ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : หลักสูตรการสอบกรุงเทพมหานคร กทม. แนวใหม่
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

หลักสูตรการสอบกรุงเทพมหานคร กทม. แนวใหม่

แชร์กระทู้นี้

ภาค ก. กทม. แนวใหม่ วิเคราะห์ได้ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 (50 ข้อ) ในส่วนของวิชาความสามารถในการวิเคราะห์สรุปเหตุผล 

1. วิเคราะห์ปริมาณสดมภ์ 5 ข้อ

2. วิเคราะห์ข้อมูลน่าเชื่อถือ 5 ข้อ

3. เงื่อนไขภาษาและการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง 18 ข้อ

4. แผนภูมิตรรกวิทยา 2 ข้อ

5. ตรรกวิทยา 5 ข้อ

6. กฎหมาย กทม. และกฎหมายระเบียบพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ 10 ข้อ

7. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น 5 ข้อ 

ส่วนที่ 2  เป็นวิชาภาษาไทย 50 ข้อ ออกเรื่อง

1. การเลือกใช้คำ กลุ่มคำ

2. การเรียงลำดับข้อความ

4. การอ่านบทความยาว

5. การอ่านสรุปความตีความ

เรื่องที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (สถิติออก 10 ข้อ)

จำหน่ายเอกสารเตรียมสอบพนักงาน กรุงเทพมหานคร ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 
ประกอบด้วย
1. แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์)
2.แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
3. ข้อสอบความรอบรู้ในการปฎิบัติราชการ
-แนวข้อสอบการปกครองท้องถิ่น หลักธรรมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักสิทธิมนุษยชน
-แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
-แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบข้าราชการและบุคคลากรกรุงเทพมหานคร
-แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารราชการ
-แนวข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบัญ
-แนวข้อสอบระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยงานสารบัญ
แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)
- พนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฎิบัติงาน / ปฎิบัตรการ
- นายช่างโยธาปฎิบัติงาน / ปฎิบัติการ
- นายช่างสำรวจปฎิบัติงาน
- เจ้าหน้าที่รักษาความสอาจ
- พนักงานปกครองปฎิบัติงาน
- พนักงานจัดเก็บรายได้
- พนักงานห้องสมุดปฎิบัติงาน
- เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฎิบัติงาน / ปฎิบัติการ
- นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ
และตำแหน่งอื่นๆ

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 บิ๊กซีขอนแก่น
decho pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

1.        พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528  ตราเป็นกฎหมายเมื่อใด

ก.       20  มกราคม  2528                                                               ค. 20  มิถุนายน  2528

ข.       20  มีนาคม  2528                                                 ง. 20  สิงหาคม  2528

ตอบ  ง. 20  สิงหาคม  2528

2.        การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วยกี่ส่วน

ก.       ประกอบด้วย  2 ส่วน   คือ  ประธานสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข.       ประกอบด้วย  2 ส่วน   คือ  สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.       ประกอบด้วย  3 ส่วน   คือ  ประธานสภากรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขต

ง.       ประกอบด้วย  3 ส่วน   คือ  สภากรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต

ตอบ  ประกอบด้วย  2 ส่วน   คือ  สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

3.        ประธานสภา และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร จะดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภากรุงเทพมหานครได้เมื่อใด

ก.       เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายชื่อ

ข.       เมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครประกาศรายชื่อ

ค.       เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อ

ง.       ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก

ตอบ    ง. ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก

 

4.        ในปีหนึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไว้อย่างไรฃ

ก.       สมัยประชุมสามัญมีจำนวน  2  สมัย

ข.       สมัยประชุมสามัญมีจำนวน  3  สมัย

ค.       สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า  2  สมัย แต่ต้องไม่เกิน  3  สมัย

ง.       สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า  3  สมัย แต่ต้องไม่เกิน  4  สมัย

ตอบ   สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า  3  สมัย แต่ต้องไม่เกิน  4  สมัย

5.        คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละกี่ปี

ก.       1  ปี                                                                         ค.  3 ปี

ข.       2  ปี                                                                         ง.  4  ปี

ตอบ   ข. 2  ปี               

6.        ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการประจำรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรียกตำแหน่งว่าอย่างไร

