ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สรุปกฎหมาย ภาค ข. ใช้สอบท้องถิ่น(ผ่านภาค ก.ท้องถิ่นเเล้ว)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สรุปกฎหมาย ภาค ข. ใช้สอบท้องถิ่น(ผ่านภาค ก.ท้องถิ่นเเล้ว)

แชร์กระทู้นี้

ตอนที่1

สรุปสาระสำคัญ

ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

พ.ศ. 2517

________________


1.ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วางระเบียบนี้

- ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทั้งปวง
 

2.ในระเบียบนี้ มีนิยามต้องจำ คือ

     2.1 ส่วนราชการ หมายถึง ส่วนราชการที่จัดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ตามมติคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นอื่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรตำบล แพทย์ประจำตำบล

     2.2 การรักษาความปลอดภัย หมายความถึงบรรดามาตรการที่กำหนดขึ้นตลอดจนการดำเนินการทั้งปวงเพื่อพิทักษ์รักษา และคุ้มครองป้องกันสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ข้าราชการ ส่วนราชการและทรัพย์สินของแผ่นดินให้พ้นจากการรั่วไหล การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย และการกระทำอื่นใดที่มีผลกระทบกระเทือน หรือเป็นภายต่อความมั่นคงแห่งชาติ

     2.3 การจารกรรม หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยทางลับเพื่อให้ได้ล่วงรู้หรือได้ไป หรือส่งสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ ผู้ไม่มีความจำเป็นต้องทราบ การกระทำดังกล่าวจะเป็นผลร้ายต่อความมั่นคงแห่งชาติ หรือความสงบเรียบร้อยภายใน

     2.4 การก่อวินาศกรรม หมายถึง การกระทำใด ๆ เพื่อทำลาย ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน วัสดุ อาคาร สถานที่ ยุทธปัจจัย สาธารณูปโภค รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคล ทำให้เกิดปั่นป่วนทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา มุ่งหมายที่จะให้เกิดผลร้ายต่อความสงบเรียบร้อย ขวัญ ผลประโยชน์หรือความมั่นคงแห่งชาติ

     2.5 การบ่อนทำลาย หมายความถึง การกระทำใด ๆ ที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบ หรือล้มล้างสถาบันการปกครองของประเทศ

     2.6 สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หมายถึง เอกสาร บริภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ ที่สงวนและสิ่งอื่นๆ

     2.7 บริภัณฑ์ หมายถึง เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล สิ่งอุปกรณ์

     2.8 ที่สงวน หมายความถึง สิ่งปลูกสร้างทุกชนิดสำหรับการป้องกันประเทศ

     2.9 การเข้าถึง หายความถึง การที่บุคคลมีอำนาจหน้าที่ ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้ได้ทราบ ครอบครอง ดำเนินการ หรือเก็บรักษาสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ

     2.10 การรั่วไหล หมายถึง สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการได้ถูกครอบครองหรือได้ทราบโดยบุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่
 
3.ประเภทและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

     3.1 การรักษาความปลอดภัยตามระเบียบนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

        3.1.1 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล

        3.1.2 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร

        3.1.3 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

4.ชั้นความลับของทางราชการ

ชั้นความลับของทางราชการ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ

      4.1 ลับที่สุด (TOP SECRET)

     4.2 ลับมาก (SECRET)

     4.3 ลับ (CONFIDENTIAL)

     4.4 ปกปิด (RESTRICTED)

     4.1 ลับที่สุด
         ลับที่สุด ได้แก่ความลับที่มีความสำคัญที่สุด เกี่ยวกับข่าวสาร วัตถุ หรือบุคคล ซึ่งถ้าหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบ จะทำให้เกิดความเสียหายหรือเป็นภยันตรายต่อความมั่นคง ความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติหรือพันธมิตรอย่างร้ายแรงที่สุด
ตัวอย่างชั้นลับที่สุด เช่น

?  นโยบาย หรือแผนการที่สำคัญยิ่งของชาติ
?  เอกสารทางการเมืองที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับความมั่นคง
?  แผนยุทธศาสตร์

ผู้มีอำนาจกำหนดชั้น ?ลับที่สุด? ได้แก่ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่ง หรือเทียบเท่าตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

   ? อธิบดี                      ? หัวหน้าคณะทูต
   ? ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร         ? ผู้บัญชาการตำรวจ
    ? ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ

