ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ 1-3 อปท.อบต.เทศบาล
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ 1-3 อปท.อบต.เทศบาล

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ  ระเบียบมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541  และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

1. ระเบียบฉบับนี้ให้ยกเลิกระเบียบฉบับใด

ก. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

ข. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเทศบาล พ.ศ. 2528

ค. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณสุขาภิบาล พ.ศ. 2531

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                ข้อ 3  ให้ยกเลิก

1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเทศบาล พ.ศ. 2528

3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณของสุขาภิบาล พ.ศ. 2531

4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเมืองพัทยา พ.ศ. 2531

5. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538

2. ผู้รักษาการตามระเบียบฉบับนี้คืออะไร

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ค. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด

ตอบ        ข.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย

                                ข้อ 4  ให้ปลัดกระทรวงหมาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้  และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา  ยกเว้นการปฏิบัติการตามระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์  และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

 ปลัดกระทรวงมหาดไทย  อาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคแรกให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้

3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น หมายความว่า

ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข. คณะเทศมนตรี

ค. ประธานกรรมการสุขาภิบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                “คณะผู้บริหารท้องถิ่น”  หมายความว่า  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  คณะเทศมนตรี  ประธานกรรมการสุขาภิบาล ปลัดเมืองพัทยา  และคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล

4. เจ้าหน้าที่งบประมาณ หมายความว่า

ก. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข. ปลัดเทศบาล , ปลัดสุขาภิบาล

ค. หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา , ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                “เจ้าหน้าที่งบประมาณ”  หมายความว่า  ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาล  ปลัดสุขาภิบาล  หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา  และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่งบประมาณ

ก. เรียกให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนองบประมาณรายรับและรายจ่ายตามแบบและหลักเกณฑ์พร้อมด้วยรายละเอียดที่กำหนดตามระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย

ข. วิเคราะห์งบประมาณ และการจ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ

ค. สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสาร งบประมาณและรวบรวมเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                ข้อ 8  ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณมีอำนาจหน้าที่จัดทำงบประมาณกับปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้  และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานงบประมาณ ดังต่อไปนี้

1. เรียกให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนอประมาณการรายรับ และรายจ่ายตามแบบ  และหลักเกณฑ์พร้อมด้วยรายละเอียดที่กำหนดไว้ตามระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย

2. วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ

3. สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารงบประมาณ และรวบรวมเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี

6. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  อาจทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด

ก. กระทรวงมหาดไทย

ข. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ค. สภาท้องถิ่น

ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ        ค.  สภาท้องถิ่น

                                ข้อ 11  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น

7. เงินงบประมาณประเภทใดที่อาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้

ก. งบประมาณรายจ่ายทั่วไปกับงบประมาณกลาง

ข. งบประมาณเพิ่มเติมกับงบประมาณเฉพาะการ

ค. งบประมาณเฉพาะการกับงบประมาณรายจ่ายทั่วไป

ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ        ค.  งบประมาณเฉพาะการกับงบประมาณรายจ่ายทั่วไป

                                ข้อ 12   งบประมาณรายจ่ายทั่วไป  และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ  อาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้

8. รายจ่ายตามแผนงานจำแนกเป็นสองลักษณะ  ลักษณะที่ 1 เป็นลักษณะรายจ่ายประจำ  อยากทราบว่ารายจ่ายลักษณะที่สองคือรายจ่ายเพื่อการลงทุนประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก. หมวดค่าครุภัณฑ์

ข. ค่าที่ดิน

ค. ค่าสิ่งก่อสร้าง

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                ข้อ 14   รายจ่ายตามแผนงาน  จำแนกเป็นสองลักษณะคือ

1. รายจ่ายประจำ  ประกอบด้วย

ก. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

ข. หมวดค่าจ้างชั่วคราว

ค. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

ง. หมวดค่าสาธารณูปโภค

จ. หมวดเงินอุดหนุน

ฉ. หมวดรายจ่ายอื่น ๆ

2. รายจ่ายเพื่อการลงทุน  ประกอบด้วย  หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและก่อสร้าง  รายละเอียดประเภทจ่ายงบกลาง  หมวดรายจ่ายต่าง ๆ และเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด

9. ประมาณรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วยเงินหมวดใดบ้าง

ก. หมวดภาษีอากร

ข. หมวดค่าธรรมเนียม  ค่าปรับและใบอนุญาต

ค. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ        ง.  ถูกทุกข้อ

                                ข้อ 17   ประมาณการรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วยรายได้ที่จำแนกเป็น

1. หมวดภาษีอากร

2. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับใบอนุญาต

3. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน

4. หมวดรายได้จากสาธารณูปโภค  และกิจการพาณิชย์

5. หมวดเงินอุดหนุน

6. หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด

10. รายละเอียดประเภทรายได้ และรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่าย  เฉพาะการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้เป็นไปตามที่หน่วยงานใดกำหนด

ก. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ข. กรมการปกครอง

ค. สภาท้องถิ่น

ง. กระทรวงมหาดไทย

ตอบ        ข.  กรมการปกครอง

                                ข้อ 18  รายละเอียดประเภทรายได้  และรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด

11. การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ต่อเมื่อ

ก. งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย

ข. มีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่

ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.

ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ        ค.  ถูกทั้ง ก. และ ข.

