เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบ (ภาค ก.) ก.พ. 2558 -> แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

sooth 2012-01-12 10:10

แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ประกาศ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) รวม 3 อัตรา (4-15 ก.พ.56)


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประกาศ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) รวม 3 อัตรา (4-15 ก.พ.56)


 


ชื่อตำแหน่ง : นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ)


อัตราเงินเดือน : 14,020 บาท


จำนวนตำแหน่งว่าง :3 ตำแหน่ง


ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี

 


เปิดรับสมัคร : วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556





เปิดดูรายละเอียด :  คลิก Download เอกสาร   ( ขนาด 152.27 KB )

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ใหม่ล่าสุด 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ ด้านสถิติ
แนวข้อสอบภูมิสารสนเทศ
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


sooth 2012-01-14 08:02
   Normal  0      false  false  false                        MicrosoftInternetExplorer4
นโยบายด้านการเกษตร: จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ด้วยข้อจำกัดเรื่องการรวบรวมข้อมูลด้านนโยบายในอดีตการศึกษานี้จึงสรุปความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาฯและนโยบายด้านการเกษตรเข้าด้วยกันจากการรวบรวมข้อมูลการพัฒนาด้านการเกษตร พบว่าแผนพัฒนาฯได้กำหนดเป้าหมายด้านการเจริญเติบโตในภาคเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่1 กำหนดเป้าหมายของการเจริญเติบโตในภาคภาคเกษตรไว้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีและในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9กำหนดเป้าหมายการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปีอย่างไรก็ตามในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้เปลี่ยนจากการกำหนดเป้าหมายของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาเป็นสัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ15 ภายในปี 2556 (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555) จากแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 ที่สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 9.40
  

sooth 2012-01-14 08:06
   Normal  0      false  false  false                        MicrosoftInternetExplorer4
นโยบายด้านการเกษตร
บทนำ
ภาคเกษตรกรรมของไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยเนื่องจากเกี่ยวข้องกับประชากรทั้งประเทศในฐานะผู้บริโภคและกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรนั้นก็อยู่ในภาคเกษตร ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคที่สร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นภาคที่อุดมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งในแง่ของผู้ใช้ปัจจัยการผลิตนอกจากนั้น สินค้าเกษตรก็เป็นวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมในปัจจุบันและการกำหนดทิศทางภาคเกษตรกรรมไทยในอนาคตประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินนโยบายนั้นก็จะส่งผ่านไปสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเกษตรกรในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภคบริษัทเอกชนและแม้แต่ภาครัฐที่รวมถึงประชาชนผู้เสียภาษี การศึกษาเรื่องช่องว่างทางนโยบายด้านการเกษตรเป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ถึงการวางแผนการดำเนินนโยบาย และข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้นเมื่อชุดนโยบายและมาตรการต่างๆได้ถูกแปลงไปสู่การปฏิบัติ แม้ว่านโยบายด้านการเกษตรมีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่รัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบายที่แท้จริงเป็นผู้ดำเนินนโยบายและการกำกับดูแลจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดของการศึกษาวิเคราะห์นี้
โครงสร้างของการศึกษาชิ้นนี้จะศึกษาวิเคราะห์ถึงลักษณะเฉพาะของภาคเกษตรและสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นสาเหตุของการกำหนดนโยบายก่อนการวิเคราะห์ส่วนอื่นๆนอกจากนั้นการวิเคราะห์เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบันจะเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ในบทความฉบับนี้การศึกษานี้จะสรุปแนวคิดการพัฒนาการเกษตรส่วนหนึ่งเพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ช่องว่างทางนโยบายอย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะของสังคมการเมืองไทยที่รัฐบาลแต่ละรัฐบาลมักจะมีแนวนโยบายของตนเองมากกว่าการมีเป้าหมายระดับชาติร่วมกันไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นรัฐบาลดังนั้น ช่องว่างทางนโยบายด้านการเกษตรที่อยู่ในการวิเคราะห์ส่วนท้ายของบทความนี้เป็นการจำกัดการวิเคราะห์เฉพาะนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล
  

admin 2013-01-30 11:33
ลักษณะเฉพาะของภาคเกษตรและสินค้าเกษตรและอาหาร
    สินค้าเกษตรและอาหารของไทยสามารถแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่ๆ จัดแบ่งตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ พืช ปศุสัตว์ ประมง และป่าไม้ ภาคเกษตรในภาพรวมมีสัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงจาก ร้อยละ 29.83 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนพัฒนาฯ) ฉบับที่ 1 เหลือเพียงร้อยละ 9.40 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร, 2555) และหากพิจารณาในแต่ละหมวดนั้น พบว่า ภาคพืชจะมีสัดส่วนสูงที่สุดมาโดยตลอดที่มีการจัดเก็บข้อมูล ความสำคัญของภาคประมงนั้นมีความสำคัญในอันดับรองนับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 เป็นต้นมา มีสัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประมาณร้อยละ 1.40 และภาคปศุ-สัตว์มีสัดส่วนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประมาณ 1.25 ในขณะที่ภาคป่าไม้นั้นลดความสำคัญลงอย่างมากนับตั้งแต่การยกเลิกสัมปทานป่าไม้ โดยมีสัดส่วนเหลือเพียงร้อยละ 0.09 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
    การที่สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรลดลงเมื่อเทียบกับภาคนอกการเกษตรนั้นมาจากลักษณะเฉพาะของภาคเกษตร และมาจากปัจจัยทางด้านการบริโภคของสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่ง ประยงค์ เนตยารักษ์ (2550) ได้สรุปไว้ดังนี้
•    การผลิตสินค้าเกษตรต้องใช้เวลานาน
•    การผลิตสินค้าเกษตรขึ้นอยู่กับธรรมชาติ นั่นคือ สภาพดิน แสงแดด น้ำ และอากาศ
•    การผลิตสินค้าเกษตรมีลักษณะเป็นฤดูกาล
•    สินค้าเกษตรเน่าเสียง่าย
•    ความไม่แน่นอนด้านราคาและผลผลิต
•    ข้อมูลข่าวสารด้านราคาและเทคโนโลยีการผลิตไม่สมบูรณ์
•    การรับภาระความเสี่ยงที่เกิดจากการตัดสินใจ
•    หน่วยผลิตส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและกระจัดกระจาย
•    การขนส่งสินค้าเกษตรมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น
•    ผู้บริโภคมีข้อจำกัดในการบริโภคทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ


เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ด้านสถิติ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.013191 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us