4.2 ลับมาก
         ลับมาก ได้แก่ ความลับที่มีความสำคัญมาก เกี่ยวกับข่าวสาร วัตถุ หรือบุคคลซึ่งถ้าหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ได้ทราบ จะทำให้เกิดความเสียหายหรือเป็นภยันตรายต่อความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศชาติหรือพันธมิตรหรือความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรอย่างร้ายแรง
ตัวอย่างชั้นลับมาก เช่น
? แผน โครงการ รายงาน ข้อตกลง เช่น แผนการปราบปรามผู้ก่อการร้าย
? รายงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลร้ายทางขวัญ หรือาจจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญ ๆ
? แผนการสงคราม หรือแผนการยุทธ หรือแผนการทางทหารใด ๆ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องอันมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อลับที่สุด

ผู้มีอำนาจกำหนดชั้น ?ลับมาก? ได้แก่ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่ง หรือเทียบเท่าตำแหน่งดังต่อไปนี้
? หัวหน้ากอง
? ผู้บังคับการกรม
? ผู้บังคับหมวดเรือ
? ผู้บังคับการกองบิน

4.3 ลับ
         ลับ ได้แก่ความลับที่มีความสำคัญเกี่ยวกับ ข่าวสาร วัตถุหรือบุคคล ซึ่งถ้าหากความลับดังกล่าวทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ หรือต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติหรือพันธมิตรได้
ตัวอย่างชั้นลับ เช่น
?  ระเบียบวาระการประชุมลับ
?  ประกาศหรือคำสั่งที่สำคัญที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ

4.4 ปกปิด
       ปกปิด ได้แก่ความลับซึ่งไม่พึงเปิดเผยให้ผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบ โดยสงวนไว้ให้ทราบเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่ต้องทราบเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการเท่านั้น
ตัวอย่างชั้นปกปิด เช่น
?  เอกสารของทางราชการบางเรื่องที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในราชการเท่านั้น
?  ประกาศหรือคำสั่งที่มิได้จัดไว้ในชั้นความลับอื่นซึ่งยังอยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่สมควรเปิดเผย

ผู้มีอำนาจกำหนดชั้น ?ลับ? และ ?ปกปิด? ได้แก่ข้าราชการตำแหน่งหรือเทียบเท่าตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

?  หัวหน้าแผนก
?  ผู้บังคับกองร้อย
?  ผู้บังคับการเรือชั้นสาม
?  ผู้บังคับหมวดบิน
4.1 เครื่องหมายแสดงชั้นความลับ

การแสดงชั้นความลับของสิ่งที่เป็นความลับให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
?  เอกสารลับโดยปกติให้ประทับหรือเขียนตัวอักษรตามชั้นความลับที่กึ่งกลางหน้ากระดาษทั้งด้านบนและด้านล่างขอทุกหน้าเอกสารที่มีชั้นความลับนั้น ตัวอักษรต้องให้มีขนาดโตกว่าอักษรธรรมดา และใช้สีแดงหรือสีอื่นที่เห็นเด่นชัดสำหรับชั้นความลับส่วนรวมของเอกสารให้แสดงไว้ที่หน้าแรกในลักษณะเช่นเดียวกัน

4.2 การปรับชั้นความลับและยกเลิกชั้นความลับ
ผู้บังคับบัญชาตามสายงานมีอำนาจที่จะปรับชั้นความลับได้เมื่อพิจารณาเห็นว่าการกำหนดชั้นความลับสูงไปหรือต่ำไป

4.3 การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารลับที่สุดและลับมาก

?   การจัดทำ
          การร่าง เขียน พิมพ์ แปล สำเนาคัดลอก ฯลฯ เอกสารลับที่สุดและลับมาก ต้องกระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งได้รับความไว้วางใจไม่ต่ำกว่าชั้นความลับของเอกสารนั้น และทำในสถานที่ที่ปลอดภัย

?   การส่ง
          การส่ง การเสนอ และการเวียนอกสาร ภายในส่วนราชการเดียวกัน ต้องใช้ใบปกเอกสารลับ (รปภ. 8 หรือ รปภ. 9) ปิดทับเอกสาร เพื่อป้องกันผู้อื่นลอบดูข้อความภายในและเพื่อเป็นการเตือนให้ระมัดระวังถึงการรักษาความปลอดภัยแก่เอกสารแต่ละชั้นความลับ