                                ข้อ 21     การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  จะกระทำได้ต่อเมื่องบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติแล้วไม่พอกับการใช้จ่าย  หรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่  ทั้งนี้ ต้องแสดงให้ปรากฎในงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวด้วยว่า  จะจ่ายจากเงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ  หรือจากเงินรายได้ที่เกินยอดรวมทั้งสินของประมาณการรายรับประจำปี

12. เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น  ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปี  ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรายจ่าย  และจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งเพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่นภายในวันที่เท่าใดของเดือนสิงหาคม

ก. 15 สิงหาคม

ข. 20 สิงหาคม

ค. 25 สิงหาคม

ง. 30 สิงหาคม

ตอบ        ก.  15  สิงหาคม

                                ข้อ 22   ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำงบประมาณการรายรับ  และประมาณการรายจ่าย  และให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมรายงานการเงินสถิติต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ

                                ข้อ 23   ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณทำการพิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในชั้นต้น  แล้วเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น

 เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น  ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปีแล้ว  ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวม  และจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่น  ภายใน 15 สิงหาคม

13. ใครเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติการโอนเงินงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ

ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข. เจ้าหน้าที่งบประมาณ

ค. สภาท้องถิ่น  โดยความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด

ง. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

ตอบ        ง.  คณะผู้บริหารท้องถิ่น

                                ข้อ 26   การโอนงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของคณะผู้บริหารท้องถิ่น

 

14. การโอนเงินในหมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ทำในลักษณะประมาณ คุณภาพเปลี่ยน  หรือโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่เป็นอำนาจของใคร

ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข. สภาท้องถิ่น

ค. คณะผู้บริหาร

ง. เจ้าหน้าที่งบประมาณ

ตอบ        ข.  สภาท้องถิ่น

                                ข้อ 27   การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ทำให้ลักษณะ ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยน หรือโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่  ให้เป็นอำนาจอนุมัติของสภาท้องถิ่น

15. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณรายจ่ายหรืองบประมาณรายจ่ายให้เป็นอำนาจอนุมัติใคร

ก. สภาท้องถิ่น

ข. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

ค. เจ้าหน้าที่งบประมาณ

ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ        ข.  คณะผู้บริหารท้องถิ่น

                                ข้อ 28   การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณการรายรับหรืองบประมาณรายจ่ายให้เป็นอำนาจอนุมัติของคณะผู้บริหารท้องถิ่น


                              ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว                        

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
111111111111111
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ดดด
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
azy777 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
สุชา ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะสำหรับสิ่งดีๆ (แนวข้อสอบ)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. อบจ.
วิชาความรู้ทั่วไปที่ใช้สอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. อบจ.
ดาวน์โหลดที่    http://www.ziddu.com/download/14183758/testthai1.doc.html
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
hnunid ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
heartbeat ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอให้สอบได้น่ะ   
1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร 
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ 
ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ 
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร* 
ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร 
2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด 
ก.1 มิถุนายน 2516 
ข.1 มิถุนายน 2526* 
ค.1 ตุลาคม 2526 
ง.1 ธันวาคม 2527 
3.หนังสือราชการคืออะไร 
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย 
ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ* 
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ 
ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ 
4.งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร 
ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว 
ข.ประหยัดแรงงานและเวลา 
ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง 
ง.ถูกทุกข้อ * 
5.ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ 
ก.มีความรู้ภาษาไทย 
ข.มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ 
ค.ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และค. ประกอบกัน * 
6.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด 
ก.หนังสือภายนอก* 
ข.หนังสือภายใน 
ค.หนังสือประทับตรา 
ง.หนังสือประชาสัมพันธ์ 
7.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ 
ก. เรื่อง 
ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ 
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย 
ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย* 
8.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร 
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน 
ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน 
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน 
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. * 
9.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด 
ก.แบบฟอร์ม* 
ข.การเก็บหนังสือ 
ค.ผู้ส่งและผู้รับ 
ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง 
10.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง 
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม 
ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง 
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา 
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. * 
11.ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน 
ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง 
ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง 
ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน 
ง.ไม่มีข้อถูก * 
12.หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด 
ก.ใช้กระดาษตราครุฑ* 
ข.ใช้กระดาษบันทึก 
ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา 
ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน 
13.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด 
ก.ประทับตรา 
ข.สั่งการ 
ค.ประชาสัมพันธ์ * 
ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น 
จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 14 ถึง 17 
ก.แถลงการณ์ ข.ข้อบังคับ 
ค.คำสั่ง ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และค. 
14.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย* ข 
15.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน* ก 
16.บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย* ค 
17.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน* ง 
18.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา 
ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ 
ค.ปฏิบัติโดยเร็ว* 
ง.ปฏิบัติทันที 
19.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ 
ก.ใต้รูปครุฑ 
ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก * 
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้ 
ง .ผิดทุกข้อ 
20.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง… 
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด 
ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน 
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา 
ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ* 

