ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เตรียมสอบ องค์กรสวนยาง(อสย.)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เตรียมสอบ องค์กรสวนยาง(อสย.)

แชร์กระทู้นี้

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ องค์การสวนยางไว้ดังนี้
1. ประกอบเกษตรกรรม ซึ่งมีการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญรวมทั้งการสร้างแปลงเพาะและแปลงขยายพันธุ์ยางพารา
2. ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปขาว น้ำยางข้น ยางผง ยางแท่ง ยางชนิดอื่น ๆ และสารประกอบของยางพารา
3. ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา
4. ผลิตและจำหน่ายพลังงานเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรม และกิจการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การสวนยาง
5. ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตามข้อ 1,2,3 และ 4 และเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์เกษตรกรรม
6. อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา

กระทรวงการคลัง ให้ไปซื้อที่ดินสวนยางในตำบลนาบอน และตำบลช้างกลาง อำเภอทุ่งสง และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏว่าซื้อได้ประมาณ 6 – 7 แห่ง รวมเนื้อที่ประมาณ 450 ไร่ และรับฝากขายอีกหลายแปลงเนื้อที่ประมาณ 170 ไร่ ขณะที่ออกหาซื้อที่ดินสวนยาง พระยาอนุวัติวนรักษ์ ได้สำรวจพบสวนยางปลูกใหม่ อายุประมาณ 1 – 2 ปี เป็นจำนวนหลายพันไร่ ปลูกติดต่อกันอยู่ในพื้นที่ที่บุกเบิกใหม่ ปรากฏว่าต่อมาที่ดินปลูกสร้างสวนยางใหม่เหล่านี้ เป็นที่ดินที่มีการบุกเบิกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพิ่งจะมาหักล้างถางพงบุกเบิกปลูกยางเมื่อ 1-2 ปีมานี้เอง อายุของต้นยางเป็นพยานได้ชัดแจ้ง พระยาอนุวัติ วนรักษ์ จึงได้ร่วมมือกับที่ดินจังหวัด ดำเนินการสอบสวนและขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินเพื่อความเรียบร้อยของที่ดินและป่าแห่งนี้ ทางราชการจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2484 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2484 หวงห้ามที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อการเกษตร รวมเนื้อที่ในเขตพระราชกฤษฎีกาประมาณ 12,000 ไร่ ในเนื้อที่ดังกล่าวปรากฏว่ามีต้นยางอ่อนปลูกอยู่แล้วประมาณ 6,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่ สวนยาง 6,000 ไร่ ดังกล่าวนี้ได้ตกมาอยู่ในความดูแลของกองการยาง กรมป่าไม้ กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่าที่ดินแห่งนี้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ในการขยายกิจการด้านสวนยางให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดแผนงานที่จะดำเนินการในสวนยางแปลงนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรชาวสวนยางเท่าที่จะทำได้ โดยกำหนดแผนงานขึ้นในระยะแรกไว้ดังนี้
1. จะดำเนินการขยายยางพันธุ์ดีไปสู่ราษฎร
2. จะส่งเสริมแนะนำเจ้าของสวนให้ดูแลรักษาสวนยางทั้งการกรีด และการทำยางออกจำหน่ายให้ถูกต้องตามหลักวิชา
3. จะทำการค้นคว้าทดลอง เกี่ยวกับกิจการยางในด้านต่าง ๆ ทำนองเดียวกับสถาบันวิจัยยางในมาเลเซีย

