ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เสื้ัอยืด ซักแล้วทำไมหด เพราะอะไร
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เสื้ัอยืด ซักแล้วทำไมหด เพราะอะไร

แชร์กระทู้นี้

รับสกรีนเสื้อยืด เสื้อคู่ เสื้อแก๊ง เสื้อทีม เสื้อแฟนคลับ รับปักเสื้อด้วยจักรคอมพิวเตอร์  


สำหรับคนที่ใส่เสื้อยืดเนื้อผ้าคอตตอน 100% คงต้องเคยเจอะปัญหาเรื่อง "เสื้อหด กันแทบทุกตัวเมื่อผ่านการซักในครั้งแรกใช่มั๊ยครับ ทำไมเสื้อยืดถึงหด ? เสื้อยืดที่ซักแล้วไม่หดมีมั๊ย ? แล้วทำไมบางตัวถึงหดมากบางตัวซักแล้วหดน้อย ? บทความนี้จะมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาเสื้อยืด "หด" กันครับ

การยืดของเส้นใยฝ้าย ก่อนจะมาเป็นเสื้อยืดให้เราใส่กัน หากได้เคยอ่านบทความ "จากเมล็ดฝ้ายกลายเป็นเสื้อยืด" ก็จะทราบว่าตั้งแต่เมล็ดฝ้ายไปเป็นผ้าผืนนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อยืดให้เราใส่กันต้องผ่านหลายขั้นตอนหลายกระบวนการ และในทุก ๆ กระบวนการล้วนมีแรงดึงมากระทำกับเส้นใย(Tension) ยิ่งกระบวนการใดมีแรงดึงมากเส้นใยก็ยืดตัวมาก ลองมาดูคร่าว ๆ ครับว่ามีกระบวนการใดบ้าง
เส้นใยดิบ (Fiber) ---->
นำเข้าเครื่องหมุนตีให้เส้นใยฟู (Spun) ---->
ปั่นเป็นเส้นด้าย(Spinning) ---->
เข้าเครื่องทอเป็นผ้าผืน (Woven) ---->
ดึงผ้าในกระบวนการตัด(Cutting process) --->
แล้วนำไปเย็บเสื้อยืดเป็นตัว ๆ
ทุกกระบวนการข้างต้นล้วนทำให้เส้นใยเกิดการยืดตัวออกและไม่สามารถหดกลับได้เอง ซึ่งเรียกว่า " Elastic Shrinkage “ จนกระทั่งนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อยืดก็ยังคงมีแรงดึงอยู่ในเส้นใยไม่หายไปไหน (แล้วจะหดกลับเมื่อไหร่ลองอ่านหัวข้อถัดไปครับ) หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยืดตัวของเส้นใยตลอดทั้งกระบวนการจะอยู่ระหว่าง5 -10% 

การหดตัวของเส้นใยฝ้าย จากกระบวนการข้างต้น เส้นใยสามารถคืนสภาพหรือหดกลับได้ เมื่อถูกทำให้เปียก เนื่องจากน้ำจะทำให้เส้นใยเกิดการพองตัว(swelling)เสมือนเป็นการขจัดแรงดึงที่ค้างอยู่( Elastic Shrinkage ) ออกจากเส้นใยฝ้าย นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไมในการซักเสื้อยืดครั้งแรก เมื่อเสื้อยืดถูกน้ำเสื้อจึงมีการหด 

เปอร์เซ็นการหดตัวควรอยู่ที่เท่าไหร่ดี อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงทราบแล้วว่า เสื้อยืดเนื้อผ้าคอตตอน 100 % ซักแล้วต้องหด เพียงแต่ว่าจะหดมากหดน้อยหดกี่ % แน่นอนว่าการหดตัวยิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่การทำให้ % การหดตัวน้อยก็ต้องมีต้นทุนในการควบคุมจัดการเพิ่มเข้าไปในกระบวนการผลิต ดังนั้นสำหรับโรงงานผลิตที่ได้มาตราฐานจะพยายามควบคุมอยู่ที่ไม่เกิน 5% ส่วนโรงงานที่ไม่สามารถควบคุม % การหดได้เมื่อนำไปซักอาจหดมากถึง 10 % (สั้นเต่อขึ้นมาเป็นนิ้วก็มี)

จะรู้ได้อย่างไรว่าเสื้อยืดที่ซื้อจะหดมากน้อยแค่ไหน การดูด้วยตาหรือการสัมผัสโดยการดึงให้ยืดออกไม่สามารถจะรู้ได้เลยจนกว่าเราจะนำเสื้อตัวที่ซื้อมาวัดความกว้าง-ยาวก่อนซักและหลังซักแล้วมาเทียบกันจึงจะรู้เปอร์เซ็นการหด ดังนั้นคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังหาร้านเสื้อยืดเพื่อนำมาใช้กับงานสกรีนเสื้อในปริมาณมาก แนะนำให้ซื้อมาเป็นตัวอย่าง แล้วลองซักเพื่อหาเปอร์เซ็นการหดตัว หากอยู่ในช่วงไม่เกิน 5% ก็ถือว่าอยู่ในค่ามาตราฐาน
เสื้อยืด Cotton 100 % ไม่หดมีมั๊ย เสื้อยืดที่ซักแล้วไม่หดเลยคงจะไม่มีครับ แต่ถ้าหดน้อยมาก ๆ 1-2% จะมีเฉพาะเสื้อยืดเกรดบนสำหรับนำไปทำเสื้อแบรนด์เนมที่สามารถตั้งราคาขายได้สูง เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตต้องนำไปผ่านกระบวนการทำให้ผ้าหดตัว(คืนสภาพเส้นใย)ก่อนที่จะนำไปตัดเย็บ เรียกว่ากระบวนการ preshinking คือนำไปผ่านกระบวนทำให้ผ้าเปียกก่อนแล้วนำเข้าเครืองรีดให้เส้นใยเรียงตัวแน่นเป็นระเบียบ แล้วนำไปผ่านเครื่องเป่าลมทำให้ผ้าแห้ง ซึ่งกระบวนการนี้ก็คือการคืนสภาพเส้นใยหรือทำให้มันหดก่อนที่จะนำผ้าไปตัดเย็บนั่นเอง
เส้นยืดคอตตอน เนื้อผสม การผสมเส้นใยอื่นลงไปในเส้นใยฝ้าย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดเปอร์เซ็นการหดตัวของเส้นใย ซึ่งเส้นใยที่ผสมก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายเส้นใย เช่น ผ้าคอตตอนผสมกับใยสังเคราะห์ หรือคอตตอนผสมเส้นใยสแปนเนส (Spendex) ซึ่งการผสมเส้นใยอื่น ๆ เพื่อลด % การหดตัวและเพิ่มคุณสมบัติเด่นตามแต่เส้นใยที่นำมาผสม อย่างไรก็ดีคุณสมบัติเด่นของคอตตอนในด้านความใส่สบายก็ย่อมถูกลดทอนไปด้วยเช่นกัน

รับสกรีนเสื้อยืด เสื้อคู่ เสื้อแก๊ง เสื้อทีม เสื้อแฟนคลับ รับปักเสื้อด้วยจักรคอมพิวเตอร์ 

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้