21.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด 
ก.หนังสือภายใน 
ข.หนังสือสั่งการ 
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์ 
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ* 
22.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ 
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป 
ข.หัวหน้าแผนก 
ค.หัวหน้าฝ่าย 
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย* 
23.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด 
ข.ปฏิบัติโดยเร็ว 
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ * 
ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา 
24.ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ 
ก.สำเนาต้นฉบับ 
ข.สำเนาคู่ฉบับ* 
ค.สำเนาซ้ำฉบับ 
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค. 
25.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป 
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ 
ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ 
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน* 
ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน 
26.การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ 
ก.ระดับ 2* 
ข.ระดับ 3 
ค.ระดับ 4 
ง.ระดับ 5 
27.การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ 
ก.ริมกระดาษด้านบนขวา 
ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย 
ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย* 
ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด 
28.หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ 
ก.ด้านบนขวา 
ข.ด้านล่างซ้าย 
ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด* 
ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด 
29.การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน 
ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา 
ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา 
ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง * 
ง.ตรงไหนก็ได้ 
30.ตั้งแต่ข้อ 30 ถึง 33 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้ 
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย 
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน 
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย 
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง 
30.เลขที่หนังสือออก* ก 
31.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ* ง 
32.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง* ค 
33.ด่วนมาก* ข 
34.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี 
ก.5 ปี 
ข.10 ปี * 
ค.15 ปี 
ง.20 ปี 
35.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร 
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม* 
ข.บอกเรื่องที่จะประชุม 
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน 
ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว 
36.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร 
ก.เวลาเลิกประชุม 
ข.ผู้จดรายงานการประชุม* 
ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม 
ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม 
37.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติด แบ่งเป็นกี่ประเภท 
ก.4 
ข.3* 
ค.2 
ง.ประเภทเดียว 
38.การเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) คำว่าด่วน หรือด่วนมาก จะต้องเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) ไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ 
ก.ท้ายหนังสือ 
ข.ให้เห็นได้ชัด* 
ค.บนหัวหนังสือ 
ง.ตรงไหนก็ได้ 
39.การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก 
ก.แบบฟอร์ม* 
ข.ใจความ 
ค.วรรคตอน 
ง.ตัวสะกดการันต์ 
40.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด 
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี 
ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ 
ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.* 
41.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ 
ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ 
ข.ประทับตรารับหนังสือ 
ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร 
ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ* 
42.การร่างหนังสือคืออะไร 
ก.การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ 
ข.การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ 
ค.การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง 
ง.การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ* 
43.เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์ 
ก.ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน 
ข.ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด 
ค.ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัดระวัง 
ง.ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน* 
44.การเสนอหนังสือคืออะไร 
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ 
ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ 
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา* 
45.การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร 
ก.ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ 
ข.ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ 
ค.ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป* 
ง.ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ 
46.ภาพข้างล่างนี้คืออะไร 
(ชื่อส่วนราชการ) 
เลขรับ…………………………….. 
วันที่………………………………. 
เวลา………………………………. 
ก.ใบรับหนังสือ 
ข.ทะเบียนหนังสือรับ 
ค.ตราประทับสำหรับลงรับหนังสือ* 
ง.ตราประทับสำหรับส่งหนังสือ 
47.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ 
ก.ทะเบียนรับ 
ข.ทะเบียนจ่าย* 
ค.ทะเบียนส่ง 
ง.ทะเบียนเก็บ 
48.ตามที่ได้มีช่อง “การปฏิบัติ” ไว้ในทะเบียนรับ-ส่ง หนังสือนั้น เพื่อประโยชน์อะไร 
ก.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นใครเป็นผู้ส่งมา 
ข.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นจะต้องส่งไปที่ไหน 
ค.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร 
ง.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นได้มีการปฏิบัติการไปแล้วเพียงใด* 
49.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด 
ก.2 
ข.3 
ค.4* 
ง.5 
50.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว 
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ* 
ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ 
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว 
ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ 
51.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด 
ก.การค้นหา* 
ข.การตรวจสอบ 
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ 
ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย 
52.ใบรับหนังสือมีประโยชน์อย่างไร 
ก.แสดงว่าหนังสือนั้นไม่สูญหาย 
ข.แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว 
ค.เป็นหลักฐานว่าผู้ส่งได้ส่งหนังสือแล้ว 
ง.เป็นหลักฐานว่าได้ส่งหนังสือและมีผู้รับหนังสือนั้นไปแล้ว* 
53.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้ 
ก.หนังสือภายนอก 
ข.หนังสือภายใน 
ค.หนังสือสั่งการ 
ง.หนังสือประทับตรา* 
54.ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี 
ก.ผู้ร่าง 
ข.ผู้พิมพ์ 
ค.ผู้สั่งพิมพ์* 
ง.ผู้ตรวจ-ทาน 
55.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง 
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง 
ข.แผนก กรม กอง กระทรวง 
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก 
ง.กระทรวง กรม กอง แผนก* 
56.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง 
ก.ที่มุมบนขวา* 
ข.ที่มุมบนซ้าย 
ค.ที่มุมล่างซ้าย 
ง.ที่มุมล่างขวา 
57.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง 
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ 
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ 
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ 
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ* 
58.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด 
ก.หนังสือภายใน 
ข.หนังสือภายนอก 
ค.หนังสือราชการด่วน 
ง.หนังสือราชการลับ* 
59.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใด 
ก.คำขึ้นต้น 
ข.คำลงท้าย 
ค.การลงชื่อ 
ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.* 
60.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร 
ก.แดง* 
ข.ดำ 
ค.น้ำเงิน 
ง.เขียว 
61.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด 
ก.คำสั่ง 
ข.ระเบียบ 
ค.ข้อบังคับ 
ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.* 
62.บรรทัดสุดท้ายของหนังสือสั่งการทุกประเภทจะต้องเป็นข้อความที่ระบุอะไร 
ก.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ 
ข.ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ 
ค.ตำแหน่งของผู้มีอำนาจออกหนังสือ* 
ง.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือ 
63.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่ 
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ 
ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย* 
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้ 
ง.ไม่มีคำตอบถูก 
64.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร 
ก.เรียน 
ข.กราบเรียน 
ค.ถึง 
ง.นมัสการ* 
65.ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร 
ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน 
ข.ทำงานแทน 
ค.รักษาราชการแทน * 
ง.ปฏิบัติราชการแทน 
66.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด 
ก.เรื่องเร่งด่วน 
ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ 
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน 
ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน* 
67.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ 
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ* 
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน 
