เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบ (ภาค ก.) ก.พ. 2558 -> แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2011-08-14 08:45

แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต

1. พระราชบัญญัติสุราพ..2493 ให้ไว้ ณ วันใด


ก. 5 มีนาคม 2493                                                     ค. 7มีนาคม 2493


ข. 6 มีนาคม 2493                                                     ง. 8มีนาคม 2493


ตอบ   ข. 6 มีนาคม 2493


2. พระราชบัญญัติสุราพ..2493 มีกี่มาตรา

ก. 6 หมวด  47 มาตรา                                             ค. 8  หมวด  47 มาตรา
ข. 
7  หมวด 47  มาตรา                                            ง. 8  หมวด 74  มาตรา

ตอบ  ค. 8 หมวด  47  มาตรา

3. หมวดที่  2 ในพระราชบัญญัติสุรา พ..2493 ว่าด้วยเรื่องใด

ก. ภาษีสุรา


ข. การทำสุรา และการนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร


ค. การขายสุรา


ง. บทกำหนดโทษ


ตอบ    ก. ภาษีสุรา

4. "สุรา" หมายถึง

ก. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์


ข. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา


ค. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งดื่มกินไม่ได้
แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา

       ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ    ง. ถูกทุกข้อ


"สุรา" หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้
แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา


5. ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร

ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. 
อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี

ตอบ   ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต

มาตรา5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการออกใบอนุญาตให้ทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนให้เป็นไป

ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

6. ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร

เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร



ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี



ตอบ  ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต



7. การเสียภาษีสุรากระทำได้โดย



ก. จ่ายเงินให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่                    



ข. ปิดแสตมป์สุราที่ฝา



ค. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุรา                  



ง. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่



ตอบ    ง.
ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 7(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรานอกจากทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
การเสียภาษีให้กระทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีจะกำหนดวิธีการเสียภาษีโดยวิธีอื่นโดย

ออกเป็นกฎกระทรวงก็ได้

8. ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีสุราโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
เว้นแต่สุรานั้นมีปริมาณไม่เกินกี่ลิตร



ก. 1  ลิตร                                                                    ค. 5  ลิตร



ข. 10  ลิตร                                                                  ง. 3  ลิตร



ตอบ   ก. 1 
ลิตร
           


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพสามิต

แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง_กรมสรรสามิต

แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน  การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม

- สรุปกฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้สอบ

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต  พ.ศ. 2527

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติไพ่  พ.ศ.2486

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ยาสูบ พ.ศ. 2509 และแก้ไขเพิ่มเติม


