สรุปความรู้เรื่องกฎหมาย เบื้องต้น
ความรู้เรื่องกฎหมาย กฎหมาย คือ
บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย
ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม
1. กฎหมาย คือ คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
2. กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม่
1. กฎหมายคือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม
2. กฎหมายคือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว
3. กฎหมาย คือกฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ
4. กฎหมายคือระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำการตีความ และการใช้บังคับเป็นกิจจะลักษณะ ตลอดจนมีวัตถุประสงค์ของโครงสร้างหลักเกณฑ์เจ้าหน้าที่และกระบวนการอันคำนึงถึงความสงบเรียบร้อย และความคิดเรื่องความยุติธรรม
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย 1. กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐสภาที่มีอำนาจเด็ดขาดที่จะออกกฎหมายมาบังคับได้และรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องเป็นเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเองไม่เป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด 2. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค 3. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป หมายความว่าเมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายเรื่องใดฉบับใดแล้ว กฎหมายนั้นก็จะใช้ได้ตลอดไป จะเก่าหรือล้าสมัยอย่างไรก็ใช้บังคับได้อยู่ จนกว่าจะได้มีการประกาศยกเลิก เช่นพระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทรศก 127 เป็นต้นซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ 4. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามหมายความว่า กฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องปฏิบัติตาม จะขัดกับผลประโยชน์ของตนอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร ชายไทยอายุย่างเข้า 21 ปีใน พ.ศ. ใดต้องตรวจเข้ารับราชการทหาร เป็นต้น
บุคคลที่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติจะปฏิเสธไม่ได้ 5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับหมายความว่า ผู้กระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดต้องถูกลงโทษ
เช่น กฎหมายกำหนดผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีผู้นั้นต้องรับโทษปรับหรือถูกยึดทรัพย์สินมาขายหรือชำระค่าภาษี เป็นต้น
ที่มาของกฎหมาย 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ 2.กฎหมายจารีตประเพณี คือ
กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี
3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปโดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ได้
ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ
1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าราษฎร กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
2.กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ในฐานะเท่าเทียมกันกฎหมายเอกชนได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์
3.กฎหมายระหว่างประเทศคือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศหรือรัฐต่อรัฐแบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ 3 .1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
3 .2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 3.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ลำดับชั้นของกฎหมาย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญคือ กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย 2. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น 3.ประมวลกฎหมายคือกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่
วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต ประมวลกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ 4.พระราชกำหนด (พ.ร.ก.)คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีการตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ
หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไปถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้นการประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
5.พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ)
คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีพระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้
พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทและถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วยการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6.กฎกระทรวง คือกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้นๆกฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่งกฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก
กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวงการประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 7. ประกาศระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งคือ กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ
น้อย ๆ ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียการปฏิบัติราชการภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน 8. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเองได้แก่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ และข้อบังคับสุขาภิบาลเป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น
สรุปสาระสำคัญ 1. ลักษณะสำคัญของกฎหมายมี 5 ประเภท 1.กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์ 2.กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป 3.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป 4.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม 5.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ 2. ที่มาของกฎหมายไทยได้แก่ 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.กฎหมายจารีตประเพณี 3.กฎหมายทั่วไป 4.ประเภทของกฎหมาย
ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง สั่งซื้อที่
 ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1 สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม. ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1 ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

|