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ 
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง 
68.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร 
ก.ทรงเครื่อง* 
ข.แต่งพระองค์ 
ค.ทรงเครื่องใหญ่ 
ง.ทรงพระสุคนธ์ 
69.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร 
ก.ไม่สบาย 
ข.ประชวร 
ค.อาพาธ* 
ง.ทรงพระประชวร 
70.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร 
ก.เดินทาง 
ข.ฟังเทศน์ 
ค.ทำบุญ* 
ง.ไปวัด 
71.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร 
ก. พระรูป 
ข.กระจกส่อง* 
ค.หวี 
ง.ช้อนส้อม 
72.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์ 
ก.ถึงแก่กรรม 
ข.มรณกรรม 
ค.อสัญกรรม * 
ง.พิราลัย 
73.อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี 
ก.5 ปี 
ข.10 ปี* 
ค.15 ปี 
ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ 
74.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลักต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี 
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ 
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด 
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ* 
75.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน 
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ 
ข.ประจำแผนก 
ค.หัวหน้าแผนก 
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย* 
76.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี 
ก.1 ปี* 
ข.1 ปี 6 เดือน 
ค.2 ปี 
ง.3 ปี 
77.ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการจะต้องเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งระดับใดขึ้นไป 
ก.หัวหน้าแผน 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง* 
ง.รองอธิบดี 
78.ถ้าปรากฏว่าหนังสือราชการที่เก็บไปสูญหายไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก.ติดต่อเจ้าของเรื่องเดิมเพื่อหาสำเนามาแทน* 
ข.เรียกตัวผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่หายมาสอบถาม 
ค.ปล่อยไปเลยแต่ให้หมายเหตุว่าเรื่องหาย 
ง.ผิดทั้ง ก. ข. และ ค. 
79.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน 
ก.2 คน 
ข.3 คน* 
ค.4 คน 
ง.5 คน 
80.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด 
ก.อธิบดี 
ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี 
ค.ปลัดกระทรวง 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี* 
81.คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป 
ก.ระดับ 2 
ข.ระดับ 3* 
ค.ระดับ 4 
ง.ระดับใดก็ได้ 
82.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ผู้ใด 
ก.ปลัดจังหวัด 
ข.อธิบดี 
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด 
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด* 
83.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่มีความสูงเท่าไร 
ก.2.5 ซม. 
ข.3.0 ซม.* 
ค.3.5 ซม. 
ง.4.0 ซม. 
84.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร 
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม. 
ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม. 
ค. 4.5 ซม.และ 3.5 ซม. * 
ง.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้ 
85.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด 
ก.2 ขนาด* 
ข.3 ขนาด 
ค.4 ขนาด 
ง.5 ขนาด 
86.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป 
ก.หัวหน้าแผนก* 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง 
ง.รองอธิบดี 
87.การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วของกระทรวงต่างๆ ตามปกติเป็นหน้าที่ของใคร 
ก.แผนกสารบรรณของแต่ละกรม 
ข.แผนกเก็บกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวง 
ค.ฝากเก็บที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.* 
88.การยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการ ผู้มีอำนาจในการดำเนินการยืมจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตำแหน่งระดับใดขึ้นไป 
ก.หัวหน้าแผนก 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง* 
ง.รองอธิบดี 
89.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป 
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 
ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน 
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.* 
90.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร 
ก.อธิบดี 
ข.ปลัดกระทรวง 
ค.ข้าราชการระดับ 5 
ง.ถูกหมดทุกข้อ* 
026: "หนังสือภายใน" หมายถึง 
1. :หนังสือที่ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน 
2. :หนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน 
3. :หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
027:ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ 
1. :บันทึกข้อความ 
2. :ข้อบังคับ 
3. :ประกาศ 
4. :คำสั่ง:3 
028:ลักษณะของผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีคือ 
1. :ผู้มีความรู้ภาษไทยดี 
2. :ผู้รู้ระเบียบงานสารบรรณดี 
3. :ผู้ที่สามารถติดต่อ โต้ตอบ ประสานงานคล่องแคล่ว ว่องไว 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
029:ในงานสารบรรณ "หนังสือ" หมายถึง 
1. :หนังสือเรียน 
2. :หนังสือราชการ 
3. :หนังสือนอกหลักสูตร 
4. :หนังสือทุกประเภท:2 
030:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเรียกว่าอะไร 
1. :คำสั่ง 
2. :ข้อบังคับ 
3. :ระเบียบ 
4. :กฎกระทรวง:1 
031:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เรียกว่าอะไร 
1. :แถลงการณ์ 
2. :ประกาศ 
3. :คำสั่ง 
4. :ข่าว:4 
032:หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานราชการหรือมีถึงบุคคลภายนอก คือ 
1. :หนังสือภายใน 
2. :หนังสือภายนอก 
3. :หนังสือประทับตรา 
4. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน:2 
033:การเก็บเอกสารที่ดีที่สุดควรปฏิบัติอย่างไร 
1. :เก็บเอกสารที่มีระบบเดียวตลอด 
2. :เก็บเอกสารที่มีอุปกรณ์พร้อม 
3. :เก็บเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ 
4. :เก็บเอกสารให้เป็นปัจจุบัน:4 
034:จุดประสงค์ที่สำคัญในการจัดเก็บเอกสารอย่างมีระบบไว้ในที่เดียวกัน คือ 
1. :ค้นหาเอกสารได้ทันท่วงที 
2. :เพื่อความปลอดภัยและเอกสารจะอยู่อย่างเป็นระเบียบ 
3. :เพื่อรวบรวมเอกสารไว้ในแหล่งที่มีผู้รับผิดชอบเป็นสัดส่วน 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
035:จดหมายราชการ ไม่ควรใช้สำนวนในข้อใด 
1. :ภาษานักประพันธ์หรือภาษาพูด 
2. :ถูกต้องตามสากลนิยม 
3. :เรียบร้อย 
4. :สุภาพ:1 
097:ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด 
1. :1 มกราคม 2526 
2. :1 มิถุนายน 2526 
3. :1 ตุลาคม 2526 
4. :1 เมษายน 2526:2 
098: ผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณคือใคร 
1. :นายกรัฐมนตรี 
2. :เลขาธิการ ก.พ. 
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
4. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย:3 
099: หนังสือราชการมีกี่ชนิด 
1. :3 ชนิด 
2. :4 ชนิด 
3. :5 ชนิด 
4. :6 ชนิด:4 
100: หนังสือราชการคืออะไร 
1. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ 
2. :เอกสารที่เป็นหนังสือสำคัญ 
3. :เอกสารที่เจ้าหน้าที่เรียกร้องให้นำส่ง 
4. :เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่ต้องติดแสตมป์:1 
ตอบ No. 2 
101: ตัวครุฑที่ใช้กระดาษราชการมี 2 ขนาด คือ ครุฑกลางสูง 3 ซม. ครุฑเล็กสูงเท่าใด 
1. :2.5 ซม. 
2. :2.0 ซม. 
3. :1.5 ซม. 
4. :1.0 ซม.:3 
102: การรับหนังสือมีวิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนอย่างใดตามลำดับก่อนหลัง 
1. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงชื่อรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ 
2. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงทะเบียนรับ ประทับตราหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงชื่อรับหนังสือ 
3. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ 
4. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ:4 
103: หนังสือราชการคือ 
1. :เอกสารทางราชการ 
2. :เอกสารที่ราชการทำขึ้น 
3. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ 
4. :เอกสารโต้ตอบในราชการ :3 
104: หนังสือภายนอกให้ใช้กระดาษชนิด 
1. :กระดาษบันทึกข้อความ 
2. :กระดาษตราครุฑ 
3. :กระดาษบันทึกหรือตราครุฑก็ได้ 
4. :กระดาษที่ราชการกำหนด:2 
105: หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด 
1. :การส่งสิ่งของเอกสารหรือบรรณสารระหว่างส่วนราชการ 
2. :คำแนะนำ 
3. :แถลงการณ์ 
4. :หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ:1 
106: หนังสือที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป เช่น 
1. :เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน 
2. :เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ 
3. :เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 
4. :ถูกทุกข้อ:3 
107: กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน 
1. :2 คน 
2. :3 คน 
3. :4 คน 
4. :เท่าใดก็ได้:2 
108: ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรี คำขึ้นต้นให้ใช้คำว่า 
1. :กราบเรียน 
2. :เรียน 
3. :เสนอ 
4. :ขอประธานกราบเรียน:2 
109: การจดบันทึก หรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี 
1. :1 วิธี 
2. :2 วิธี 
3. :3 วิธี 
4. :4 วิธี:3 
110: หนังสือประทับตรา คืออะไร 
1. :หนังสือที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นคนลงนาม 
2. :หนังสือติดต่อราชการที่เป็นพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกและภายใน 
3. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป 
4. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป:3 
111: หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด 
1. :2 ชนิด 
2. :3 ชนิด 
3. :4 ชนิด 
4. :5 ชนิด:2 
112: หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด 
1. :1 ชนิด 
2. :2 ชนิด 
3. :3 ชนิด 
4. :4 ชนิด:3 
113: ประกาศจัดเป็นหนังสือชนิดใด 
1. :หนังสือสั่งการ 
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์ 
3. :หนังสือประทับตรา 
4. :หนังสือแถลงการณ์:2 
114: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด 
1. :1 ชนิด 
2. :2 ชนิด 
3. :3 ชนิด 
4. :4 ชนิด:4 