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2011-08-28 08:22
กฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้
(the law where Excise Department uses)
1.พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 
ใช้จัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม โคมไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ แก้วคริสคัล รถยนต์ เรือยอร์ช น้ำหอม น้ำมันหอม พรม สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ
2.พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 
ใช้จัดเก็บภาษีสุราแช่กับสุรากลั่น 
1)สุราแช่ = เบียร์,สุราแช่ผลไม้,สุราแช่พื้นเมือง 
2)สุรากลั่น = สุราขาว, สุราผสม, สุราสามทับ,สุราปรุงพิเศษ,สุราพิเศษ
3.พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
ใช้จัดเก็บภาษีบุหรี่ เช่น ชิกาแรต,ซิการ์,ยาเส้น,ยาเส้นปรุง,ยาเคี้ยว
4.พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ. 2486
ใช้จัดเก็บภาษีไพ่
5.พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
6.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
7.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.excise.go.th
อธิบายตามพระราชบัญญัติ
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
1.1 ผู้ผลิตสินค้าเอง
1.2 ผู้รับจ้างผลิต
2.ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3.ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.7 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการสถานบริการผู้นำเข้าซึ่งสินค้า หรือผู้อื่นที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
4.ผู้อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนด
4.1 ผู้ดัดแปลงรถยนต์ 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 ตรี “ดัดแปลง” หมายความว่า การกระทำใดๆ ต่อรถยนต์กระบะหรือสิ่งใดๆตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้เป็นรถยนต์นั่งหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน โดยผู้ประกอบการมิใช่ผู้ประกอบอุสาหกรรมรถยนต์
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 เบญจ ให้ผู้ดัดแปลงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลง โดยให้ถือราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลงบวกด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าจ้างทำของซึ่งรวมค่าวัสดุอุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับ ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงและค่าวัสดุอุปกรณ์ตามที่อธิบดีกำหนด
4.2 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “คลังสินค้าทัณฑ์บน” หมายความว่า สถานที่นอกโรงอุตสาหกรรมที่อธิบดีอนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าได้โดยยังไม่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “โรงอุตสาหกรรม” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมตลอด ทั้งบริเวณแห่งสถานที่นั้น และให้หมายความรวมถึงเครื่องขายเครื่องดื่มด้วย
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.42 ในกรณีที่มีสินค้าขาดไปจากบัญชีคุมสินค้า ให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนเสียภาษีสำหรับสินค้าที่ขาดไปพร้อมกับเบี้ยปรับอีกสองเท่าของภาษีนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าสินค้านั้นสูญหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุผิดพลาดในการตรวจนับปริมาณสินค้าอันไม่ได้เกิดขึ้นโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน
4.3 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันตั้งขึ้น ใหม่ โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิม (ม.57)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.57 ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กัน ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันได้ตั้งขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาห กรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเดิมรับผิดร่วมกันในการชำระภาษีของกิจการเดิมที่ควบเข้ากันหรือกิจการที่โอนนั้น แล้วแต่กรณี
4.4 ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้น หรือลดอัตราภาษีสำหรับ สินค้านำเข้า (ม.11) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้านำไปใช้ในการอื่น = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
3) ถ้าสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลง = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
4)ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีตาย = ผู้จัดการมรดกหรือทายาท
4.5 ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตาม ม.102 (3) สำหรับสินค้าที่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี 
(ม.12) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.102 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ 
(3) สินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศหรือทางการทูตตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกัน
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้าเอกสิทธิ์สิ้นสุดลงนอกจากความตาย = ผู้ได้รับเอกสิทธิ์
4.6 ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ม.56)
4.7 ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี (ม.58)
4.8 ผู้กระทำความผิดตาม ม.161,ม.162 (ม.163)
วิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
1.จัดเก็บตามมูลค่า (ม.8)
1.1 ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม
1.2 ในกรณีบริการ ให้ถือตามรายรับของสถานบริการ
1.3 ในกรณีนำเข้า ให้ถือราคาตาม ราคา ซี.ไอ.เอฟ (ราคาสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง)+อากรขาเข้า+ค่าธรรมเนียมพิเศษกฎหมายส่งเสริมการลงทุน+ภาษี+ค่าธรรมเนียมอื่น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.จัดเก็บตามปริมาณ (ม.9)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.9 สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามปริมาณนั้น ให้ถือตามหน่วยน้ำหนักสุทธิหรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น
3. จัดเก็บแบบทั้งสองวิธี โดยให้เสียภาษีในแบบที่จำนวนเงินมากที่สุด
ความรับผิดในการที่จะต้องเสียภาษี
1.ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร (ม.10)
1.1 ถ้าสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม = นำสินค้าออกจากโรงงานอุตาหกรรม
1.2 ถ้าสินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน = นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน+การใช้สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วย
2.ในกรณีบริการ (ม.10) = เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
3.ในกรณีสินค้านำเข้า (ม.10) = เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีศุลกากร
การจดทะเบียนสรรพสามิต
1.การกระกอบอุตสาหกรรมหรือการบริการมีก่อนกฎหมายพิกัดอัตราภาษีบังคับใช้กับสินค้าและบริการนั้น = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน นับแต่กฎหมายใช้บังคับ (ม.25)
2.เริ่มกิจการการประกอบอุตสาหกรรมกับการบริการใหม่ = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้าหรือเริ่มบริการ (ม.25)
ในกรณีมีหลายแห่งให้แยกยื่นขอเป็นรายโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ (ม.25)
3.แจ้งย้ายไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันย้าย และยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตใหม่ (ม.30)
4.เลิกกิจการหรือโอนกิจการ แจ้งไม่น้อยกว่า 15 วัน และคืนใบทะเบียนภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการ
5.ผู้รับโอนกิจการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันรับโอนกิจการและสามารถประกอบกิจการต่อเนื่องได้ระหว่างรอรับใบทะเบียน
6.ถ้าผู้ประกอบการตายและทายาทจะประกอบกิจการต่อ = ต้องยื่นภานใน 30 วันนับแต่ผู้ประกอบการตาย
การยื่นแบบรายการภาษีและการชำระภาษี
1.ในกรณีสินค้าผลิตขึ้นในราชอาณาจักร ให้ยื่นและชำระก่อนความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น
ยกเว้น 1)ความรับผิดเกิดขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มในมาตรา 10 (1) วรรคสอง (เกิดขึ้นขณะสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสา หกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน) ให้ยื่นและชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปหรือ
2)นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนแล้วแต่กรณีใดเกิดก่อน
2.ในกรณีบริการ ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3.ในกรณีนำเข้า ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระในเวลาที่ออกใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากร
4.กรณีอื่น ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีความรับผิดเกิดขึ้น
ยกเว้น กรณีตามม.11,12 (สิทธิไม่เสียภาษีลดหย่อนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง) ยื่นภายใน 30 วัน
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2013-03-27 11:31
สรุปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุรา สำหรับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ฐานความผิด 
บทกำหนดโทษ 
กฎหมาย 
หน่วยงาน 