?   การบรรจุเพื่อส่งออกนอกส่วนราชการ
          จะต้องบรรจุซองหรือห่อหีบแสงสองชั้นอย่างมั่นคง พร้อมด้วยใบรับเอกสารลับ (รปภ.6) ต้องบรรจุอยู่ในซองหรือห่อชั้นใน ให้จ่าหน้าโดยลงที่เอกสารชื่อหรือตำแหน่งผู้รับและส่วนราชการของผู้ส่งพร้อมทั้งทำเครื่องหมาย ?ลับที่สุด? หรือ ?ลับมาก? ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนซองหรือห่อชั้นนอกนั้นห้ามทำเครื่องหมายแสดงชั้นความลับ บุคคลผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับของเอกสารเป็นผู้ปิดผนึกลงลายมือชื่อกำกับไว้บนรอยที่ปิดผนึก

?   การส่งข้อความโดยทางคมนาคม
           ข้อความ ?ลับที่สุด? ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเครื่องพูดที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกันในการติดต่อ ข้อความ ?ลับมาก? อาจใช้โทรศัพท์หรือเครื่องพูดที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงในการติดต่อได้

?   การเก็บรักษา
           การเก็บเอกสารลับที่สุดและลับมากให้ปลอดภัย ต้องปฏิบัติคือ เอกสารลับที่สุดและลับมากจะต้องเก็บไว้ในห้องนิรภัยหรือตู้นิรภัย

?   การยืม
          การยืมเอกสารลับที่สุดและลับมากไปใช้ในราชการ หัวหน้าส่วนราชการผู้ยืม

?   การทำลาย
          ให้หัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำลาย 3 คน การทำลายให้ใช้วิธีเผาแล้วขยี้ขี้เถ้าให้เป็นผงหรือด้วยวิธีแปรรูปอย่างอื่น ๆ จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้

4.4  การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารชั้นลับและปกปิด

?   การจัดทำ
        การร่าง เขียน พิมพ์ แปล สำเนาคัดลอก ฯลฯ เอกสารชั้นลับและปกปิดจะต้องกระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งได้รับความไว้วางใจไม่ต่ำกว่าชั้นความลับของเอกสารนั้นและทำในสถานที่ที่ปลอดภัย

?   การส่ง
        การส่ง การเสนอ และการเวียนเอกสารภายในส่วนราชการเดียวกัน และต้องใช้ใบปกเอกสารลับ (รปภ.10 หรือ รปภ.11) ปิดทับเอกสาร เพื่อป้องกันผู้อื่นลอบดูข้อความภายใน และเพื่อเป็นการเตือนให้ระมัดระวังถึงการักษาความปลอดภัยแก่เอกสารแต่ละชั้นความลับ

?  การบรรจุเพื่อส่งออกนอกส่วนราชการ
        เอกสารชั้นลับ จะต้องบรรจุซองหรือห่อสองชั้นอย่างมั่นคง ซองหรือห่อชั้นนอกต้องทึบแสง ส่วนเอกสารชั้นปกปิด จะบรรจุซองหรือห่อทึบแสงชั้นเดียวก็ได้ บนซองหรือห่อชั้นใน ให้จ่าหน้าโดยลงที่เอกสารชื่อหรือตำแหน่งผู้รับและส่วนราชการของผู้ส่งพร้อมทั้งทำเครื่องหมาย ?ลับ? หรือ ?ปกปิด? ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนซองหรือห่อชั้นนอกห้ามทำเครื่องหมายแสดงชั้นความลับ บุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ปิดผนึกเป็นผู้ปิดผนึก

?  การส่งข้อความโดยทางโทรคมนาคม
        ข้อความชั้นลับและปกปิดซึ่งส่งโดยทางโทรคมนาคมให้ปฏิบัติตาม โดยข้อความทั้งหมดต้องส่งเป็นรหัสและดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รหัสเท่านั้น ข้อความชั้นลับและปกปิดอาจใช้โทรศัพท์หรือเครื่องพูดที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกันในการติดต่อได้

?  การรับ
        เอกสารชั้นลับและปกปิดที่จ่าหน้าซองหรือห่อชั้นในถึงตำแหน่ง ให้บุคคลผู้ครองตำแหน่งนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือนายทะเบียนเอกสารลับ

?  การเก็บรักษา
        การเก็บรักษาเอกสารชั้นลับและปกปิด เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปิดตู้เก็บเอกสารชั้นลับเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บลูกกุญแจไว้ในตู้รวมเก็บลูกกุญแจ