115: หนังสือที่ต้องปฏิบัติเร็วกว่าปกติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท 
1. :1 ประเภท 
2. :2 ประเภท 
3. :3 ประเภท 
4. :4 ประเภท:3 
116: หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 
1. :หนังสือที่ลงชื่อและหนังสือที่มิต้องลงชื่อ 
2. :หนังสือที่เป็นแบบพิธีและหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี 
3. :หนังสือโต้ตอบและหนังสือแถลงข่าว 
4. :บันทึกช่วยจำ และบันทึกเตือนความจำ:1 
117: การพิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายเป็นหน้าที่ของ 
1. :หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม 
2. :ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน 
3. :คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง 
4. :คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้งโดยการเสนอของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม:3 
118: คำว่า "คำสั่ง" คือ 
1. :คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ 
2. :การสั่งด้วยบันทึก ทางจดหมายและด้วยสื่อนำสาร 
3. :บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย 
4. :การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละเรื่อง:3 
119: การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 
1. :เก็บเข้าแฟ้มเพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม,เก็บเพื่อเป็นหลักฐานและเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ 
2. :การเก็บระหว่างปฏิบัติ,เก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบตลอดจนกำหนดระยะเวลาทำลายไว้ 
3. :เก็บโดยมิดชิดปลอดภัยและกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย 
4. :เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อการค้นหาได้สะดวก:2 