1 ขาย แลกเปลี่ยนหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ 
-จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 30,000 
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา26(10) 
กท.พัฒนาสังคมฯ 
-เพิกถอนใบอนุญาต 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 

2 ขายสุรานอกเวลาที่กำหนด(ให้ขาย 11.00-14.00 และ 17.00-24.00) -ปรับ 50 บาท 
-พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเป็นเวลา 5 ปี 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 20, 46 
กรมสรรพสามิต 
-จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 ลาท 
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 พ.ศ. 2515 สนง.ตำรวจแห่งชาติ 
3 ขายสุราในสถานที่ต่อเนื่องหรือติดกับสถานที่ดังกล่าว 
- ในสถานศึกษา 
- ศาสนาสถาน(วัดต่างๆ) 
- สถานีบริการน้ำมัน 
-เพิกถอนใบอนุญาต 
-ไม่มีใบอนุญาต ปรับตามประเภทสุราที่ขาย 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 
4 ไม่แสดงใบอนุญาตขายสุราไว้ในสถานที่ขายอย่างเปิดเผย 
-ปรับ 2,000 บาท 
กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 
กรมสรรพสามิต 
5 ทำการเปลี่ยนแปลงสุรา (เช่นผสมยาดองเหล้าหรือวัตถุอื่นๆ) 
-ผู้ขายส่ง ปรับ 2,000 บาท 
-ผู้ขายปลีก ปรับ 500 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 22,23,36,38 
กรมสรรพสามิต 
6 เก็บสุราไว้ที่อื่นซึ่งมิใช่สถานที่ขออนุญาตไว้ 
-ปรับ 500 บาท(เฉพาะผู้ขายส่ง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 21, 38 
กรมสรรพสามิต 
7 ขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานออกให้ 
-ปรับ 200 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 40 ทวิ 
กรมสรรพสามิต 
8 ขายหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตขายสุรา 
-สุราไทยทุกชนิด ปรับ 500 บาท 
-สุราต่างประเทศ ปรับ 2,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17, 40 
กรมสรรพสามิต 
9 ลักลอบผลิตสุราทุกชนิด(สุรากลั่น, สุราแช่, กระแช่ ฯลฯ) 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5, 30 
กรมสรรพสามิต 
10 ขายสุราที่ลักลอบผลิตขึ้นตามข้อ 9 
-ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 
กรมสรรพสามิต 
11 ขนหรือเคลื่อนย้ายสุราแช่ และสุรากลั่นหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 34 
กรมสรรพสามิต 
12 ขนหรือเคลื่อนย้าสุราทุกชนิดตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขนสุรากำกับไปด้วย 
-ปรับลิตรละ 10 บาท ตามจำนวนสุราที่ขนหรือเคลื่อนย้าย 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 14, 38 ทวิ 
กรมสรรพสามิต 
13 ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราชุมชนหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวนสุราของกลาง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 
กรมสรรพสามิต 
14 ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราต่างประเทศหนีภาษี 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
-ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวน ประเภท/ชนิดสุราของกลาง) 
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 
กรมสรรพสามิต 
15 ขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดงานเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้งในระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง 
-จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 130 
-กระทรวงมหาดไทย 
-คณะกรรมการการเลือกตั้ง 
16 ขายสุรา หรือยินยอมปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ 
-ปรับไม่เกิน 50,000 บาท 
พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 16(2) (3) มาตรา 27 
-กระทรวงมหาดไทย
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.024034 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us