ก.       เลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                          ค. ผู้ช่วยเลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข.       เลขนุการผู้ว่ารองราชการกรุงเทพมหานคร   ง. เลขนุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ตอบ   ค. ผู้ช่วยเลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

7.        ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจแต่งตั้งประธานที่ปรึกษาและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้จำนวนกี่คน

ก.       จำนวน   7  คน                                                     ค. จำนวน  9  คน

ข.       จำนวนไม่เกิน  7  คน                                          ง. จำนวนไม่เกิน  9  คน

ตอบ  ง. จำนวนไม่เกิน  9  คน

8.     ผู้บังคับบัญชาในส่วนราชการใดของกรุงเทพมหานครที่มีผู้บังคับบัญชาเป็นข้าราชการการเมือง

ก.       สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร

ข.       สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.       สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.       สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร

ตอบ   ข. สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

9.     ประธานสภาเขต และรองประธานสภาเขต ดำรงตำแหน่งตามวาระได้คราวละกี่ปี

ก.       1  ปี                                                                         ค.  3  ปี

ข.       2  ปี                                                                         ง.  4  ปี

ตอบ   ก. 1  ปี               

10.      ใครเป็นผู้นัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกสภาเขตมาประชุมเป็นครั้งแรก

ก.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                 ค. ประธานสภากรุงเทพมหานคร

ข.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                                           ง. ผู้อำนวยการเขต

ตอบ  ง. ผู้อำนวยการเขต

11.     ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ก.       รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้

ข.       กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ผู้รักษาราชการแทนคือปลัดกรุงเทพมหานคร

ค.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ง.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ   ง. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

12.     พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2528 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุผลอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ในเวลาใด

ก.       เวลา  06.00 น. ถึง 18.00 น.

ข.       เวลา  06.00 น. ถึง 17.00 น.

ค.       เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

ง.       เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการของสถานที่นั้น

ตอบ  ง. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการของสถานที่นั้น

13.     ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครแล้วจะถือใช้เป็นกฏหมายได้ใครเป็นผู้ลงนาม (กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครภายใน  30 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร)

ก.       ประธานสภากรุงเทพมหานคร                                         ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ข.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                                           ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตอบ   ก. ประธานสภากรุงเทพมหานคร

14.ใครเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา

ก.       ประธานสภากรุงเทพมหานคร                         ค. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

ข.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                           ง. ราษฎร์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร

ตอบ   ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

15.     กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติให้เก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซปิโตรเลียมที่ขายในเขตกรุงเทพมหานครไม่เกินลิตรละกี่สตางค์

ก.       ไม่เกินลิตรละ  5  สตางค์                                    ค. ไม่เกินลิตรละ  25  สตางค์

ข.       ไม่เกินลิตรละ 10  สตางค์                                  ง. ไม่เกินลิตรละ  50  สตางค์

ตอบ  ก. ไม่เกินลิตรละ  5  สตางค์

16.     ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้โดยมีขั้นตอนอย่างไร

ก.       ขออำนาจศาลออกหมายยึดหรือสั่งก่อน

ข.       แจ้งให้กรมสรรพากรดำเนินการแทนกรุงเทพมหานคร

ค.       แจ้งตำรวจและศาลดำเนินการไปพร้อมๆกัน

ง.       ดำเนินการได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง

ตอบ  ง.  ดำเนินการได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง

17.     ข้อใดเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร

ก.       ค่าใช้สอย                                                              ค. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม

ข.       เงินเดือน                                                               ง. ค่าสาธารณูปโภค

ตอบ   ค. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม

 

18.     หน่วยงานใดเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี การเงิน  และทรัพย์สินอื่นๆของกรุงเทพมหานคร

ก.       กรมบัญชีกลาง                                                     ค. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ข.       สำนักงบประมาณ                                               ง. กรมสรรพากร

ตอบ  ค. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

19.     ใครเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร

ก.       อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น          ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ข.       อธิบดีกรมการปกครอง                                       ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตอบ  ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

20.     รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีจำนวนกี่คน

ก.        2  คน                                                                     ค.  ไม่เกิน  3  คน