120: การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี 
1. :5 ปี 
2. :10 ปี 
3. :15 ปี 
4. :ไม่มีข้อใดถูก:2 
121: ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่อายุครบการเก็บในปีนั้น จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทำลายหนังสือภายในกี่วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน 
1. :30 วัน 
2. :60 วัน 
3. :120 วัน 
4. :1 ปี:2 
122: ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด 
1. :หนังสื่อสั่งการ 
2. :หนังสือประทับตรา 
3. :หนังสือภายใน 
4. :หนังสือภายนอก:1 
123: คำสรรพนาม สำหรับเจ้าของหนังสือที่ว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นอกจากจะใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีแล้ว ยังใช้กับ 
1. :สมเด็จพระบรมราชชนนี 
2. :สมเด็จเจ้าฟ้า 
3. :พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
124: งานสารบรรณ คือ 
1. :งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น 
2. :งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยราชการทั้งภายในและภายนอกหน่วย 
3. :งานที่ปฏิบัติด้วยหนังสือ นับตั้งแต่ คิด ร่าง เขียน แต่งพิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่ง รับ บันทึกย่อเรื่อง เสนอสั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่และค้นหา 
4. :งานเกี่ยวกับธุรการทุกชนิด ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบ:3 