?  การยืม
        การยืมเอกสารชั้นลับและปกปิดไปใช้ในราชการ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขหัวหน้าส่วนราชการผู้ให้ยืมต้องพิจารณา

?  การทำลาย
        ให้หัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำลาย 3 คน การทำลายให้ใช้วิธีเผาแล้วขยี้ขี้เถ้าให้เป็นผงหรือด้วยวิธีแปรรูปอย่างอื่น ๆ จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้
1.      การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
                     การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล คือ มาตรการที่กำหนดขึ้นสำหรับใช้ปฏิบัติต่อข้าราชการหรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการหรือให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่สำคัญ
5.1 ความมุ่งหมาย
      เพื่อเลือกเฟ้นตรวจสอบให้ได้บุคคลที่มีลักษณะเหมาะสมแก่การบรรจุเข้ารับราชการหรือให้ปฏิบัติหน้าที่และเพื่อกำหนดระดับความไว้วางใจในการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความลับ
5.2 การให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องลับที่สุดหรือลับมากล
  ?   ก่อนที่จะมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการชั้นลับที่สุดหรือลับมาก จะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์โดยละเอียด
  ?   มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่
  ?   บุคคลใดที่พ้นตำแหน่งหรือหน้าที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการ ชั้นลับที่สุดหรือลับมากแล้ว ต้องคัดชื่อออกจากทำเนียบลับที่สุดหรือลับมาก
 
2. การปฏิบัติเมื่อเกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  ?      เพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด และป้องกันมิให้เกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัยซ้ำอีก ตลอดจนค้นหาข้อบกพร่อง สาเหตุ ผลเสียหาย เพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น
6.1  สาเหตุแห่งการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
           อันเป็นเหตุให้ความลับของทางราชการรั่วไหลวัสดุหรือสถานที่ต้องถูกทำลายหรือเสียหาย เกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
              ก. การขาดจิตสำนึกและขาดวิสัยในการรักษาความปลอดภัย ความประมาทเลินเล่อ ความไม่รอบคอบ ความเกียจคร้าน และย่อหย่อนต่อหน้าที่ หรือความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
              ข. การจารกรรมและการก่อวินาศกรรมอันเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกหรือข้าราชการทรยศหรือที่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายตรงข้ามหรือร่วมกัน
ส่วนที่ 1

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดการเก็บภาษีป้าย

        การจัดเก็บภาษีป้าย เป็นงานในหน้าที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติภาษีป้าย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2534

       ขั้นตอนการปฏิบัติที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นการเรียบเรียงจากแนวปฏิบัติตามที่กำหนด และตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยสั่งการ รวมทั้งข้อเสนอแนะตามความเห็นและประสบการณ์ของผู้เรียบเรียงที่ได้เคยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่และฐานะผู้บริหารท้องถิ่น ข้อความใดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่มีหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยก็ได้ระบุไว้ในเชิงอรรถเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน

         ผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย หรือผู้บริหารท้องถิ่น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติตามที่กฎหมายโดยผู้เรียบเรียงได้ระบุระยะเวลากำกับแต่ละขั้นตอนเอาไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกและถูกต้องในการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

          ระยะที่ 1   เป็นระยะเวลาที่เจ้าที่สมควรเตรียมการไว้ก่อนเริ่มฤดูกาลจัดเก็บภาษี ได้แก่ การเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับภาษี การประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้รับความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับป้ายภาษี การเตรียมการเจ้าหน้าที่ และการเตรียมแบบพิมพ์ที่ต้องใช้ เวลาในระยะที่ 1 นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม รวมเวลา 3 เดือน

          ระยะที่ 2   เป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของป้าย หรือ ผู้ครอบครองป้าย หรือผู้อยู่ในบังคับที่ต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีจะต้องไปยื่นแบบพิมพ์ตามกำหนด จะมีความผิดและรับโทษตามกฎหมาย สำหรับเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทำการ ประชาสัมพันธ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แบบของแบบพิมพ์ที่ประชาชนมายื่น รวมทั้งการประเมินค่าภาษีแจ้งให้ผู้เสียภาษีป้ายทราบ

          ระยะที่ 3   การติดตามประเมินผลเพื่อการเร่งรัดการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และการเร่งรัดให้ผู้รับประเมินมาชำระค่าภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการออกตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับป้ายหรือเจ้าของป้ายและการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์การประเมิน และการดำเนินคดีต่อผู้ที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม ระยะที่ 3 นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน รวมเวลา 3 เดือน