          ต่อมาในปลายปี 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น งบประมาณที่จะใช้ตามแผนงานต้องนำไปใช้ด้านการทหาร จึงไม่สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ได้ กองการยางจึงเพียงแต่ดูแลรักษาสวนยางดังกล่าวภายในวงเงินที่ได้รับมาแต่ละปี จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2488 ในระหว่างสงคราม เจ้าหน้าที่กองการยางคณะหนึ่ง ได้เข้าไปซื้อเครื่องมือทำยางแผ่น และยางเครปจากมาเลเซีย (ที่รัฐมาลัย) มาเป็นจำนวนมากเพื่อติดตั้งเตรียมไว้สำหรับทำยางแผ่นและยางเครปต่อไป เพราะในระยะนั้นมีต้นยางขนาดกรีดได้แล้ว ประมาณ 600-800 ไร่ ในระหว่างปี 2485-2490 กิจการสวนยางได้มารวมอยู่ในสังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ดำเนินงานในด้านการเงินคล่องตัวขึ้น จะได้ดำเนินการค้าได้สะดวก
          ในปี 2490 กิจการของสวนยางแปลงนี้ได้โอนไปรวมอยู่กับ บริษัท แร่และยาง จำกัด แต่ยังไม่ทันจะได้ดำเนินการประการใด บริษัทแร่ละยางก็ต้องยกเลิกไป สวนยางแห่งนี้จึงกลับมารวมอยู่กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เช่นเดิม
          ในเดือนตุลาคมปี 2491 กรมสวัสดิการทหารบก กระทรวงกลาโหม ได้มีคำสั่งให้ พ.ท.พร้อม ณ ห้อมเพชร และ พ.อ.ยง ณ นคร ไปศึกษากูกิจการทำสวนยางในสวนยางแห่งนี้ และตกลงใจที่จะเข้าดำเนินการในสวนยางแห่งนี้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2491 โดยกรมสวัสดิการทหารบกจะติดต่อกับกระทรวงเกษตร ให้โอนสวนยางให้แก่กรมสวัสดิการทหารบก แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป สวนยางแห่งนี้จึงยังคงอยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต่อไปตามเดิม เนื่องจากต้นยางในเนื้อที่ 6,000 ไร่ เติบโตได้ขนาดที่จะทำการกรีดเอาน้ำยางมาขายได้ จำเป็นต้องเตรียมการจัดฝึกและจัดหาคนงานมาทำการกรีดยาง ทำการสร้างโรงงานทำยาง ตลอดจนอาคารบ้านพักต่าง ๆ และจะต้องดำเนินงานด้านการผลิตและการขายยางเพื่อปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องแยกงานมาดำเนินการเป็นเอกเทศ และในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 อนุมัติให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้น เรียกว่าองค์การสวนยางนาบอน” สังกัดสำนักปลัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีมติดังนี้
1. ให้กองการยางซึ่งได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายทำสวนยางนาบอนอยู่แล้ว คงดำเนินการต่อไปภายในจำนวนเนื้อที่และวงเงินที่ได้รับ
2. อนุมัติให้ตั้งองค์การสวนยางขึ้นในกระทรวงเกษตร เพื่อดำเนินการทำสวนยางส่วนที่เหลือจากกองการยางทำ

           องค์การสวนยางนาบอน ได้รับทุนจากกระทรวงการคลังมาดำเนินงานในขั้นต้นจากเงินงบประมาณประจำปี 2493 เป็นเงิน 3,400,000 บาท ในการจัดตั้งองค์การสวนยางนาบอนนั้น มีวัตถุประสงค์คือ
ผลิตยางแผ่นรมควันออกจำหน่าย
จำหน่ายน้ำยางสด
ดำเนินกิจการในการผลิตตามหลักวิชาการ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และทำการค้นคว้าทดลองส่งเสริมไปในขณะเดียวกันด้วย
อบรมฝึกเกษตรกรไทยให้มีความรู้ความชำนาญในการผลิตยาง

          นับตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา องค์การสวนยางได้ดำเนินการและขยายงานออกไปหลายประการ เช่น ทดลองสร้างสวนโกโก้ในเนื้อที่ 300 ไร่ (แต่ทำได้ 4 ปี ก็ต้องเลิกไปเพราะพื้นที่ไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้) สร้างสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มเติมในเนื้อที่ว่างเปล่าประมาณ 5,500 ไร่ สร้างสวนกาแฟ ในเนื้อที่ 700 ไร่ สร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำตก เพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในโรงงานผลิตยางและแสงสว่าง และได้สร้างโรงงานผลิตยางเครปจากเศษยาง
          ต่อมาในปี 2504 กระทรวงเกษตรได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง เพื่อให้องค์การสวนยางมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเปลี่ยนซื่อจาก “องค์การสวนยางนาบอน” เป็น “องค์การสวนยาง” ดำเนินกิจการและบริหารงานภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ.2504 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การสวนยางจำนวน 15 คน ประกอบด้วย
 

1.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  (นายธีระ  วงศ์สมุทร)                                                          

ประธานกรรมการ

2.  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  (นายศุภชัย  โพธิ์สุ)                                                 

รองประธานกรรมการ
3.  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  (นายจรัลธาดา  กรรณสูต)

กรรมการ

4.  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  (นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล)

กรรมการ
5.  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง  กรรมการ

6.  ผู้แทนกระทรวงการคลัง 

กรรมการ

7.  ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง  (นายชูชาติ  ตันอังสนากุล) 

กรรมการ
8.  นายทรงกลด  จารุสมบัติ  ด้านอุตสาหกรรมไม้ยางกรรมการ
9.  นายวิจารณ์  วิชชุกิจ  ด้านการเกษตรกรรมการ
10. นายสมคิด  สังขมณี  ด้านกฎหมายกรรมการ
11. นางสาวผ่องเพ็ญ  สัมมาพันธ์  ด้านการพัฒนาสวนยางกรรมการ
12. นายมาโนช  สุวรรณศิลป์  ด้านการพัฒนาสวนยางกรรมการ
13. นายอำนวย  ปะติเส  ด้านบริหารจัดการภาคเอกชนกรรมการ
14. นายอภิชาติ  พงษ์ศรีหดุลชัย  ด้านบริหารจัดการเกษตรภาครัฐกรรมการ
15. นายนิพนธ์  วงษ์ตระหง่าน  ด้านการตลาดและการจัดการเกษตรกรรมการ

          หมายเลข 1 - 7   เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
          หมายเลข 8 - 15 เป็นกรรมการโดยการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้