125: การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป คือ 
1. :ให้เก็บโดยมิดชิด ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในการขนย้าย 
2. :เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ 
3. :ให้ประทับตราคำว่า "ห้ามทำลาย" ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น 
4. :เก็บให้เป็นระเบียบ แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน:3 
126: ผู้ที่มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือใคร 
1. :หัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ 
2. :สำนักงาน ก.พ. 
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
4. :ปลัดกระทรวงนั้น ๆ:3 
127: ประกาศ หรือแถลงการณ์ เป็นหนังสือชนิดใด 
1. :หนังสือสั่งการ 
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์ 
3. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายถือปฏิบัติตามนโยบาย 
4. :หนังสือประทับตรา:2 
128: ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีตายหรือขาดคุณสมบัติ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติ ดังนี้ 
1. :รักษาราชการแทน 
2. :ปฏิบัติราชการแทน 
3. :ปฏิบัติหน้าที่แทน 
4. :ทำการแทน:3 
129: คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร 
1. :เรียน 
2. :ขอประทานเสนอ 
3. :ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล 
4. :ถึง:1 
130: บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ เรียกว่า 
1. :คำสั่ง 
2. :ระเบียบ 
3. :ข้อบังคับ 
4. :ประกาศ:2 
131: ข้อความใด ถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับ 
1. :รายละเอียดของข้อบังคับมีหัวข้อเหมือนกับคำสั่ง 
2. :ผู้ออกข้อบังคับไม่จำเป็นจะต้องพิมพ์ชื่อเต็มไว้ด้วย 
3. :การเขียนข้อบังคับต้องมีชื่อส่วนราชการอยู่ด้วย 
4. :การเขียนวันที่ของข้อบังคับต้องเขียนเต็มโดยมี วันที่ เดือน พ.ศ.:3 
132: หนังสือราชการต่อไปนี้ ข้อใดต้องใช้กระดาษตราครุฑ 
1. :ข่าว 
2. :ประกาศ 
3. :แถลงการณ์ 
4. :ข้อ ก และ ข ถูก:4 
133: หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้ 
1. :รับรองบุคคล 
2. :รับรองนิติบุคคล 
3. :รับรองหน่วยงาน 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
134: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับ 
1. :หนังสือด่วนมาก 
2. :หนังสือด่วน 
3. :หนังสือด่วนที่สุด 
4. :หนังสือลับ:3 
135: ข้อใดคือลักษณะของหนังสือเวียน 
1. :หนังสือถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก 
2. :มีใจความอย่างเดียวกัน 
3. :มีรหัสตัวพยัญชนะ " ว "ที่หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง 
4. :ถูกทุกข้อ:4 
136: ข้อใดมิใช่ส่วนประกอบของตรารับหนังสือ 
1. :เลขที่ 
2. :วันที่ 
3. :เวลา 
4. :ลงชื่อผู้รับ:4 
137: ตรารับหนังสือราชการเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าตามขวาง มีขนาดมาตรฐานเท่าใด 
1. :2" X 2.5" 
2. :2" X 3" 
3. :2.5 X 5 ซม. 
4. :5 X 2.5 ซม.:3 
138: มาตรฐานของกระดาษ A 4 มีขนาดเท่าใด 
1. :148 มม. X 210 มม. 
2. :229 มม. X 324 มม. 
3. :52 มม. X 74 มม. 
4. :210 มม. X 297 มม.:4 
139: ตราครุฑที่ใช้เป็นแบบพิมพ์ ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าใด 
1. :3 ซม. 
2. :2 ซม. 
3. :1.5 ซม. 
4. :5 ซม.:1 
140: ซองที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณมีกี่ขนาด 
1. :4 ขนาด 
2. :5 ขนาด 
3. :6 ขนาด 
4. :7 ขนาด:1 
141: การประทับตรารับหนังสือ