          ระยะที่ 4   เป็นเรื่องการดำเนินการบังคับจัดเก็บป้ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การติดตามผลการดำเนินคดีจากพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง การดำเนินงานเกี่ยวกับการยึดอายัดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีป้าย และการกำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน รวมเวลา 3 เดือน

 1. ระยะเตรียมการก่อนการจัดเก็บภาษีป้าย (ต้นเดือนตุลาคม ถึงสิ้นเดือนธันวาคม)

การจัดเก็บภาษีป้ายประจำปีจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี แต่สำหรับงานนี้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหลายอย่างทั้งที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดและการเตรียมการเพื่อที่ทำให้การจัดเก็บภาษีป้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมการก่อนการจัดเก็บป้ายควรจะเริ่มต้นอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 ตุลาคม ของปี ต่อเนื่อง ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนที่จะเริ่มการจัดเก็บภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เรื่องที่ควรจะเตรียมการล่วงหน้าในขั้นตอนนี้อาจจะมีอยู่มากมายหลายเรื่องขึ้นอยู่กับแนวคิดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร แต่อย่างน้อยควรจะประกอบด้วยเรื่อง ต่อไปนี้

        แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย

การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอำนาจของผู้บริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมีอำนาจและมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้บริหารท้องถิ่น ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2534 ได้แก่

1. นายกเทศมนตรี  มีสำหรับในเขตเทศบาล

2. ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล

3. ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

4. ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

5. ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

6. หัวหน้าผู้บริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่น ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ขณะนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2538 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจจัดเก็บภาษีป้ายแล้ว

กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ว่าจะต้องแต่งตั้งผู้ใด แต่กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่จำกัดจำนวน
ดังนั้น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหน้าที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานคลังที่ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้จึงควรแต่งตั้งดังนี้

1. ออกคำสั่งของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยผู้บริหารท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง

2. บุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าที่ควรเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำตั้งแต่ระดับสูงสุดของหน่วยงานลงมา เช่น ปลัดกรุงเทพมหานคร ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดสุขาภิบาล หัวหน้าสำนัก ปลัดเมืองพัทยา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดฯ ผู้อำนวยการสำนักงานคลัง ผู้อำนวยการกองรายได้ ผู้อำนวยการ กองคลัง หัวหน้ากอง หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรายได้ในหน่วยงานนั้น

กรณีกรุงเทพมหานคร ควรแต่งผู้อำนวยการเขต และผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ในสำนักงานเขตตามลำดับลงมาจนถึงระดับหัวหน้างาน ถ้ามีสำนักงานสาขาและเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่ายหัวหน้างานที่ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ในสาขานั้นด้วย

กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ยังมรการจัดเก็บภาษีในท้องที่สภาตำบลควรแต่งตั้งหัวหน้าส่วนอำเภอ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนอำเภอ หัวหน้าหมวดอำเภอ หัวหน้าหมวดงานคลังในส่วนอำเภอนั้นด้วย

3. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยป้ายภาษีกำหนดไว้และเรียงลำดับผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดูตัวอย่างคำสั่งดังต่อไป

ส่วนที่ 1

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดการเก็บภาษีป้าย

         การจัดเก็บภาษีป้าย เป็นงานในหน้าที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติภาษีป้าย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2534

       ขั้นตอนการปฏิบัติที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นการเรียบเรียงจากแนวปฏิบัติตามที่กำหนด และตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยสั่งการ รวมทั้งข้อเสนอแนะตามความเห็นและประสบการณ์ของผู้เรียบเรียงที่ได้เคยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่และฐานะผู้บริหารท้องถิ่น ข้อความใดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่มีหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยก็ได้ระบุไว้ในเชิงอรรถเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน

          ผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย หรือผู้บริหารท้องถิ่น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติตามที่กฎหมายโดยผู้เรียบเรียงได้ระบุระยะเวลากำกับแต่ละขั้นตอนเอาไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกและถูกต้องในการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

