ สำหรับให้เกษตรกรเข้าอบรมฝึกปฏิบัติ
                2. กำหนดหลักสูตรให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วๆ ไป
                3. ดำเนินการตามแผนการฝึกอบรม และศึกษาดูงาน
5 . ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. เกษตรกรมีความรู้ตามหลักการทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
                2. เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีรายได้ตลอดทั้งปี

ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวันเรียน กรุงเทพมหานคร

ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน
ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนและดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของ
คณะกรรมการชุมชนเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
อาสาสมัคร หมายความว่า บุคคลที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชุมชนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนฯ
ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้อำนวยการเขตศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนได้ดำเนินการ
ภายใต้ภาวะข้อจำกัดหลายประการเช่นงบประมาณสถานที่คับแคบอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กขาดความรู้
ความเข้าใจใจการอบรมดูแลเด็กแม้จะพบว่ามีหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนเข้ามาสนับสนุนและ
มีความส่วนร่วมในการดำเนินงานก็ตามกรุงเทพมหานครก็มิได้นิ่งนอน ใจและพร้อมที่จะให้สนับสนุน
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน จึงเป็นสถานที่รับเลี้ยงและดูแลเด็กในชุมชนด้วยความริเริ่ม
และความพร้อมของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน
โดยมีอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กเป็นกลไกสำคัญที่จะนำบริการทางสังคมไปสู่การพัฒนาตามหลักวิธีการ
ทางจิตวิทยาเพื่อเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชนจักได้รับการพัฒนา ตามควรแก่วัยและมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การศึกษาในระบบโรงเรียนต่อไป

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้