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ถ้ายังไม่พอ
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ
....................
1.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กำหนดให้ใครมีหน้าที่ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
   ก.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
   ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
   ค.  ผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะจังหวัดนั้น
   ง.  นายอำเภอเฉพาะอำเภอนั้น
   จ.  หัวหน้าส่วนราชการระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป
2.   ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
   ก.  ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
   ข.  ข้อบังคับเป็นหนังสือราชการ
   ค.  แถลงการณ์ไม่ต้องใช้กระดาษครุฑ        
   ง.  ข่าวราชการควรใช้กระดาษครุฑ
   จ.  ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
3.   ถ้ามีหนังสือถึงพระราชาคณะ ใช้คำลงท้ายว่า
   ก.  นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
   ข.  นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
   ค.  นมัสการด้วยความเคารพ
   ง.  ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง  
   จ.  ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
4.   หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้ว ให้เก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
   ก.  1 ปี
   ข.  2 ปี
   ค.  3 ปี
   ง.  5 ปี
   จ.  6 ปี
5.   คำว่า หนังสืออื่น ในระเบียบงานสารบรรณ หมายถึง
   ก.  ฟิล์มที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ
   ข.  หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่จะลงรับไว้แล้ว
   ค.  โฉนด
   ง.  ข้อ ข. และ ค.
   จ.  ถูกทุกข้อ
6.   การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมต้องเป็น
   ก.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
   ข.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
   ค.  หัวหน้าส่วนราชการระดับฝ่ายขึ้นไป
   ง.  หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป
   จ.  หัวหน้าส่วนราชการระดับใดก็ได้ขึ้นกับประเภทของหนังสือ
7.   ชั้นความลับของทางราชการแบ่งออกเป็นกี่ชั้น
   ก.  3 ชั้น
   ข.  4 ชั้น
   ค.  5 ชั้น
   ง.  6 ชั้น
   จ.  7 ชั้น
8.   ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่รักษาการตามระเบียบนี้
   ก.  นายกรัฐมนตรี
   ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
   ค.  เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
   ง.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
   จ.  นายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
9.   ข้อใดมิใช่ชนิดของหนังสือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   ก.  หนังสือประทับตรา
   ข.  หนังสือประชาสัมพันธ์
   ค.  หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
   ง.  หนังสือลับ
   จ.  หนังสือสั่งการ
10.   หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมีหลายชนิด ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือประเภทนี้
   ก.  รายงานการประชุม
   ข.  หนังสือรับรอง
   ค.  บันทึก
   ง.  ข้อบังคับ
   จ.  หนังสืออื่น
11.   ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการเก็บระยะของหนังสือ
   ก.  เก็บไว้เพื่อทำลาย
   ข.  การเก็บไว้ระหว่างปฏิบัติ
   ค.  การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
   ง.  การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
   จ.  ถูกทุกข้อ
12.   ระเบียบข้อบังคับแตกต่างกันอย่างไร
   ก.  ระเบียบ จะออกได้โดยมีกฎหมายหรือไม่มีกฎหมายรองรับก็ได้ เพื่อวางไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน      ประจำ
   ข.  ระเบียบ จะออกได้เมื่อมีกฎหมายรองรับหรือให้อำนาจไว้เท่านั้น
   ค.  ข้อบังคับจะออกได้เมื่อมีกฎหมายรองรับหรือให้อำนาจไว้เท่านั้น
   ง.  ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
   จ.  ถูกเฉพาะข้อ ข. และข้อ ค.
13.   ในทางราชการ การใช้โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุ ควรใช้ในกรณีใดจึงจะถูกต้องที่สุด
   ก.  เรื่องลับ
   ข.  ไม่ใช่เรื่องลับ
   ค.  เรื่องที่ส่งด้วยหนังสือไม่ทัน
   ง.  เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน
   จ.  หาคนพิมพ์ไม่ได้
14.   คำว่า "ด่วนที่สุด" หมายความว่า
   ก.  ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น
   ข.  ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร่งด่วนแต่ช้ากว่าหนังสือด่วนพิเศษ
   ค.  ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
   ง.  ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้ แต่ขอให้ทำให้เสร็จทันเวลาก็แล้วกัน
   จ.  การส่งหนังสือประเภทนี้ต้องส่งทาง อี.เอ็ม.เอส
15.   ข้อใดถูกต้อง
   ก.  หนังสือประเภทประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และหนังสือเวียน
   ข.  หนังสือประเภทประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
   ค.  หนังสือสั่งการ ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบและข้อกำหนด
   ง.  หนังสือสั่งการ ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบและข้อบังคับ
   จ.  ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ง.
16.   ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คำขึ้นต้นและคำลงท้ายใช้คำว่า
   ก.  กราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
   ข.  กราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
   ค.  เรียน ขอแสดงความเคารพนับถือ
   ง.  เรียน โดยความเคารพอย่างสูง
   จ.  ขอประธานกราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
17.   หัวหน้าส่วนราชการระดับใดที่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือราชการ
   ก.  หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป
   ข.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
   ค.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปหรือผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนภูมิภาค
   ง.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงขึ้นไป
   จ.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
18.   ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี จะใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายอย่างไร
   ก.  ขอประทานกราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
   ข.  กราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
   ค.  เรียน ขอแสดงความนับถือ
   ง.  ขอประทานอนุญาตกราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
   จ.  กราบเรียน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
19.   หนังสือ มีกี่ชนิด
   ก.   4 ชนิด
   ข.  5 ชนิด
   ค.  6 ชนิด
   ง.  7 ชนิด
20.   ข้อใดมิใช่หนังสือราชการ
   ก.  หนังสือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
   ข.  โฉนด
   ค.  รายงานการประชุม
   ง.  ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
   จ.  ทุกข้อเป็นหนังสือราชการ
21.   ตามระเบียบงานสารบรรณฯ หนังสือที่ได้จัดทำขั้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับกี่ฉบับ
   ก.  ฉบับเดียว คือเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง
   ข.  ต้นเรื่อง สารบรรณกอง และสารบรรณกรม รวม 3 ฉบับ
   ค.  ต้นเรื่อง และสารบรรณกลาง รวม 2 ฉบับ
   ง.  ปกติ 2 ฉบับ แต่ควรมีสำรองไว้ 1 ฉบับรวม 3 ฉบับ
   จ.  แล้วแต่ประเภทหนังสือ
22.   หนังสือประทับตรา ต้องประทับตราส่วนราชการด้วยอย่างไร
   ก.  หมึกแดง
   ข.  หมึกแดงหรือสีม่วงก็ได้
   ค.  ระเบียบที่มิได้ระบุไว้
   ง.  หมึกสีม่วง
   จ.  สีอะไรก็ได้แต่ดูให้เหมาะสม
23.   แถบบันทึกเสียง การประชุมของส่วนราชการถือเป็นหนังสือราชการหรือไม่ ชนิดใด
   ก.  ถือเป็นหนังสือภายใน
   ข.  ถือเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์
   ค.  ถือเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่ขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
   ง.  เป็นวัสดุประชาสัมพันธ์
   จ.  ไม่เป็นหนังสือราชการ
24.   อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้นานเท่าใด
   ก.  ไม่น้อยกว่า 1 ปี
   ข.  ไม่น้อยกว่า 4 ปี
   ค.  ไม่น้อยกว่า 5 ปี
   ง.  ไม่น้อยกว่า 8 ปี
   จ.  ไม่น้อยกว่า 10 ปี
25.   ตรารับหนังสือ ตามระเบียบงานสารบรรณ มีการกรอกรายละเอียดดังนี้
   ก.  เลขรับ วันที่ และเวลา
   ข.  ให้ระบุชื่อส่วนราชการ เลขรับ วันที่ และเวลา
   ค.  เหมือนข้อ 2 แต่ใช้ระบุชนิดความเร่งด่วนด้วย
   ง.  ระเบียบฯ มิได้ระบุไว้
   จ.  ให้ส่วนราชการพิจารณาตามความเหมาะสม
26.   การเก็บหนังสือ ตามระเบียบ งานสารบรรณฯ แบ่งออกเป็น
   ก.  การเก็บระหว่างปฏิบัติ, การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว และการเก็บเพื่อใช้ในการตรวจสอบ
   ข.  การเก็บระหว่างปฏิบัติ, การเก็บหลังการปฏิบัติ
   ค.  การเก็บก่อนปฏิบัติ, ระหว่างปฏิบัติ และหลังการปฏิบัติ
   ง.  การเก็บหนังสือเกี่ยวกับการเงินและไม่เกี่ยวกับการเงิน
   จ.  การเก็บระหว่างปฏิบัติ หลังปฏิบัติ และเก็บเพื่อทำลาย
27.   หนังสือที่อายุครบกี่ปี ซึ่งส่วนราชการจะต้องจัดส่งพร้อมบัญชีส่งมอบให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติกรม   ศิลปากรทุกปีปฏิทิน เว้นแต่หนังสือที่ระเบียบกำหนดไว้
   ก.  5 ปี
   ข.  10 ปี
   ค.  15 ปี
   ง.  20 ปี
   จ.  25 ปี
28.   ตราครุฑ สำหรับแบบพิมพ์มีกี่ขนาด
   ก.  มีขนาดเดียว
   ข.  มี 2ขนาด
   ค.  มี 3 ขนาด
   ง.  มี 4 ขนาด
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
29.   ใครเป็นผู้มีอำนาจ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
   ก.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
   ข.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
   ค.  หัวหน้าส่วนราชการระดับหัวหน้าฝ่าย
   ง.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกองที่รับผิดชอบงานการเงิน
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
30.   มาตรฐานซอง ปกติใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาลกี่ขนาด
   ก.  4 ขนาด คือ ซี 4 ซี 5 ซี 6 และ ซี 7
   ข.  4 ขนาด คือ ซี 4 ซี 5 ซี 6 และ ดีแอล
   ค.  4 ขนาด คือ ซี 4 ซี 5 แอล และดีแอล
   ง.  3 ขนาด คือ ซี 4 ซี 5 และดีแอล
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
31.   การทำลายหนังสือ ผู้รับผิดชอบต้องสำรวจเสนอเมื่อไร
   ก.  ภายในวันที่ 31 ธ.ค. ของทุกปี
   ข.  ภายในวันที่ 30 ก.ย. ของทุกปี
   ค.  ภายใน 30 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
   ง.  ภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
32.   มาตราฐานกระดาษมีกี่ขนาด
   ก.  3 ขนาด คือ เอ 4 เอ 5 เอ 8
   ข.  2 ขนาด คือ เอ 4 และ เอ 8
   ค.  4 ขนาด คือ เอ 4 เอ 5 เอ 7 เอ 8
   ง.  ให้หน่วยงานใช้ดุลยพินิจตามความเหมาะสม
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
33.   คำขึ้นต้นหนังสือราชการถึงสมเด็จพระสังฆราช ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร
   ก.  นมัสการ
   ข.  กราบทูล
   ค.  ขอกราบทูลนมัสการ
   ง.  ขอประทานกราบทูล
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
34.  คำขึ้นต้นหนังสือราชการถึงประธานองคมนตรี ตามระเบียบระบุให้ใช้ว่าอย่างไร
   ก.  กราบทูล
   ข.  ขอประทานกราบทูล
   ค.  กราบเรียน
   ง.  เรียน
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
35.   กระดาษตราครุฑตามระเบียบระบุให้ใช้กระดาษใด
   ก.  ให้ใช้ได้ 2 ขนาด คือ เอ 4 หรือ เอ 8
   ข.  ให้ใช้ได้ 2 ขนาด คือ เอ 4 หรือ เอ 5
   ค.  ให้ใช้ขนาดเดียว คือ เอ 4
   ง.  ให้ใช้ขนาดเดียว คือ เอ 5
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
36.   คำลงท้ายหนังสือราชการถึงสมเด็จพระสังฆราช ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร
   ก.  ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
   ข.  ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
   ค.  ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
   ง.  ขอกราบทูลนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
37.   กระดาษบันทึกข้อความ ระเบียบระบุให้ใช้กระดาษขนาดใด
   ก.  ให้ใช้ได้ถึง 2 ขนาด คือ เอ 4 หรือ เอ 8
   ข.  ให้ใช้ได้ 2 ขนาด คือ เอ 4 หรือ เอ 5
   ค.  ให้ใช้ได้ขนาดเดียว คือ เอ 4
   ง.  ให้ใช้ได้ขนาดเดียว คือ เอ 5
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
38.   คำลงท้ายในหนังราชการถึงประธานถึงองคมนตรี ตามระเบียบระบุให้ใช้ว่าอย่างไร
   ก.  ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
   ข.  ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
   ค.  ขอแสดงความนับถือ
   ง.  ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้
39.   คำขึ้นต้นราชการถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามระเบียบระบุให้ใช้อย่างไร
   ก.  กราบเรียน
   ข.  ขอประทานกราบเรียน
   ค.  เรียน
   ง.  ขอกราบเรียน
   จ.  ระเบียบมิได้ระบุไว้


เฉลยแนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับงานระเบียบสารบรรณ

1.   ข               21.   ค
2.   จ               22.   ก
3.   ง               23.   ค
4.   ก               24.   จ
5.   จ               25.   ก
6.   ข               26.   ก
7.   ก               27.   จ
8.   ง               28.   ข
9.   ง               29.   ข
10.   ง               30.   ข
11.   ก               31.   ง
12.   ง               32.  ก
13.   ค               33.   ข
14.   ก               34.   ค
15.   จ               35.   ง
16.   ค               36.   ก
17.   ค               37.   ข
18.   ข               38.   ก
19.   ค               39.   ก

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้