           ระยะที่ 1   เป็นระยะเวลาที่เจ้าที่สมควรเตรียมการไว้ก่อนเริ่มฤดูกาลจัดเก็บภาษี ได้แก่ การเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับภาษี การประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้รับความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับป้ายภาษี การเตรียมการเจ้าหน้าที่ และการเตรียมแบบพิมพ์ที่ต้องใช้ เวลาในระยะที่ 1 นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม รวมเวลา 3 เดือน

           ระยะที่ 2   เป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของป้าย หรือ ผู้ครอบครองป้าย หรือผู้อยู่ในบังคับที่ต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีจะต้องไปยื่นแบบพิมพ์ตามกำหนด จะมีความผิดและรับโทษตามกฎหมาย สำหรับเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทำการ ประชาสัมพันธ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แบบของแบบพิมพ์ที่ประชาชนมายื่น รวมทั้งการประเมินค่าภาษีแจ้งให้ผู้เสียภาษีป้ายทราบ

           ระยะที่ 3   การติดตามประเมินผลเพื่อการเร่งรัดการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และการเร่งรัดให้ผู้รับประเมินมาชำระค่าภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการออกตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับป้ายหรือเจ้าของป้ายและการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์การประเมิน และการดำเนินคดีต่อผู้ที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม ระยะที่ 3 นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน รวมเวลา 3 เดือน

           ระยะที่ 4   เป็นเรื่องการดำเนินการบังคับจัดเก็บป้ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การติดตามผลการดำเนินคดีจากพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง การดำเนินงานเกี่ยวกับการยึดอายัดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีป้าย และการกำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน รวมเวลา 3 เดือน

1. ระยะเตรียมการก่อนการจัดเก็บภาษีป้าย (ต้นเดือนตุลาคม ถึงสิ้นเดือนธันวาคม)

         การจัดเก็บภาษีป้ายประจำปีจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี แต่สำหรับงานนี้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหลายอย่างทั้งที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดและการเตรียมการเพื่อที่ทำให้การจัดเก็บภาษีป้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การเตรียมการก่อนการจัดเก็บป้ายควรจะเริ่มต้นอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 ตุลาคม ของปี ต่อเนื่อง ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนที่จะเริ่มการจัดเก็บภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เรื่องที่ควรจะเตรียมการล่วงหน้าในขั้นตอนนี้อาจจะมีอยู่มากมายหลายเรื่องขึ้นอยู่กับแนวคิดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร แต่อย่างน้อยควรจะประกอบด้วยเรื่อง ต่อไปนี้

           แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีป้าย

การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอำนาจของผู้บริหารของหน่วยการบริหารราชการ                 ส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมีอำนาจและมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้บริหารท้องถิ่น ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2534 ได้แก่

1. นายกเทศมนตรี  มีสำหรับในเขตเทศบาล

2. ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล

3. ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

4. ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

5. ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

6. หัวหน้าผู้บริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่น ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ขณะนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2538 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจจัดเก็บภาษีป้ายแล้ว

กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ว่าจะต้องแต่งตั้งผู้ใด แต่กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่จำกัดจำนวน
ดังนั้น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหน้าที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานคลังที่ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้จึงควรแต่งตั้งดังนี้

1.   ออกคำสั่งของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยผู้บริหารท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง

2.   บุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าที่ควรเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำตั้งแต่ระดับสูงสุดของหน่วยงานลงมา เช่น ปลัดกรุงเทพมหานคร ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดสุขาภิบาล หัวหน้าสำนัก ปลัดเมืองพัทยา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดฯ ผู้อำนวยการสำนักงานคลัง ผู้อำนวยการกองรายได้ ผู้อำนวยการ กองคลัง หัวหน้ากอง หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรายได้ในหน่วยงานนั้น

กรณีกรุงเทพมหานคร ควรแต่งผู้อำนวยการเขต และผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ในสำนักงานเขตตามลำดับลงมาจนถึงระดับหัวหน้างาน ถ้ามีสำนักงานสาขาและเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่ายหัวหน้างานที่ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ในสาขานั้นด้วย

กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ยังมรการจัดเก็บภาษีในท้องที่สภาตำบลควรแต่งตั้งหัวหน้าส่วนอำเภอ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนอำเภอ หัวหน้าหมวดอำเภอ หัวหน้าหมวดงานคลังในส่วนอำเภอนั้นด้วย

3.   อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยป้ายภาษีกำหนดไว้และเรียงลำดับผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดูตัวอย่างคำสั่งดังต่อไปนี้
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้