ข.         3  คน                                                                    ง. ไม่เกิน  4  คน

ตอบ  ง. ไม่เกิน  4  คน

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

1.                   พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ไว้ ณ วันที่เท่าใด

ก.       ๒๓  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๔

ข.       ๒๓  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔

ค.       ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔

ง.       ๒๓  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔

ตอบ       ค.  ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔

2.                   ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด

ก.       ทันทีที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข.       หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งวัน

ค.       หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งอาทิตย์

ง.       หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งเดือน

ตอบ       ข.  หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งวัน

                มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3.                   พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศยกเลิก

ก.       พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

ข.       พระราชบัญญัติระเบียบบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

ค.       พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

ง.       พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๕

ตอบ       ก.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

 

 

มาตรา ๓  ให้ยกเลิก

(๑)         พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

(๒)       พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒

4.                   ข้าราชการกรุงเทพมหานคร  หมายความว่า

ก.       ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาตามที่ ก.ก. กำหนด

ข.       บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร

ค.     ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร  แต่ไม่รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร

ง.     บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร

ตอบ       ง.  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร

                มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้

                                ข้าราชการกรุงเทพมหานคร  หมายความว่า  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับ

           ราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครหรือจากเงิน

           งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็น

           เงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

5.                   บุคคลใดเป็นผู้รักษาพระราชบัญญัติฉบับนี้

ก.       นายกรัฐมนตรี

ข.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.       ประธานสภากรุงเทพมหานคร

ตอบ       ก.  นายกรัฐมนตรี

                มาตรา ๖  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัติ

6.                   ก.ก.  เป็นคำย่อของอะไร

ก.       คณะกรรมการกำหนดระเบียบข้าราชการ

ข.       คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.       คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.       คณะกรรมการกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ตอบ       ข.  คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

                                มาตรา ๗  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า  “คณะกรรมการข้าราชการ

            กรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร”  เรียกโดยย่อว่า  “ก.ก.”  ประกอบด้วย

(๑)         ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เป็นประธานกรรมการ

(๒)     กรรมการโดยตำแหน่ง  จำนวนห้าคน  ได้แก่  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  เลขาธิการ ก.พ.  เลขาธิการ ก.พ.ร.  เลขาธิการ ก.ค.ศ.  และเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา

(๓)     กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร  จำนวนสี่คน  ได้แก่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย  ปลัดกรุงเทพมหานคร  ผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร

(๔)     กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง  จำนวนห้าคน  ได้แก่

(ก)         ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ  จำนวนสองคน

(ข)         ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร  จำนวนสองคน

(ค)         ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา  จำนวนหนึ่งคน

(๕)     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งกรรมการตาม (๑)  (๒)  (๓) และ (๔)  ประชุมร่วมกันคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้  ความเชี่ยวชาญ  และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานส่วนท้องถิ่น  ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล  ด้านระบบราชการ  ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย  ด้านการศึกษา  หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร  จำนวนห้าคน

7.                   ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคือใคร

ก.       นายกรัฐมนตรี

ข.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.       ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.       ปลัดกรุงเทพมหานคร

ตอบ       ค.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

8.                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้ในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีจำนวนเท่าใด

ก.       จำนวน    คน

ข.       จำนวน    คน

ค.       จำนวน    คน

ง.       จำนวน    คน

ตอบ       ค.  จำนวน    คน

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

 

9.                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  ยกเว้นข้อใด

ก.       มีสัญชาติไทย

ข.       อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์

ค.       ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ง.       มีเงินเดือนประจำ

ตอบ       ง.  มีเงินเดือนประจำ

                มาตรา ๘  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑)         มีสัญชาติไทย

(๒)       มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์

(๓)        ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  คนไร้ความสามารถ  หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๔)     ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๕)        ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

ฯลฯ

10.                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

ก.         ปี

ข.         ปี

ค.         ปี

ง.         ปี

ตอบ       ง.    ปี

                                มาตรา ๙  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครมี

            วาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี

                                เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง  หากยังมิได้มีการคัดเลือกกรรมการขึ้นใหม่ให้

            กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่ง

            ได้รับคัดเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้